นักศึกษา นายภาคภูมิ
กล้าหาญความเป็นไปได้ในการนำวัสดุเหลือใช้
ประเภทพลาสติกไฟเบอร์กลาสมาใช้แทนมวลหยาบในการผลิตกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น
ในประเทศไทย
พลาสติกเสริมแรง(Reinforced Plastics ) หรือ ไฟเบอร์กลาส ( Fiberglass Reinforced Plastics : FRP ) เป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ได้รับการปรับปรุงคุณสมบัติโดยใช้วัสดุเส้นใยบางประเภทที่มีความเหนียวผสมลงไปในเนื้องานที่เป็นพลาสติกให้มีคุณสมบัติด้านต่างๆ นอกจากนี้ยังมีน้ำหนักเบาและไม่เป็นสนิม สามารถรับน้ำหนัก แรงกระแทก อีกทั้งยังเป็นฉนวนไฟฟ้า ฉนวนกันความร้อนที่ดีอีกด้วย โดยข้อเสียประเภทพลาสติกเสริมแรงที่เกิดขึ้น คือ ทำลายและย่อยสลายยาก และขั้นตอน การทำลายยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ทำให้เกิดควันพิษต่างๆ เป็นต้นดังนั้นความสำคัญในการศึกษาการนำเอาของเสียจากผลิตภัณฑ์พลาสติกเสริมแรงไปใช้ประโยชน์
จึงมีความจำเป็นมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดแนวทางการใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า ต่อการพัฒนาประเทศในภาพรวมได้ในอนาคตแนวคิดในการวิจัยขยะพลาสติกเหลือใช้
ผ่านกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่Recycling
ซึ่งจะนำมาใช้ทำกระเบื้องคอนกรีตปูพื้นแผ่นคอนกรีตแบบตันที่ทำมาจากส่วนผสมระหว่างปูนซีเมนต์ น้ำและวัสดุผสม เช่น ทราย กรวด หินย่อย นำมาผสมแล้วอัดเข้าแบบมาตรฐานเป็นรูปบล็อกแบบต่างๆ เพื่อให้สามารถรับน้ำหนัก ดูดซับเสียง ทดแทนวัสดุ ประเภทหินจึงเป็นการลดต้นทุนในการผลิต กระบวนการผลิตแบบใช้เครื่องพ่นแบบ ( Spray-up ) ซึ่งใช้ใยแก้วชนิดเส้นยาวเป็นม้วนแล้วตัดให้เป็นท่อนสั้นๆ พ่นออกพร้อมกับแผ่นโพลิเอสเตอร์เรซิ่นลงไปบนผิวหน้าของแม่แบบและใช้ลูกกลิ้งและแปรงรีดทับช่วยอีกครั้ง ให้ได้ขนาด 19-25 มิลลิเมตร มาทำการทดสอบค่าสึกกร่อนของมวลผสมให้ได้ตามมาตรฐาน สามารถ แบ่งการทดสอบ ได้ 2 ประเภท คือ หิน ซึ่งคำนวณค่าสึกกร่อนได้ 26.2 % ไฟเบอร์กลาส ค่าสึกกร่อน ได้ เป็น 6.0 %ผลการทดสอบคุณสมบัติคอนกรีตเสริมด้วยพลาสติกไฟเบอร์กลาส
การทดลองกระทำโดยใช้พลาสติกไฟเบอร์กลาสที่ผ่านการทดสอบคุณสมบัติแล้วมาเป็นวัสดุทดแทนหินในการทำแผ่นกระเบื้องคอนกรีตปูพื้นให้เป็นกระเบื้องปูพื้นผสมพลาสติกไฟเบอร์กลาสขนาด 300 x 300 x 50 มิลลิเมตร การผสมทดแทนหินในขนาดส่วนผสมที่แตกต่างตามขนาดอัตราส่วนผสมของหินที่ ใช้ในการผสมกระเบื้องคอนกรีตปูพื้นผลการพิจารณาต้นทุนการผลิตกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น ผลการพิจารณาต้นทุนการผลิตกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น ส่วนอัตราส่วนไฟเบอร์กลาสปัจจุบันโรงงานผลิตไฟเบอร์กลาสยังไม่มีการขยะไฟเบอร์กลาส และยังไม่มีการทดลองนำขยะไฟเบอร์กลาสไปใช้กันอย่างอื่น การผลิตในแต่ละอัตราส่วน คืออัตราส่วนหิน ราคาคิวละ 480 บาท อัตราส่วนทราย ราคาคิวละ 300 บาท อัตราส่วนน้ำ ราคาหน่วยละ 5 บาท และอัตราส่วนปูนซีเมนต์ตราช้าง ถุงละ 80 บาท กระเบื้องคอนกรีตปูพื้น 1 แผ่น จะมีปริมาตรเท่ากับ 0.0045 m ถ้าคิดเป็นปริมาตร 1 m จะเท่ากับกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น 22 แผ่นจากการทดลองพบว่ามีอัตราส่วนไฟเบอร์กลาสต่อหินที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น
มอก. 378-2531 คือ อัตราส่วน 0/100 เพียงอัตราส่วนเดียว เมื่อเปรียบเทียบอัตราการลงทุนแล้วจะเท่ากันแต่ช่วงอายุการบ่มมากกว่า จะสามารถรับแรงได้ดีกว่า ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า อัตราส่วนที่เหมาะสมคือ อัตราส่วนที่ 20/80สรุปผลการวิจัย
จากการทดสอบคุณสมบัติต่างๆ ที่ใช้ไฟเบอร์กลาสเข้าผสมในแผ่นกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น พบว่า อัตราส่วนผสมระหว่างไฟเบอร์กลาสต่อหินที่เหมาะสมที่สุดในการทดแทนวัสดุหินมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุสาหกรรม คือ อัตราส่วน 20/80 ที่ช่วงอายุเวลาในการบ่มน้ำ 28 วัน จึงเหมาะสำหรับใช้ในงานกดอัด เช่น แผ่น รองพื้นเสาตอม่อ, แผ่นกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น เป็นต้น ซึ่งไม่เหมาะสมในการนำมาใช้ในลักษณะการทำคาน เพดานสำเร็จรูป เป็นต้น
ที่มา
: รายงานผลวิจัยเรื่อง ความเป็นไปได้ในการนำวัสดุเหลือใช้ประเภทพลาสติกไฟเบอร์กลาสมาใช้ทดแทนมวลหยาบในการผลิตกระเบื้องคอนกรีตปูพื้นเอกสารประกอบการบรรยายในงานสัมมนาวิชาการ
เรื่อง การกำจัดมลภาวะในอุตสาหกรรมไฟเบอร์กลาส จัดโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมวิศวกรรมสาร
ปีที่ 50 เล่มที่ 10 ตุลาคม 2540บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที