lWaeASaetidho

ผู้เขียน : lWaeASaetidho

อัพเดท: 11 ธ.ค. 2022 07.40 น. บทความนี้มีผู้ชม: 72255 ครั้ง

ปัจจุบันปี 2562 คนต่างใช้สิทธิ์ของตัวเองเต็มที่ โดยเฉพาะเรื่องทางกฎหมาย เมื่อถูกตั้งข้อหาหรือเป็นคดีขึ้นมาทางอาญาต้องมีการประกันตัวผู้ต้องหา แต่ละข้อหาก็ใช้หลักทรัพย์มูลค่าแตกต่างกันออกไป ถามได้ที่ศาล


ในข้อหาคดีลักทรัพย์ ประกันตัวเท่าไหร่ และได้ไหม

ปัจจุบันอ่านข่าวเห็นมีผู้ไม่หวังดีมาประกอบอาชีพเป็นโจรงัดแงะลักทรัพย์ในบ้านเรือนหรือเคหะสถาน ซึ่งเมื่อตั้งข้อหา ผู้ต้องหานั้นมีสิทธิ์ประกันตัวตามกฎหมายอาญา แต่ศาลท่านจะอนุญาตให้ประกันตัวหรือไม่อันนั้นก็แล้ว

xn--12cm5baskk6cyb5bu3aocv1iumb.blogspot.com
การลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท


แต่การลักทรัพย์นั้นก็จะมีบทฉกรรจ์ด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335 เช่น การลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ,การลักทรัพย์ในเคหสถาน ,ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ ,โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ ,โดยเข้าทางช่องทางซึ่งทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า ,โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น
โดยมีอาวุธ ,ที่เป็นของนายจ้างหรืออยู่ในความครอบครองของนายจ้าง

ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท

แล้วคดีลักทรัพย์นั้นประกันตัวเท่าไหร่ ก็ต้องมาจำแนกดูก่อนว่าถูกตั้งข้อหาตามป.อาญามาตรา 334 หรือ 335  เมื่อรู้ข้อหาแล้วจึงมาสอบถามกับเจ้าหน้าที่หรือประชาสัมพันธ์ศาลว่าใช้หลักทรัพย์กี่บาท ซึ่งแต่ละศาลอาจจะใช้หลักทรัพย์ไม่เท่ากันเสียทีเดียวให้สอบถามรายละเอียดให้ชัดเจน จากนั้นจึงมาดำเนินการหาหลักทรัพย์มาประกันตัวในคดีลักทรัพย์นี้ ท่านก็จะรู้ว่าคำตอบว่าประกันตัวเท่าไหร่


ถ้าหากท่านไม่มีหลักทรัพย์ประกันตัวในคดีลักทรัพย์ของตนเอง ก็จำเป็นที่จะต้องหาเช่าหลักทรัพย์ หรือ ประกันภัยอิสรภาพ กับผู้ให้บริการ ติดต่อสอบถามเงื่อนไข ราคาการให้บริการให้ชัดเจน เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง

 

https://thaibailservice.wordpress.com

 

การลักทรัพย์เป็นข้อหาทางคดีอาญา ซึ่งยอมความไม่ได้ และในคดีอาญาจะต้องมีการประกันตัวดังที่กล่าวไปเบื้องต้น การประกันในคดีลักทรัพย์ และเรื่องคดีความเกี่ยวกับคดีลักทรัพย์ให้สอบถามกับทนายความ ว่าจะรับหรือปฏิเสธข้อกล่าวหา และจำเลยนั้นได้บรรเทาความเสียหายให้กับโจทก์ไปแล้วมากน้อยประการใด เช่น นำทรัพย์ที่ลักขโมยมาไปคืนกับโจทก์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แบบนี้เป็นต้น

 

สำหรับการลักทรัพย์นั้นใช้กับทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้เท่านั้นก็คือสังหาริมทรัพย์ สรุปอสังหาริมทรัพย์ลักทรัพย์ไม่ได้ จุดตัดที่ว่าความผิดในข้อหานี้สำเร็จคือ ทรัพย์นั้นมีการเคลื่อนที่ไป ตามความประสงค์หรือเจตนาของผู้กระทำความผิด เช่น โจรเข้ามาลักทีวีในบ้านของเรา กำลังขนย้ายทีวี แม้ว่าจะไม่ได้ขนย้ายออกไปจากบริเวณบ้านเราก็ตามที เพราะเรามาพบเสียก่อนและโจรก็ได้หนีไป นี่ถือว่าความผิดฐานลักทรัพย์สำเร็จแล้ว

 

การวิเคราะห์ความผิดจึงมี เทคนิคต่างๆในการดู บางอย่างอาจจะไม่เข้าข้อหาความผิดลักทรัพย์ก็ได้ อาจเป็นเพียงแค่ยักยอกทรัพย์

ปรึกษาทนาย https://sites.google.com/site/nitilawteam/home


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที