แผนของฝ่ายการเงินเป็นการแผนงานที่สำคัญ ถ้าไม่มีงบประมาณสนับสนุนการปรับปรุงคงจะเกิดได้ยาก
แผนของฝ่ายการเงิน จะต้องตรวจสอบสภาพทางการเงินขององค์กรในปีที่ผ่านมาและวางแผนแนวโน้มของงบในปีปัจจุบันและปีถัดไปอย่างน้อย 3 ปี ดังนี้
1. งบลงทุน
2. งบกำไรขาดทุน
3. งบกระแสเงินสด
4. งบดุล
5. วิเคราะห์งบการเงิน
6. งบประมาณ
ในบางครั้งเราอาจจะจัดทำงบประมาณไว้ท้ายสุดของแผนปฏิบัติการทุกแผนได้ เพื่อจะได้เป็นแผนที่สามารถรวบรวมงบประมาณรายจ่ายที่ทุกแผนต้องการใช้ได้
ดังนั้นลักษณะของงบประมาณจะต้องมีการแจกแจงรายการโครงการที่จะทำของทุกแผน แล้วจัดทำเป็นตารางงบประมาณของแต่ละหน่วยงานที่ต้องการใช้ เพื่อให้ฝ่ายการเงินและผู้บริหารมีความสะดวกในการพิจารณา และแสดงข้อมูลงบประมาณรวม ดังนี้
รายชื่อโครงการ |
ฝ่ายการตลาด |
ฝ่ายผลิต |
ฝ่ายบุคคล |
ฝ่ายการเงิน |
ฝ่ายจัดการ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การทำแผนปฏิบัติการฝ่ายการเงินเป็นเรื่องที่สำคัญ บางครั้งอาจจะเป็นจุดชี้นำองค์กรได้อีกทางหนึ่งว่าควรจะต้องใช้นโยบายอย่างไรกับลูกค้า และตนเองมีความสามารถในการแข่งขันอย่างไร
ข้อสังเกตของการตรวจสอบสภาพทางการเงินของฝ่ายการเงิน ตัวอย่าง เช่น
งบกระแสเงินสดเป็นงบที่แสดงเส้นทางเข้าออกทางการเงินขององค์กร บางองค์กรอาจจะคิดว่าเป็นงบที่กำหนดให้บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์เท่านั้นที่ต้องจัดทำ แต่ถ้าองค์กรสามารถจัดทำงบนี้ได้ จะสามารถช่วยตรวจสอบความถูกต้องของงบการเงิน และสามารถใช้ข้อมูลทางการเงินไปเปรียบเทียบ (Benchmark) กับงบการเงินของบริษัทอื่นได้ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของผลประกอบการขององค์กรได้
บางองค์กรเมื่อจัดทำงบการเงินแล้วจะพบว่า ยอดขายสูง แต่องค์กรกลับมีสภาพคล่องต่ำมาก เนื่องจากมีการปล่อยเครดิตแข่งขันกับคู่แข่งอย่างรุนแรง ต้องหากลยุทธ์มาแก้ไขเรื่องนี้
บางองค์กรยอดขายต่ำ อัตราผลตอบแทนต่ำ อาจเกิดจากมีทรัพย์สินที่ไม่ได้ก่อเกิดรายได้จำนวนมากเกินไปหรือไม่ หรือการบริหารจัดการเรื่องการใช้ทรัพยากรและสินทรัพย์ที่มีอยู่ยังด้อยประสิทธิภาพอยู่ เช่น อาคาร ที่ดิน เครื่องจักร ทั้งนี้อาจรวมไปถึงทรัพยากรมนุษย์ ต้องหากลยุทธ์มาแก้ไขในเรื่องเหล่านี้ด้วย
บางองค์กรยอดขายสูง แค้กลับพบว่าอัตราผลตอบแทนต่ำ ซึ่งคล้ายกับข้อที่เพิ่งกล่าวมาข้างต้น คือ อาจเกิดจากมีทรัพย์สินมากเกินไป ทำให้อัตราส่วนของผลตอบแทนดูต่ำก็เป็นได้ เช่น อาคาร ที่ดิน เครื่องจักรต่าง ๆ ต้องหากลยุทธ์ปรับปรุงการบริหารจัดการเรื่องการใช้ทรัพยากรและสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยเช่นกัน
บางองค์กรยอดขายดีมากเช่นกัน แต่พบว่ากำไรต่ำมาก เนื่องจากใช้กลยุทธ์ลดราคาลงไปแข่งขันมากเกินไป กลยุทธ์การลดราคาเพื่อการแข่งขัน ในบางครั้งไม่เกิดผลดีกลับองค์กรเลย ถ้าองค์กรนั้นไม่ใช่ผู้นำตลาดอย่างแท้จริง เพราะกลยุทธ์นี้เมื่อใช้ไปแล้ว ยากที่จะปรับราคากลับมาเหมือนเดิมได้ จะมีผลตามมาคือ เกิดความไม่พึงพอใจของลูกค้า และ ลูกค้าจะหันไปหาผู้ขายรายอื่นได้
บางองค์กรใช้เวลาในการจัดการระบบทางการเงินให้เป็นประโยชน์ได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น ธุรกิจบ้านจัดสรรรายหนึ่ง ใช้วิธีการขอเครดิตเจ้าหนี้ที่เป็นผู้ผลิตวัดสุก่อสร้างไว้ 3 เดือน และใช้วิธีการสร้างบ้านด้วยเทคนิคใหม่ โดยการนำแผ่นผนังบ้านสำเร็จรูปมาประกอบ ทำให้สามารถลดเวลาในการก่อสร้างบ้าน และสามารถส่งมอบบ้านได้ภายในเวลา 2 เดือน สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า และสามารถรับเงินค่าบ้านจากลูกค้าได้ก่อนที่จะต้องชำระหนี้ เงินล่วงหน้า 1 เดือนนี้ยังสามารถหมุนเวียนทำประโยชน์ได้อย่างมากหมายอีกด้วย แต่ทั้งนี้ องค์กรต้องสร้างความน่าเชื่อถือ และมีธรรมาภิบาลในการประกอบธุรกิจ
.
ผู้บริหารควรตรวจสอบงบการเงินเป็นประจำ เพราะงบการเงินจะเป็นตัวตรวจสอบและวัดผลของการปฏิบัติงานของฝ่ายต่าง ๆ โดยเฉพาะฝ่ายผลิต ฝ่ายการตลาด และฝ่ายจัดซื้อ ว่า มีปัญหาทีจุดใด เช่น
การจัดทำต้นทุนมาตรฐาน (Standard cost) จะช่วยตรวจสอบดูประสิทธิภาพการทำงานของและฝ่ายจัดซื้อได้
Cost = Q X P
Q = Quantity คือ ปริมาณของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
P = Price คือ ราคาของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
ถ้าฝ่ายผลิตใช้ Quantity มาก แสดงว่า กระบวนการผลิตมีความสูญเสียมากเกินไป
แต่ถ้าฝ่ายจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบเข้ามามี Price แพง แสดงว่า ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของฝ่ายจัดซื้อยังไม่ดีพอ จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเช่นกัน
§ การวิเคราะห์ยอดขายและกำไรที่ได้ของสินค้าแต่ละปะเภทร่วมกัน จะช่วยตรวจสอบได้ว่า สินค้าประเภทใดที่ลูกค้านิยม และควรสนับสนุนส่งเสริมการขายเป็นพิเศษ และสินค้าประเภทใดควรยกเลิกการขาย หรือ ไม่น่าสนใจในสายตาลูกค้า
ผู้บริหารควรใช้งบการเงินเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญ ใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจและชี้นำองค์กร เพราะในวงการอุตสาหกรรมระดับ SME ส่วนใหญ่จะไม่เปิดเผยงบการเงินให้พนักงานรับทราบ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่จะต้องคอยตรวจสอบและชี้นำแนวทางของฝ่ายต่าง ๆ ด้วยตนเอง
หลักธรรมมาภิบาล เป็นนโยบายระดับบริหาร ผู้บริหารและพนักงานที่มีตำแหน่งทางด้านการเงินต้องยึดหลักนี้ จึงจะเป็นผู้นำและเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับบุคลากรในองค์กรได้ รวมไปถึงระดับประเทศ ยิ่งมีความสำคัญ ปัจจุบันไทยถูกจัดอันดับอยู่ที่ 2 รองจากฟิลิปปินส์เท่านั้นในภูมิภาคเอเชีย เป็นเรื่องภาพพจน์ที่แก้ไขไม่หาย
การทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการของระดับปฏิบัติการของทุกแผนที่ดีต้องมีการทำแผนล่วงหน้า 3 ปีเป็นอย่างน้อย เพื่อเตรียมการไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะงบประมาณที่ต้องใช้ปรับปรุงตามแผนปฏิบัติการของแต่ละหน่วยงาน เพื่อที่ผู้บริหารและฝ่ายการเงินจะได้พิจาณาอนุมัติงบและเตรียมเงินไว้ให้ล่วงหน้า แผนปฏิบัติการของแต่ละหน่วยงานก็จะมีโอกาสที่จะได้รับงบประมาณสนับสนุนและประสบความสำเร็จได้มากขึ้น
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที