ความซุกซนของใจเรานั้นเปรียบเสมือนลิงที่กำลังจูงช้างเข้าไปในป่า ในป่ามีสิงห์สาราสัตว์มากมาย เราก็วิ่งไปปล่อยใจล่องลอยไปเผชิญกับความทุกข์ต่างๆนานา จนถึงจุดหนึ่งเราได้เจอจิตที่เป็นผู้รู้ ชื่อก็บอกแล้วว่าผู้รู้ท่านจะมีความรู้อย่างเดียวไม่ว่าเรื่องจะดีจะร้ายเข้ามาท่านก็จะรับรู้และส่งไปที่สัญญาซึ่งเปรียบเสมือนช้างตัวใหญ่ ลิงกับช้างก็พากันวุ่นวายตามประสาสัตว์ป่าที่ยังไม่ได้รับการฝึก เมื่อเราฝึกจิตให้ดีด้วยความคิดดี พูดดี ทำดี ความวุ่นวายของลิงและช้างจะลดลง ระหว่างการฝึกจะมีเจ้าตัวกระต่ายคือความขี้เกียจง่วงเหงาหาวนอนเกิดขึ้นมา ต้องใช้วิริยะในการจัดการกับมัน ความเพียรก็คือการละอกุศลออก การไม่ทำให้อกุศลเกิดขึ้นใหม่ การสร้างกุศล การดำรงกุศลที่ดีแล้วให้คงอยู๋ ด้วยกุศลกรรมบท10 ประการ คือ กาย3 ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม วาจา4 ไม่พูดเท็จ ไม่พูดยุยงส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดคำหยาบ ใจ3 ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เรื่องของกาย วาจานั้นเห็นได้ชัดเจน แต่เรื่องของใจนั้นไวยังกับลิง เราต้องรู้จักมันเมื่อไหร่ที่เริ่มรู้สึกไม่ดีนั่นแหละตัณหาเข้าครอบงำให้เราทำการกำหนดรู้ที่ลมหายใจ หรือรู้ที่ความเคลื่อนไหวของร่างกายคือการกำหนดสติรู้ทันมันก่อนมันจะค่อยๆคลายออก แต่อย่าเพิ่งวางใจมันถูกเก็บไว้ลึกๆในสัญญาคือตัวช้าง ตรงนี้ต้องทำการภาวนาในรูปแบบคือสมถะเพื่อสร้างกำลังจิตและวิปัสสนา เพื่อจะจัดการกับมันในระดับจิตใจ เมื่อทำได้แล้วก็เพียรระวังไม่ให้มันกลับมาอีก ทำอย่างนี้เรื่อยไปความทุกข์ที่มีจะค่อยๆลดลง ช้างหรือสัญญาของเราจะขาวสะอาดขึ้น ลิงหรืออารมณ์ของเราจะค่อยๆนิ่งขึ้น กระต่ายหรือความง่วงเหงาหาวนอนจะค่อยๆลดลง ความสุขที่แท้จริงจึงค่อยๆบังเกิดขึ้นในใจเรา ให้เดินตามผู้รู้ อย่าเดินตามลิง
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที