จากที่กล่าวมาแล้วในขั้นตอนที่ 11-16 และในขั้นตอนที่ 19 ถึงการทำแผนปฏิบัติการ จึงอยากเสนอตัวอย่างแผนปฏิบัติการให้เห็นดังนี้
แผนปฏิบัติการของฝ่ายประกันคุณภาพ |
|
|
|
|
โครงการที่ 1 การขอมาตรฐานรับรองผลิตภัณฑ์
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายก.
วัตถุประสงค์โครงการ ต้องการขอการรับรองเพื่อยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ และใช้ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงของผลิตภัณฑ์
เป้าหมายของโครงการ ต้องการได้รับมาตรฐานรับรองและสามารถนำไปใช้งานได้ภายในเดือน พ.ค. 2550
ขั้นตอน |
ผู้รับผิดชอบ |
งบประมาณ |
ระยะเวลา |
เสร็จจริง |
1. ประชุมกำหนดแนวทางนำเครื่องหมายรับรองมาตรฐานไปใช้งาน |
นาย ก. |
- |
20 เม.ย. |
|
2. ติดต่อขอระเบียบการมาตรฐานชุมชน |
นาย ก. |
- |
23 เม.ย. |
|
3. คัดเลือกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ |
นาย ข. |
- |
17-23 เม.ย. |
|
4. ส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ไปทำการทดสอบก่อนการส่งจริง และทำการปรับปรุงสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐานกำหนด |
นาย ค. |
100 |
24 เม.ย. |
|
5. จัดทำและส่งใบคำร้องขอมาตรฐาน |
นาย ก. |
- |
23 25 เม.ย. |
|
6. รับการตรวจสอบจากสมอ. |
นาย ข. |
- |
2-15 พ.ค. |
|
7. ติดตามผลการตรวจสอบและผลการรับรอง |
นาย ก. |
- |
16-25 พ.ค. |
|
8. นำเครื่องหมายมาตรฐานไปใช้งาน |
นาย ก. |
- |
28-30 พ.ค. |
|
หรือจะใช้วิธีการลากเส้นช่วงเวลาลงในตารางแผนปฏิบัติการก็ได้ ที่สำคัญต้องมีการบันทึกผลของระยะเวลาที่เสร็จจริงและงบประมาณจริงที่ใช้ไปเปรียบเทียบไว้ด้วย เพื่อติดตามให้แผนปฏิบัติการมีประสิทธิผล และมีการควบคุมงบประมาณตามที่วางแผนไว้ ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นไว้ข้างต้นเป็นตัวอย่างหนึ่งของวิธีการจัดทำแผนปฏิบัติการเท่านั้น ยังมีวิธีการทำแผนปฏิบัติการอีกหลายแบบ
แผนปฏิบัติการเป็นเครื่องมือในการแปลงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติที่ดีมาก และควรมีครบทั้ง 5W ไว้ในแผน (What , When , Who , Where , Why) เพื่อสร้างความเข้าใจในแผน การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ และการประสานงานกัน
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที