เมื่อเราสามารถจัดทำแผนเชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการได้ครบทุกฝ่ายแล้ว แน่นอนตามหลักของ PDCA จะต้องมีการนำแผนไปปฏิบัติและติดตามการวัดผลหลังปฏิบัติ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. การจัดทำตารางสรุปกลยุทธ์และมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบดัชนีวัดผล
ให้ย้อนกลับไปดูขั้นตอนที่ 2 วิสัยทัศน์ขององค์กรและขั้นตอนที่ 10 การตั้งเป้าหมายของกลยุทธ์ระดับองค์กรและระดับธุรกิจ ซึ่งใน 2 ขั้นตอนนี้จะมีการตั้งเป้าหมายและ KPI ไว้แล้ว และให้ตรวจสอบกลยทธ์ที่มีทั้งหมดในขั้นตอนที่จัดทำกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการของแต่ละฝ่ายตั้งแต่ชั้นตอนที่ 11 ถึง ขั้นตอนที่ 16 มารวบรวมจัดทำเป็นตารางกลยุทธ์และแบ่งหมวดหมู่เป็น 4 มิติ ตาม Balance scorecard ขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนที่สรุปแผนงานทั้งหมดและมอบหมายดัชนีวัดผลของแผนงานแต่ละแผนให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบ
ลักษณะของตารางกลยุทธ์
มิติ |
วัตถุประสงค์ |
KPI |
สูตรคำนวณ |
ข้อมูลจากปีก่อน |
เป้าหมายประจำปี |
กลยุทธ์/โครงการ/แผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การแบ่งหมวดหมู่ของดัชนีวัดผล (KPI)
มิติที่ 1 ด้านการเงิน ผู้รับผิดชอบในการวัดผลจะเป็นฝ่ายการเงิน
มิติที่ 2 ด้านลูกค้า ผู้รับผิดชอบในการวัดผลจะเป็นฝ่ายการตลาด หรือ บางส่วนจะเป็นฝ่ายวิจัยและพัฒนา
มิติที่ 3 ด้านกระบวนการภายใน ผู้รับผิดชอบในการวัดจะเป็นฝ่ายผลิต หรือ บางส่วนจะเป็นฝ่ายควบคุมคุณภาพ
มิติที่ 4 ด้านการเรียนรู้และการเติบโต ผู้รับผิดชอบในการวัดจะเป็นฝ่ายบุคคล
แถมด้วยมิติที่ 5 ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองขั้นตอนที่ 7 การวิเคราะห์ความคาดหวังของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายด้วย ผู้รับผิดชอบโดยส่วนใหญ่จะเป็นฝ่ายบริหาร
ทั้งนี้การมอบหมายความรับผิดชอบดัชนีวัดผลอาจจะไม่เป็นตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นก็เป็นได้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทีมวางแผนที่จะมองเห็นว่าหน่วยงานใดหน้าที่เกี่ยวข้อง มีศักยภาพในการเก็บข้อมูลการวัดและประเมินผล และทำแผนปฏิบัติการให้บรรลุได้
จากขั้นตอนนี้จะทำให้เราเห็นว่าแผนปฏิบัติการของทุกฝ่ายมี KPI ประจำแผน และมีหน่วยงานที่รับผิดชอบนำแผนไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุ KPI นั้น
2.การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการของแต่ละฝ่าย
ให้ย้อนกลับไปดูวิธีการจัดทำแผนปฏิบัติการในชั้นตอนที่ 11 และ 12 จะเห็นว่าการวางแผนปฏิบัติการจะมีขั้นตอนย่อย ๆ ของแต่ละแผนอยู่ ให้ยึดหลักของ Mile stones ดำเนินตามแผนไปที่ละขั้นตอนและทำการวัดผลพร้อมทั้งประเมินผลของแต่ละขั้นตอนย่อยนั้นว่าประสบความสำเร็จหรือไม่
3.การติดตามผลของแผนปฏิบัติการ
การติดตามผลอยากให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน ตรวจสอบความคืบหน้าของแผนทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านปริมาณ (Quantity) และด้าน คุณภาพ (Quality) ของการปฏิบัติงาน
ด้าน Quantity หมายถึง ให้ตรวจสอบความคืบหน้าของแผนว่าเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดในแผนงานนั้นหรือไม่
ด้าน Quality หมายถึง ให้ตรวจสอบดัชนีวัดผลของแต่ละขั้นตอนย่อยว่าบรรลุผลหรือไม่
ความถี่ในการวัดผล ควรมีการวัดผลเป็นรายเดือน หรือ ไตรมาส ไม่ควรปล่อยไว้จนครบปีแล้วจึงทำการวัดผล เพราะเราจะไม่เห็นแนวโน้มของแผนหรือเห็นปัญหาที่จะเกิดกับแผนล่วงหน้าได้เลย ควรมีการจัดการประชุมนำเสนอผลความคืบหน้าของแผนปฏิบัติการอย่างน้อยไตรมาสละครั้ง
4. การปรับแผน
เมื่อมีการตรวจสอบผลของแผนงานเป็นระยะ ๆ แล้วพบแนวโน้มว่าจะไม่เป็นไปตามแผน หรือ จะไม่บรรลุ KPI แล้ว ทีมงานควรมีการทบทวนแผนก และอาจมีการพิจารณาปรับแผน การปรับแผนไม่ใช่เรื่องน่ากลัว เราสามารถปรับแผนได้ ตั้งแต่ปรับเล็ก ปรับใหญ่ ดึงแผนสำรองมาใช้ หรือเปลี่ยนแผน การปรับแผนอาจเกิดขึ้นได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรหรือมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของธุรกิจ ตัวอย่างเช่น รัฐบาลมีนโยบายลดอัตราค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์ลงเหลือ 0.1 % วงการหมู่บ้านจัดสรรและผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง คงต้องมีการปรับแผนบางส่วนอย่างแน่นอน เพื่อฉกฉวยโอกาสที่มาถึง แต่ทั้งนี้การตัดสินใจต้องอ้างอิงข้อมูลการวัดผลและข่าวสารที่เป็นจริงและถูกต้อง
จำไว้ว่า อย่าให้ข้อมูลหลอกลวงคุณได้
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที