P/E Ratio ย่อมาจากคำว่า "Price to Earning Ratio" หรือ "ราคาตลาดต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น" คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรบ้างสำหรับนักลงทุน
P/E Ratio คือ อัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างราคาตลาดของหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น ที่บริษัททำได้ในรอบปีล่าสุด สามารถนำมาเปรียบเทียบได้ทั้งหุ้นรายตัว และสภาพตลาดโดยรวม
ค่า P/E หรือ P/E Ratio สามารถใช้การประมาณการจุดคุ้มทุนให้กับนักลงทุนได้ ช่วยให้นักลงทุนมีข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนในหุ้นได้แม่นยำมากขึ้น และสามารถประเมินความสามารถในการสร้างผลตอบแทนของบริษัทที่สนใจลงทุนเมื่อเปรียบเทียบกับราคาหุ้นที่ซื้อ
ยกตัวอย่างการประเมินผลตอบแทนของหุ้นโดยใช้การคำนวนหาค่า P/E เช่น หุ้น ABC มีราคาปัจจุบันอยู่ 20 บาท มีกำไรต่อหุ้นเท่ากับ 2 บาท ดังนั้น P/E เท่ากับ 10 เท่า ซึ่งสามารถคาดการณ์ได้ว่า หากนักลงทุนลงทุนในหุ้นตัวดังกล่าวที่ราคาหุ้น 20 บาท นักลงทุนจะได้ทุน 20 บาทคืนเมื่อถือหุ้น ABC ครบ 10 ปี นั่นเอง
หรือหมายความว่าหากอยากลงทุนแล้วได้เงินทุนคืนเร็วๆ ก็ควรซื้อหุ้นที่ค่า P/E ต่ำและขายหุ้นเมื่อหุ้นมีค่า P/E ที่สูงออกไป เป็นต้น
นักลงทุนสามารถคำนวนดูค่า P/E Ratio ได้ง่ายๆ โดยคำนวณจาก
P/E Ratio = ราคาตลาดต่อหุ้น/ กำไรสุทธิต่อหุ้นประจำงวด 12 เดือนของหุ้น
แม้ว่านักลงทุนจะรู้แล้วว่า การซื้อหุ้นตอนค่า P/E ต่ำก็เปรียบเสมือนคุณได้ซื้อหุ้นในราคาถูก จะคืนทุนให้ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งก็ไม่เสมอไป หุ้นที่มีค่า P/E สูง บางครั้งก็เป็นหุ้นที่น่าลงทุนได้เช่นกัน เนื่องจากมีปัจจัยอื่นๆ เป็นส่วนประกอบ โดยสามารถแบ่งหุ้นที่มีค่า P/E สูงแต่ยังน่าลงทุนออกได้ 2 กรณี ได้แก่
- หุ้นที่มีแนวโน้มของกำไรเพิ่มขึ้น หรือ Growth Stock หุ้นประเภทนี้มักมีค่า P/E สูง จุดเด่นคือเป็นบริษัทที่มียอดขายและกำไรเติบโตเร็วกว่าค่าเฉลี่ยของธุรกิจอื่นๆ ใน อุตสาหกรรมเดียวกันจึงทำให้นักลงทุนมีความสนใจลงทุน
- หากนักลงทุนสนใจและต้องการลงทุนในหุ้นลักษณะนี้ ให้พิจารณาจากค่า P/E ไม่ควรเกินการ ขยายตัวของกำไร เช่น ถ้า คาดว่าหุ้นจะ มีกำไรโต 15% ต่อปี ก็ไม่ควรมี P/E เกิน 15 เท่า เป็นต้น
- หุ้นที่มีสภาพคล่องดี หุ้นลักษณะนี้มักมีค่า P/E สูงกว่าหุ้นที่มี Market Cap ใหญ่ และซื้อขายปริมาณมากในแต่ละวัน
ค่า PEG คือ อัตราส่วนทางการเงินที่มาจากการเปรียบเทียบระหว่าง PE กับ Growth (อัตราการเติบโต) ซึ่งใช้วิธีการคำนวนโดย
PEG Ratio = PE Ratio / Net Profit Growth
ค่า PEG จะใช้คำนวนเพื่อดูอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้นนั่นเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.moneywecan.com/pe-ratio/
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที