เมื่อจัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการของฝ่ายการตลาดแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการจัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการของฝ่ายผลิต ขั้นตอนการจัดทำมีดังนี้
1. ตรวจสอบสายการผลิต กำลังการผลิต และ ปริมาณระดับสต๊อกที่เหมาะสม
เมื่อได้รับทราบแผนประมาณการณ์ยอดขายจากแผนฝ่ายการตลาดแล้ว ฝ่ายผลิตต้องทำการตรวจสอบสมรรถนะการผลิตว่า สามารถรองรับแผนการตลาดด้วยหรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอ หรือ ต้องมีการปรับสายการผลิต ต้องจัดทำแผนปฏิบัติการหรือโครงการอะไรบ้างเพื่อเตรียมความพร้อมผลิตสำหรับ
2. กรณีที่เป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตทำสต๊อกไว้เพื่อรอการจัดจำหน่าย ไม่ได้ผลิตตามคำสั่งซื้อ จะต้องพิจารณาว่าระดับสต๊อกของปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไร มีปัญหาอะไรบ้าง และ ถ้าต้องรองรับแผนการตลาดฉบับใหม่ต้องปรับระดับสต๊อกอย่างไรจึงจะเหมาะสม แล้วใช้ข้อมูลนี้ไปพิจารณาร่วมกับประมาณการณ์ยอดขายของแผนการตลาดเพื่อจัดทำแผนการผลิตในข้อ 3
3. จัดทำแผนการผลิตประจำปีให้เหมาะสมกับระดับสต๊อกและสอดคล้องกับยอดประการณ์ของแผนการตลาด ถ้าเห็นว่า กำลังการผลิตเพียงพอไม่มีปัญหา อาจจะต้องใช้แผนประมาณการณ์ของแผนการตลาดเป็นแผนการผลิตไปด้วยก็ได้ แต่ต้องมีการเผื่อ % การสูญเสียของกระบวนการผลิตไว้ด้วย
4. ตรวจสอบดูว่าในขั้นตอนที่ 6 การตรวจสอบสมรรถนะการแข่งขันขององค์กร และขั้นตอนที่ 8 และ 9 การเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรและกลยุทธ์ระดับธุรกิจ เราได้เลือกกลยุทธ์ใดไว้บ้าง ให้นำ KSF และ กลยุทธ์เหล่านั้นมาพิจารณาจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการ ( Action Plan )
ตัวอย่างกรณีที่ 1 สมมติว่า เราเลือกกลยุทธ์ปรับปรุงคุณภาพเพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่า ดังนั้นเราต้องมีแผนปฏิบัติการปรับปรุงคุณภาพ หรือ การจัดการคุณภาพ ควรมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
กำหนดความต้องการ และความคาดหวังของลูกค้าหลัก
ทำการวัดผลความคาดหวังและความต้องการของลูกค้าหลักนั้น ซึ่งอาจจะมีการส่งฝ่ายประกันคุณภาพ และฝ่ายผลิตออกไปสำรวจร่วมกับฝ่ายการตลาดด้วยกำหนดความบกพร่อง จุดวิกฤติของกระบวนการ
วิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขทำการปรับปรุงแก้ไข
ดำเนินการแก้ไขปรับปรุง
ตรวจสอบผลลัพธ์
ควบคุมตามมาตรฐานใหม่อย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่างกรณีที่ 2 สมมติว่า เราเลือกกลยุทธ์ปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนการผลิตและแข่งขันด้านราคา ดังนั้นเราต้องมีแผนปฏิบัติการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ซึงอาจมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ศึกษาหาข้อมูลปัญหาที่พบในปัจจุบัน
กำหนดจุดวิกฤติของกระบวนการ
กำหนดจุดสูญเปล่าและสูญเสียในกระบวนการ
วิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขทำการปรับปรุงแก้ไข
ดำเนินการแก้ไขปรับปรุง
ตรวจสอบผลลัพธ์
ควบคุมตามมาตรฐานใหม่อย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกต หลักการในการวางขั้นตอนหรือกิจกรรมย่อยในแผนปฏิบัติการ ขอให้ใช้หลักของ PDCA คือ
P = Plan
ขั้นตอนการสำรวจข้อมูลปัญหาที่พบอยู่ในปัจจุบัน
การวิเคราะห์หาสาเหตุ
การหาแนวทางแก้ไข
D = Do การปฏิบัติการแก้ไข
C= Check ตรวจติดตามผล
Act = จัดทำเป็นมาตรฐานของการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาสภาพ และป้องกันไม่ให้ปัญหากลับมาเกิดซ้ำได้อีก
เปรียบเทียบกับศาสนาพุทธได้ดังนี้
ทุกข์ คือ อาการที่เป็นปัญหา หรือ เรื่องที่เราต้องการจะแก้ไข
สมุทัย คือ สาเหตุแห่งทุกข์ หรือ ปัญหา
นิโรธ คือ แนวทางปฏิบัติให้พ้นทุกข์
มรรค คือ การปฏิบัติให้พ้นทุกข์
จะเห็นว่าศาสนาก็ได้กล่าวเรื่อง PDCA ไว้ตั้ง 2550 ปีก่อนมาแล้ว
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที