Solution Center Minitab

ผู้เขียน : Solution Center Minitab

อัพเดท: 01 ก.ค. 2019 12.04 น. บทความนี้มีผู้ชม: 3625 ครั้ง

หลังจากทำการวิเคราะห์ความสามารถกระบวนการ แล้วพบว่าค่า Cpkที่ได้ไม่ดี หลังจากนั้นควรทำอย่างไรต่อดี

เริ่มจากดูนิยามคำว่า ?ไม่ดี? กันก่อน ซึ่ง ?ไม่ดี? ในที่นี้คือได้ค่าCpkน้อย และหมายถึงมีของไม่ดีอยู่มาก ดังนั้นถ้าได้ค่าCpkยิ่งมาก นั้นหมายถึงยิ่งดี


ปรับปรุงค่า Cpk อย่างไร (How to Improve Cpk)

หลังจากทำการวิเคราะห์ความสามารถกระบวนการ แล้วพบว่าค่า Cpkที่ได้ไม่ดี หลังจากนั้นควรทำอย่างไรต่อดี

เริ่มจากดูนิยามคำว่า “ไม่ดี” กันก่อน ซึ่ง ”ไม่ดี” ในที่นี้คือได้ค่าCpkน้อย และหมายถึงมีของไม่ดีอยู่มาก ดังนั้นถ้าได้ค่าCpkยิ่งมาก นั้นหมายถึงยิ่งดี

โดยส่วนมากค่าที่นิยมใช้คือ Cpk=1.33 ซึ่งถือเป็นมาตรฐาน และในที่นี้เราจะใช้ค่านี้เป็นเกณฑ์มาตรฐานเช่นกัน

สมมติว่าเราเก็บข้อมูลและทำการวิเคราะห์ความสามารถกระบวนการด้วยการใช้โปรแกรมMinitab ผลลัพธ์ที่ได้คือ Cpk= 0.35 และมีค่า DPMO (defects per million opportunities)มากกว่า 140,000ซึ่งแปลความว่า “ไม่ดี” แล้วเราจะทำการปรับปรุงกระบวนการอย่างไร

มีสองแนวคิดที่จะทำการหาวิธีการปรับปรุงกระบวนการดังนี้

วิธีที่ 1 ดูกราฟ

ในตัวอย่างที่1 ได้ Cpkของ Diameter1เท่ากับ 0.35 ซึ่งน้อยกว่า 1.33หมายความว่าเรามีค่าวัดที่ต่ำกว่าข้อกำหนดเฉพาะอยู่มาก

จากกราฟ เราจะเห็นว่าข้อมูล (ที่แสดงเป็นฮีสโตแกรมสีฟ้า) ซึ่งจะเห็นว่าการกระจายข้อมูลไม่อยู่ตรงกลางของข้อกำหนดเฉพาะ (ซึ่งแสดงด้วยเส้นสีแดง) แต่กระบวนการนี้ยังถือว่าใช้ได้เพราะความผันแปรไม่ได้มีปัญหา ซึ่งจากฮีสโตแกรมจะเห็นได้ว่ามีลักษณะการแจกแจงเป็นแบบปกติและการกระจาย (ความผันแปร) ยังอยู่ในขอบเขตข้อกำหนดเฉพาะ

คำถาม: จะทำการปรับปรุงค่า Cpk อย่างไร

คำตอบ: ทำการเลื่อนให้ค่ากลางของกระบวนการมาใกล้ค่า 100 ให้มากที่สุด (ค่า 100 เป็นค่ากลางของข้อกำหนดเฉพาะ) โดยไม่ให้ความผันแปรเพิ่มขึ้น

ตัวอย่างที่2 การวิเคราะห์ความสามารถของกระบวนการของ  Diameter2ซึ่งมีค่า Cpk เท่ากับ0.41จะเห็นว่าข้อมูลมีการกระจายตัวอยู่ระหว่างกลางของข้อกำหนดเฉพาะ และโค้งการกระจายของข้อมูลเป็นแบบปกติแต่มีช่วงกว้างกระจายมากกว่าความกว้างของข้อกำหนดเฉพาะ

คำถาม: จะทำการปรับปรุงค่า Cpk อย่างไร

คำตอบ: ทำการลดค่าความผันแปร ในขณะที่ต้องทำให้ค่ากลางของกระบวนการยังคงอยู่ที่ตำแหน่งเดิม

ตัวอย่างที่ 3: ในการวิเคราะห์ความสามารถกระบวนการของDiameter3 จะเห็นจากกราฟว่ากระบวนการมีค่ากลางไม่อยู่ตรงกลางข้อกำหนดเฉพาะ และจะเห็นว่าการกระจายตัวของกระบวนการกว้างกว่าข้อกำหนดเฉพาะอีกด้วย ซึ่งหมายถึงมีความผันแปรมากเกินไป

คำถาม: จะทำการปรับปรุงค่า Cpk อย่างไร

คำตอบ:เลื่อนให้ค่ากลางของกระบวนการเข้าใกล้ 100 ให้มากที่สุด และทำการลดความผันแปรของกระบวนการไปพร้อมๆกัน

 

แนวคิดที่2 เปรียบเทียบค่า  Cp และCpk

ค่า Cpจะคล้ายกับค่า Cpkคือ ยิ่งมีค่าน้อยนั้นหมายถึงกระบวนการไม่ดี และเราใช้เกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน คือ 1.33 อย่างไรก็ตามค่าสถิติทั้งสองตัวนี้มีสูตรในการคำนวณต่างกัน กล่าวคือ Cpเป็นการเปรียบเทียบการกระจายตัวของข้อมูลกับช่วงความกว้างค่าเผื่อ (tolerance width) โดยไม่ได้สนใจว่าค่ากลางของกระบวนการอยู่ที่ตำแหน่งใด

การแปลความหมายของค่าCpเปรียบเหมือนกับการตั้งคำถามว่า “รถยนต์นั้นจะสามารถเข้าไปในโรงจอดรถได้หรือไม่” เมื่อข้อมูลเปรียบเหมือนรถยนต์ และข้อกำหนดเฉพาะเปรียบเหมือนโรงจอดรถ โดยที่เราจะไม่สนใจว่าการขับรถเข้าโรงจอดรถของคนขับรถนั้นจะสามารถทำให้รถยนต์เข้าจอดได้ตรงกลางของโรงจอดรถหรือไม่ เราจะสนใจเพียงแค่ว่ารถยนต์นั้นมีความกว้างพอดีกับโรงจอดรถหรือไม่

ตัวอย่างที่1:  ค่า Cpของ Diameter1เท่ากับ 1.64  ถือว่า “ดีมาก” และเพราะ Cpดี หมายความว่าความผันแปรนั้นอยู่ในช่วงที่ยอมรับได้ (acceptable) หรือแปลความว่า รถยนต์นั้นสามารถเข้าจอดในโรงจอดรถได้ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาค่า Cpkซึ่งมีการนำค่ากลางของกระบวนการมาวิเคราะห์ด้วย ซึ่งมีค่า 0.35 ซึ่งแปลความว่า “ไม่ดี”

คำถาม: จะทำการปรับปรุงค่า Cpk อย่างไร

คำตอบ:ทำการเลื่อนให้ค่ากลางของกระบวนการมาให้อยู่ระหว่างกลางของข้อกำหนดเฉพาะ โดยไม่ให้ความผันแปรเพิ่มขึ้น

 

ตัวอย่างที่2 การวิเคราะห์ความสามารถของกระบวนการของ Diameter2ซึ่งมีค่า Cp=0.43 และ Cpk = 0.41ซึ่งจาก Cpถือว่า “ไม่ดี” และหมายความว่ามีความผันแปรมากเกินไป หรือแปลความว่า รถยนต์นั้นไม่สามารถเข้าจอดได้ในโรงจอดรถ และเพราะ Cpและ Cpkมีความใกล้เคียงกัน ทำให้แปลความได้ว่าค่ากลางของกระบวนการอยู่ตรงกลางของข้อกำหนดเฉพาะ

คำถาม: จะทำการปรับปรุงค่า Cpk อย่างไร

คำตอบ: ทำการลดค่าความผันแปร ในขณะที่ต้องทำให้ค่ากลางของกระบวนการยังคงอยู่ที่ตำแหน่งเดิม

ตัวอย่างที่3: ในการวิเคราะห์ความสามารถกระบวนการของ Diameter3  ค่า Cp = 0.43 และCpk = -0.23 จาก Cpถือว่า “ไม่ดี” หมายความว่ามีความผันแปรมากเกินไป และเพราะ Cp  และCpkมีค่าต่างกันมาก แปลว่าค่ากลางของกระบวนการไม่อยู่ตรงกลางข้อกำหนดเฉพาะ

คำถาม: จะทำการปรับปรุงค่า Cpk อย่างไร

คำตอบ:เลื่อนให้ค่ากลางของกระบวนการอยู่ตรงกลางให้มากที่สุด และทำการลดความผันแปรของกระบวนการไปพร้อมๆกัน

และแนวคิดที่ 3 …….

ไม่ว่าจะใช้แนวคิดใดคือวิเคราะห์จากกราฟหรือเปรียบเทียบค่า Cp และCpkเราจะได้ข้อสรุปที่เหมือนกันในการปรับปรุงกระบวนการ และถ้าคุณยังต้องการวิธีการปรับปรุง Cpkในแนวทางอื่นๆอีก จะต้องใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์ร่วม แต่ในตอนนี้เราจะข้ามขั้นตอนการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์กันไปก่อน

จากแนวคิดที่ 1 และ 2 สามารถสรุปหนทางได้ดังนี้

  กราฟ Cpกับ  Cpk ทำการปรับปรุงค่าCpkอย่างไร
ตัวอย่างที่ 1 ฮีสโตแกรมไม่อยู่ตรงกลาง

 

แต่ว่าช่วงกว้างของกราฟ (การกระจาย) ยังอยู่ในขอบเขตข้อกำหนดเฉพาะ

Cp  ถือว่า “ดี”

 

แต่ Cpkคือ “ไม่ดี”

ทำการปรับปรุงค่ากลางของกระบวนการให้อยู่ตรงกลาง

 

 

ตัวอย่างที่ 2 ฮีสโตแกรมอยู่ตรงกลาง

 

แต่ว่าช่วงกว้างของกราฟ (การกระจาย) กว้างกว่าขอบเขตข้อกำหนดเฉพาะ

Cp  และ Cpkคือ “ไม่ดี” และมีค่าใกล้เคียงกัน ทำการลดความผันแปรของกระบวนการ
ตัวอย่างที่ 3 ฮีสโตแกรมไม่อยู่ตรงกลาง

 

และช่วงกว้างของกราฟ (การกระจาย) กว้างกว่าขอบเขตข้อกำหนดเฉพาะ

Cp  และ Cpkคือ “ไม่ดี” และมีค่าแตกต่างกัน ทำการปรับปรุงค่ากลางของกระบวนการให้อยู่ตรงกลาง และลดความผันแปรของกระบวนการ

บทความต้นฉบับ : https://blog.minitab.com/blog/how-to-improve-cpk

เนื้อหาบทความโดยบริษัท Minitab Inc. ประเทศสหรัฐอเมริกา
แปลและเรียบเรียงโดยสุวดี นําพาเจริญ และ ชลทิขา จํารัสพร, บริษัท โซลูชั่น เซ็นเตอร์ จํากัด webadmin@solutioncenterminitab.com


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที