คนึงนิจ

ผู้เขียน : คนึงนิจ

อัพเดท: 28 ต.ค. 2021 17.19 น. บทความนี้มีผู้ชม: 508507 ครั้ง

รวมเรื่องน่ารู้ทางการเงิน สินเชื่อ SME สินเชื่อเพื่อธุรกิจ สินเชื่อบุคคล ในเวอร์ชั่นที่อ่านง่ายสุดๆ


อุปทานส่วนเกิน มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง สรุปมาแล้ว !!

อุปทานส่วนเกิน

อุปทาน คำที่เรามักจะคุ้นเคยกันอยู่แล้วในวิชาเศรษฐศาสตร์แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบว่าความหมายที่แท้จริงของคำเหล่านี้คืออะไรบ้าง แล้วยิ่งไปกว่านั้นแล้วเราก็ยังได้ยินอีกคำหนึ่งอยู่บ่อย ๆ ในช่วงที่เศรษฐกิจเลวร้ายอย่างนี้ก็คือคำว่า ‘อุปทานส่วนเกิน’ และคำเหล่านี้คืออะไร แล้วทำไมจึงเกิดอุปทานส่วนเกินขึ้น ในบทความเราจะพาทุกคนมาหาคำตอบและไขข้อสงสัยไปพร้อมกัน

ก่อนจะไปรู้จักกับอุปทานส่วนเกินเราควรมาทำความเข้าใจคำว่า ‘อุปทาน’ กันก่อน คำว่าอุปทานทางเศรษฐศาสตร์คือความต้องการขายสินค้า แน่นอนว่า อุปทานส่วนเกิน หมายถึง ภาวะขาดดุลทางการตลาดคือเกิดภาวะความต้องการขายสินค้านั้น ๆ มากกว่าความต้องการซื้อและราคาสินค้าอาจมีราคาเกินกว่าจุดดุลยภาพ

สาเหตุที่ทำให้เกิดอุปทานส่วนเกิน

เริ่มสงสัยกันแล้วใช่ไหมละว่าทำไมจึงเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า อุปทานส่วนเกิน จึงเกิดขึ้น  ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดได้ก็มีดังต่อไปนี้

1.การคาดการณ์ที่คาดเคลื่อน – ในธุรกิจการค้าการคาดการณ์แนวโน้มยอดขายเป็นสิ่งสำคัญ แน่นอนว่าการคาดการณ์ก็คือการคาดการณ์ ทุกสิ่งทุกอย่างอาจมีการคลาดเคลื่อนได้  เช่นการกักตุนปืนฉีดน้ำในวันสงกรานต์ไว้จำนวนมาก แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์โรคระบาดทำให้ไม่สามารถจัดงานสงกรานต์ได้ จึงทำให้ไม่มีคนเล่นน้ำปืนจึงขายไม่ได้จนเกิดเป็นอุปทานส่วนเกินขึ้นนั่นเอง

2.เกิดอุปทานช้ากว่าอุปสงค์ – แน่นอนว่าเมื่อ 2 ความสัมพันธ์นี้ไม่สัมพันธ์กันก็มักจะเกิดผลเสียตามมาได้อย่างแน่นอน ซึ่งการที่อุปทานเกิดช้าพูดง่าย ๆ ก็คือ อาจจะผลิตไม่ทันหรือมีสินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการซื้อของลูกค้านั่นเอง

ผลกระทบของการเกิดอุปทานส่วนเกิน

เมื่อเกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้นก็ย่อมมีปัญหาและผลกระทบตามมาอยู่เสมอ ซึ่งผลกระทบต่าง ๆ ก็มีอยู่ด้วยกันดังนี้

1.เกิดสินค้าล้นตลาดเนื่องจากไม่มีความต้องการซื้อที่เพียงพอต่อความต้องการขาย

2.ราคาสินค้าต่ำลง ทำให้ผู้ประกอบการต้องอาศัยการระบายสินค้าออกด้วยการลดราคาให้ต่ำลงจนขาดทุนนั่นเอง

3.ต่อเนื่องจากข้อ 2 เมื่อเกิดภาวะขาดทุน ก็ทำให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระจากการขาดทุน ทำให้เกิดผลกระทบต่อกิจการในระยะยาว

 เท่านี้คุณก็ได้รู้จักกับคำศัพท์ใหม่ทางเศรษฐศาสตร์อย่างคำว่า อุปทานส่วนเกิน กันแล้ว เรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะเรื่องการตลาดจะอยู่รอบ ๆ ตัวคุณ เพราะสุดท้ายแล้วเรื่องกลไกทางการตลาดก็จะไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของผู้ประกอบการอีกต่อไป เพราะหากคุณรู้เท่าทันเรื่องของการตลาดคุณก็จะมีภูมิคุ้มกันในเรื่องการจับจ่ายใช้สอยต่าง ๆ และจะไม่ตกเป็นเครื่องมือทางการตลาดอีกต่อไปนั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก : Moneywecan


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที