นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 15 ม.ค. 2015 08.20 น. บทความนี้มีผู้ชม: 503390 ครั้ง


วิชาฟิสิกส์ เป็นวิชาพื้นฐานของความรู้ในทางวิทยาศาสตร์มากมายหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็น นักวิทยาศาสตร์, วิศวกร, แพทย์, ทหาร ฯลฯ
หนังสือเล่มนี้ จะกล่าวถึง 6 ภาคหลัก ๆ ได้แก่
1. กลศาสตร์คลาสสิก
2. ทฤษฏีสัมพันธภาพ
3. อุณหพลศาสตร์
4. แม่เหล็กไฟฟ้า
5. แสง
6. กลศาสตร์ควอนตัม

ส่วนในตอนท้ายจะกล่าวถึง ความรู้ทางปรัชญา ศาสนา นั่นก็คือมิลินทปัญหา (ฉบับธรรมทาน) เพื่อให้นอกจากจะมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์แล้ว ก็ยังมีความรู้ในทางปรัชญา ศาสนา ใช้เป็นแนวคิดของชีวิตได้ด้วย เพือเป็นการพัฒนาทางด้านจิตใจ
วัตถุประสงค์ที่ทำมาให้อ่านก็เพื่อความรู้ และที่สำคัญเพื่อการพัฒนาประเทศไทยให้มีความเจริญก้าวหน้า ทัดเทียม หรือเหนือกว่าประเทศพัฒนาแล้ว


ตอนนี้ยังเขียนไม่เสร็จ มีจำนวนเยอะมาก อีกทั้งยังต้องขัดเกลาให้อ่านได้ง่าย และมีงานที่ต้องรับผิดชอบด้วย จะพยายามเขียนให้อ่านกันเร็ว ๆ นะ แล้วเราจะเรียนรู้ไปด้วยกัน
www.thummech.com


2 เกริ่นนำ (2)

      ฟิสิกส์คลาสสิก (Classic physics) ประกอบไปด้วยหลักการความรู้ด้าน กลศาสตร์คลาสสิก, อุณหพลศาสตร์, แสง และแม่เหล็กไฟฟ้า ได้ถูกพัฒนาก่อนปี พ.ศ. 2530 หรือก่อนศตวรรษที่ 19 นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของฟิสิกส์คลาสสิกนี้มีหลายคน หนึ่งในนั้น ที่สำคัญก็คือ เซอร์ ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton) (พ.ศ. 2185 - 2270)

 

รูปเซอร์ ไอแซค นิวตัน

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

และนอกจากนี้เขายังเป็นผู้ที่ให้กำเนิดวิชา แคลคูลัส (Calculus) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งในทางคณิตศาสตร์อีกด้วย

 

รูปตัวอย่างสมการแคลคูลัส

 

      กลศาสตร์ได้เริ่มพัฒนาในช่วงศตวรรษที่ 18 เริ่มแรกก่อนเพื่อน แต่ความรู้ในด้านของอุณหพลศาสตร์ และแม่เหล็กไฟฟ้ายังไม่ได้รับการพัฒนา จนกระทั่งก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 19 จึงเริ่มมีการพัฒนา ส่วนสาเหตุที่ยังไม่พัฒนา ก็เพราะว่า เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองในขณะนั้นยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร

 

รูปจำลองรูหนอน (Wormhole) แนวคิดของฟิสิกส์สมัยใหม่

 

 

      การปฏิวัติในทางฟิสิกส์โดยหลักๆ และมีความสำคัญอย่างยิ่ง นั่นก็คือการเกิดขึ้นของ ฟิสิกส์สมัยใหม่ (Modern physics) ซึ่งเริ่มต้นคิดในปลายศตวรรษที่ 19 การที่ฟิสิกส์สมัยใหม่ถูกพัฒนาขึ้นเป็นหลักใหญ่ ก็เนื่องมาจากว่า มีปรากฏการทางฟิสิกส์มากมายไม่สามารถอธิบายได้ในวิชาฟิสิกส์แบบคลาสสิก ส่วนวิชาที่สำคัญจากการพัฒนาฟิสิกส์สมัยใหม่นั่นก็คือ ทฤษฏีสัมพันธ์ภาพ และกลศาสตร์ควอนตัม

      วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาวิชาฟิสิกส์ นั่นก็คือ เพื่อการระบุจำนวน, เพื่อจำกัดกฎพื้นฐาน ในการวางระเบียบต่อปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น และใช้สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ เพื่อนำไปพัฒนาให้เป็นทฤษฏีให้สามารถทำการพยากรณ์ผลการทดลองที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยกฎที่จะนำมาสร้างเป็นทฤษฏีจะอธิบายออกมาในรูปแบบสมการทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้เป็นสะพานเชื่อมโยงกันระหว่างภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติ

      เมื่อเกิดผลความแตกต่างกัน ในระหว่างสองสิ่งที่เหมือนกัน  จากการคาดการณ์ผลของทฤษฏี และปฏิบัติ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการแก้ไข หรือค้นหาทฤษฏีใหม่เพื่อกำจัดผลความแตกต่างระหว่างสองสิ่งที่เหมือนกัน

      บ่อยครั้งที่ทฤษฏีที่มีอยู่ ก็สามารถอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างเพียงพอ แต่ก็มีบางครั้งทฤษฏีที่มีอยู่ขณะนั้น ก็ไม่อาจค้นหาข้อเท็จจริงได้ ยกตัวอย่าง กฎการเคลื่อนที่ ค้นพบโดย เซอร์ไอแซค นิวตัน  สามารถอธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุที่ความเร็วปกติได้อย่างถูกต้อง แต่ทว่าไม่สามารถใช้อธิบายกับวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เข้าถึงความเร็วแสง ซึ่งต่อมา ทฤษฏีสัมพันธภาพพิเศษ (Special relativity) ก็ได้ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อตอบคำถามที่ยังไม่รู้ ผู้คิดค้นทฤษฏีนี้ก็คือ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) (พ.ศ. 2422 - 2498)

 

รูปอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

 

รูปทฤษฏีสัมพันธ์ภาพพิเศษของไอน์สไตน์

 

การคำนวณให้ผลเช่นเดียวกับกฎของนิวตันที่วัตถุเคลื่อนที่ในความเร็วต่ำ แต่ที่เหนือกว่านั้นก็คือการกล่าวถึงวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วแสงได้อย่างถูกต้องเช่นกัน

      ดังนั้น ทฤษฏีสัมพันธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ เป็นมากกว่าทฤษฏีทั่วไปของการเคลื่อนที่ที่ได้จากกฎของนิวตัน

      ทฤษฏีสัมพันธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ ไม่เพียงแต่อธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุได้อย่างถูกต้องเท่านั้น มันยังสามารถอธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุเมื่อความเร็วเทียบเท่ากับความเร็วของแสงได้ มันสามารถอธิบายได้อย่างสมบูรณ์ ในแนวคิดของ อวกาศ, เวลา และพลังงาน

ในทฤษฏียังแสดงให้เห็นถึงความเร็วของแสง นั่นคือ แสงมีความเร็วที่มีขีดจำกัด ในความเร็วของวัตถุ, มวล และพลังงานจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกัน และกัน

      กลศาสตร์ควอนตัม เป็นสูตร และสมการที่สร้างขึ้นโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ เพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ในระดับของอะตอม โดยมีอุปกรณ์จำนวนมากมายที่เราใช้งานกันอยู่ทุกวันนี้ได้มาจากการพัฒนาโดยใช้หลักการของกลศาสตร์ควอนตัม

 

รูปอะตอมในแนวคิดกลศาสตร์ควอนตัม

 

รูปวงจรรวม หรือไอซีเป็นประโยชน์หนึ่งที่ได้มาจากความรู้ของกลศาสตร์ควอนตัม (ไฟล์รูปใหญ่หน่อย)

 

      วิทยาศาสตร์ยังคงสร้างความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ในการพัฒนาความรู้ความสามารถที่มีแนวคิดจากกฎพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างผู้ใช้ความคิดในทางวิทยาศาสตร์ เช่น นักวิทยาศาสตร์, วิศวกร และอื่น ๆ ได้สร้างสรรค์สิ่งที่เป็นความก้าวหน้า เช่น สำรวจดาวเคราะห์ด้วยยานอวกาศไร้มนุษย์ และการส่งคนไปลงบนดวงจันทร์, วงจรไฟฟ้าขนาดเล็กมาก ๆ  และคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยความเร็วสูง, เทคนิคการถ่ายภาพที่มีความซับซ้อนเพื่อใช้ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และทางการแพทย์ และผลลัพธ์ที่น่าทึ่งในพันธุวิศวกรรมมากมาย

 

รูปยานบินอวกาศที่ไร้คนขับ เอ็ก 37 บี

 

รูปซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลด้วยความเร็วสูง

 

รูปโฮโลแกรม 3 มิติที่ใช้ในทางการแพทย์

 

      ผลของการพัฒนา และการค้นพบที่มีความยิ่งใหญ่ ยังไม่หยุดเพียงเท่านี้ ในอนาคตยังคงมีความท้าทายต่อการค้นพบ และมีประโยชน์มากมายมหาศาลแก่มวลมนุษยชาติ 

 

 

ปัญหาพระยามิลินท์

 

ปัญหาที่ ๑ ปัญหาเรื่องนาม

 

      เมื่อพระเจ้ามิลินท์เสด็จเข้าไปถึงพระนาคเสน  ทรงปราศรัยกับพระเถรเจ้าแล้วจึงมีพระราชดำรัสว่า “ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะพูดด้วยเธอ”

 

พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร ขอพระองค์จงตรัสมาเถิด อาตมภาพก็ใคร่จะฟังอยู่”

 

ม (พระเจ้ามิลินท์) : ข้าพเจ้าพูดแล้ว เธอฟังเอาเถิด

น (พระนาคเสน) :  อาตมาภาพฟังแล้ว พระองค์ตรัสมาเถิด

: เธอฟังได้ยินว่ากระไร

  : พระองค์ตรัสมาว่ากระไร

ม. ก็ข้าพเจ้าได้ถามเธอแล้ว

น. อาตมาภาพก็ได้ถวายวิสัชนา (คำตอบ) แล้ว

ม. เธอวิสัชนามาว่ากระไร

น. พระองค์ตรัสถามว่ากระไร

 

เมื่อต่างฝ่ายต่างลองดูไหวพริบแห่งกันและกันอยู่ฉะนี้ ประชาชนชาวโยนกก็พากันซ้องสาธุการถวายพระนาคเสน แล้วกราบทูลพระเจ้ามิลินท์ว่า “ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงตรัสถามปัญหา ในทันทีนี้เถิด”

 

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า  “ดูก่อนพระผู้เป็นเจ้าธรรมดาผู้ที่จะพูดกัน ถ้าไม่รู้จักชื่อและสกุลก่อนแล้ว จะพูดกันอย่างไร เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าขอทราบว่าเธอชื่ออะไร”

 

พระนาคเสนทูลตอบว่า “ชื่อของอาตมาภาพ เพื่อนพรหมจารีต่างเรียกว่า นาคเสน  แต่โยมทั้ง ๒ เรียกนาคเสนบ้าง วีรเสนบ้าง สุรเสนบ้าง สีหเสนบ้าง ขอถวายพระพร อันคำชื่อเหล่านี้เป็นคำที่ตั้งขึ้นไว้สำหรับร้องเรียกกัน เท่านั้น  หามีตัวบุคคลที่จะพึงค้นได้ในชื่อนั้นไม่”

 

ทันใดนั้นแล พระเจ้ามิลินท์ได้ตรัสประกาศกะบริษัท (ผู้คนมาฟัง) ว่า “ท่านทั้งหลายจงเป็นพยานช่วยกันจำคำพระนาคเสนไว้”

 

แล้วตรัสกะพระเถระว่า “ดูกรพระนาคเสน ถ้าว่าคนเราไม่มีตัวตนจริงเช่นเธอว่านั้นก็ใคร่เล่าถวายบาตรจีวรแก่เธอ ใครเป็นผู้ใช้สอยบาตรจีวรนั้น และหากว่า ใครฆ่าเธอ ก็คงจะไม่บาป”

 

แล้วตรัสซักไซ้ต่อไปว่า “ก็ที่เธอแสดงชื่อว่านาคเสนนั้น อะไรเล่าเป็นนาคเสน ผมหรือเป็นนาคเสน”

 

พระเถระทูลตอบว่า “มิใช่”

 

ก็ตรัสถามต่อไปจนครบอาการ ๓๒ (อวัยวะทั้งหมด) ทรงไล่เลียงไปแต่ละอย่างๆ ว่า เป็นนาคเสนหรือ

 

พระเถรเจ้าก็ทูลตอบว่า “มิใช่”

 

จึงตรัสไล่ต่อไปอีกว่า “หรือทั้ง ขันธ์ ๕ (The Five Aggregates: รวมกัน 5 อย่าง) เป็นนาคเสน หรือนาคเสนมีนอกออกไปจากขันธ์ทั้ง ๕ นั้น”  

 

พระเถรเจ้าก็ทูลตอบว่า “มิใช่ๆ” ทุกข้อ

 

พระเจ้ามิลินท์เห็นเป็นที จึงตรัสเย้ยว่า “ข้าพเจ้าถามไล่เลียงเธอ ก็ไม่พบว่า อะไรเป็นนาคเสน เธอพูดเหลวไหล ไม่มีส่วนที่เป็นนาคเสนสักหน่อย”

 

ก่อนที่พระเจ้าเถรเจ้าจะถวายวิสัชนาแก้ปัญหานั้น ได้ทูลบรรยายปูเป็นพื้นฐาน เพื่ออ้อมหาช่องให้พระเจ้ามิลินท์ตรัสเป็นทีเสียก่อนว่า “พระองค์เป็นกษัตริย์สุขุมาลชาติ (ผู้ดี ตระกูลสูง)  เสด็จออกจากพระนครมาเวลาเที่ยง กรวดทรายตามทางกำลังร้อนจัด ถ้าทรงดำเนินมา พระบาทคงจะพอง พระราชหฤทัยคงจะอ่อนเพลียเป็นแน่ ขอถวายพระพร พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาด้วยพระบาทหรือ ด้วยราชพาหนะ”

 

พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสตอบว่า “ข้าพเจ้าก็มาด้วยรถสิเธอ”

 

พระนาคเสนเถรเจ้าเห็นได้ทีจึงทูลถามว่า “ถ้าพระองค์เสด็จมาด้วยรถ ขอพระองค์ได้ตรัสบอกกะอาตมภาพว่า อะไรเป็นรถ? งอนหรือเป็นรถ”

 

พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า “มิใช่”  

 

พระเถรเจ้าจึงทูลถามต่อไปว่า “หรือเครื่องอุปกรณ์อย่างอื่น  เช่น เพลา ล้อ แอก แต่ละอย่างๆ เป็นรถ”

 

พระเจ้ามิลินท์ก็ตรัสตอบว่า “มิใช่”    

 

พระเถรเจ้าจึงถามอีกว่า “หรือเครื่องอุปกรณ์เหล่านั้นทั้งหมดเป็นรถ หรือว่ารถมีนอกเหนือออกไป จากเครื่องอุปกรณ์เหล่านั้น”

 

พระเจ้ามิลินท์ก็ตรัสตอบว่า “มิใช่ ๆ”

 

พระเถรเจ้าจึงทูลเย้ยว่า “อาตมาภาพทูลถามพระองค์ ก็ไม่พบว่าอะไรเป็นรถ พระองค์ตรัสไม่สมกับพระดำรัสในเบื้องต้น”

 

ขณะนั้นเหล่าประชาชนชาวโยนกต่างก็ซ้องสาธุการถวายพระนาคเสน แล้วกราบทูลพระเจ้ามิลินท์ว่า “ข้าแต่พระมหาราชเจ้าขอพระองค์จงตรัสแก้เสียบัดนี้เถิด”

 

พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสว่า “ดูก่อนพระนาคเสน คำว่ารถซึ่งข้าพเจ้า ที่ตอบเธอในเบื้องต้นนั้น ต้องอาศัยทั้งงอน ทั้งเพลาเป็นต้น รวมกันเข้า จึงมีชื่อเรียกเช่นนั้น”

 

พระเถรเจ้าจึงทูลว่า “พระองค์ตรัสถูกแล้ว ขอถวายพระพร  แม้คำว่านาคเสนซึ่งเป็นชื่อของอาตมภาพก็เช่นนั้น ก็เหมือนกัน จะอาศัยทั้งผมทั้งขน เป็นต้น อาศัยทั้งรูป ทั้งนาม ประชุม (ประกอบรวม) กันเข้า จึงมีคำชื่อนี้ขึ้น แต่ว่าเมื่อพูดโดยปรมัตถ์ (อ่านว่า ปะ-ระ-มัด: ประโยชน์สูงสุด, ความเจริญสูงสุด) แล้ว ก็หามีตัวบุคคลที่จะพึงค้นได้ในชื่อนั้นไม่”

 

เมื่อพระเถรเจ้าถวายวิสัชนาแก้ปัญหาฉะนี้แล้ว พระเจ้ามิลินท์ก็

ตรัสชมเชยว่า “น่าฟัง ข้าพเจ้าไม่เคยได้ยินได้ฟังเช่นนี้เลย เธอวิสัชนาปัญหาได้ไพเราะจริง ถ้าว่าพระพุทธเจ้ายังเสด็จดำรงพระชนม์อยู่ ก็คงจะประทานสาธุการเป็นแน่”

 

จบนามปัญหา

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที