GIT Information Center

ผู้เขียน : GIT Information Center

อัพเดท: 06 มี.ค. 2020 13.45 น. บทความนี้มีผู้ชม: 873 ครั้ง

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม 2563 เติบโตสูงถึง 1.15 เท่า หรือมีมูลค่า 1,740.11 ล้านเหรียญสหรัฐ) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 807.38 ล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในอันดับที่ 2 รองจากรถยนต์ และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.87 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ เมื่อหักทองคำฯ ออก การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 530.45 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 5.11 โดยสินค้าที่เติบโตได้คือ เครื่องประดับทอง พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน และเครื่องประดับแพลทินัม ส่วนตลาดที่ขยายตัวได้คือ สหภาพยุโรป (อิตาลี เยอรมนี สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส) สหรัฐอเมริกา อินเดีย กลุ่มประเทศออกกลาง (UAE กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย) รัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (รัสเซียและอาร์เมเนีย)


สถานการณ์การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม ปี 2563

สถานการณ์นำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม 2563

            การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม 2563 มีมูลค่า 601.03 ล้านเหรียญสหรัฐ (18,259.82 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 34.26 (ร้อยละ 39.22 ในหน่วยของเงินบาท) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสินค้านำเข้าหลักในสัดส่วนกว่าร้อยละ 65 เป็นทองคำฯ ซึ่งหดตัวลงร้อยละ 46.65 เนื่องมาจากผู้นำเข้าชะลอการนำเข้าทองคำฯ ในช่วงที่ราคาทองคำฯ ในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการนำเข้าเพชรและพลอยสีก็ลดลงด้วย  

            การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม 2563 เติบโตสูงถึง 1.15 เท่า (ร้อยละ 98.90 ในหน่วยของเงินบาท) หรือมีมูลค่า 1,740.11 ล้านเหรียญสหรัฐ (52,089.91 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 807.38 ล้านเหรียญสหรัฐ (26,189.06 ล้านบาท) นับเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในอันดับที่ 2 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.87 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ เมื่อหักทองคำฯ ออก การส่ง    ออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 530.45 ล้านเหรียญสหรัฐ (15,878.82 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 5.11 (ลดลงร้อยละ 3 ในหน่วยของเงินบาท) ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 มูลค่าการส่งออกสุทธิของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม ปี 2563

รายการ

มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ)

สัดส่วน (ร้อยละ)

เปลี่ยนแปลง

(ร้อยละ)

ม.ค. 62

ม.ค. 63

ม.ค. 62

ม.ค. 63

มูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด

807.38

1,740.11

100.00

100.00

115.52

หัก มูลค่าส่งออกทองคำฯ

302.71

1,209.66

37.49

69.52

299.61

คงเหลือมูลค่าการส่งออกที่ไม่รวมทองคำฯ

504.68

530.45

62.51

30.48

5.11

หัก มูลค่าสินค้าส่งกลับจากการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ และอื่นๆ

24.30

33.48

3.01

1.92

37.78

คงเหลือมูลค่าส่งออกสุทธิ

480.38

496.97

59.50

28.56

3.45

 

ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

เมื่อแยกพิจารณาการส่งออกในรายผลิตภัณฑ์สำคัญพบว่า

  1. สินค้าสำเร็จรูป เครื่องประดับทอง และเครื่องประดับแพลทินัม เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.91 และร้อยละ 8.14 ตามลำดับ ส่วนเครื่องประดับเงิน และเครื่องประดับเทียม ลดลงร้อยละ 1.60 และร้อยละ 0.14 ตามลำดับ
  2. สินค้ากึ่งสำเร็จรูป พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27. 64 ส่วนพลอยเนื้อแข็งเจียระไน และเพชร-เจียระไน ลดลงร้อยละ 2 และร้อยละ 16.14 ตามลำดับ

            ตลาด/ภูมิภาคสำคัญในการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย (ไม่รวมทองคำ) (ดังตารางที่ 2)  ในเดือนแรกของปี 2563 คือ สหภาพยุโรป เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.07 เป็นผลมาจากการส่งออกไปยังอิตาลี ตลาดที่ครองส่วนแบ่งสูงสุดแทนที่เยอรมนีที่หล่นลงไปอยู่ในอันดับ 2 ซึ่งทั้งสองตลาดต่างมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.75 และร้อยละ 3.80 ตามลำดับ แม้ว่าเครื่องประดับทองเป็นสินค้าหลักส่งออกไปยังอิตาลีจะหดตัวลง แต่การส่งออกพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน สินค้าสำคัญถัดมาเติบโตได้สูงกว่า 1.78 เท่า ส่วนการส่งออกไปยังเยอรมนีทั้งสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงินและสินค้ารองลงมาอย่างเครื่องประดับทองต่างขยายตัวได้ดี นอกจากนี้ไทยยังส่งออกไปยังสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส ตลาดในอันดับ 4 และ 5 ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.38 และร้อยละ 2.87 ตามลำดับ ซึ่งการส่งออกไปยังสหราช-อาณาจักรที่เติบโตได้ เนื่องมาจากการส่งออกเศษหรือของใช้ที่ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่าและเศษโลหะมีค่าได้เพิ่มขึ้นจากที่ไม่เคยมีการส่งออกมาก่อนเลยในเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า อีกทั้งพลอยเนื้อแข็งเจียระไนก็เติบโตได้ดี ส่วนการส่งออกไปยังฝรั่งเศสทั้งสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับทองและสินค้าลำดับถัดมาอย่างพลอยเนื้อแข็งเจียระไนก็ยังขยายตัวได้ ในขณะที่การส่งออกไปยังเบลเยียม ตลาดในอันดับ 3 ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า โดยมีมูลค่าลดลงร้อยละ 4.82 จากการส่งออกเพชรเจียระไน สินค้าหลักในสัดส่วนราวร้อยละ 73 ได้ลดลง ส่วนสินค้าสำคัญถัดมาอย่างเพชรก้อนและพลอยเนื้อแข็งเจียระไนยังเติบโตได้สูงมาก

            การส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งมาจากในปีที่ผ่านมาสหรัฐฯ ชะลอการนำเข้าจากไทย เพื่อระบายสินค้าเดิมออกไปก่อน จึงกลับมานำเข้าเพิ่มขึ้นเพื่อเติมสต๊อกสินค้าที่พร่องลงไป ทำให้ไทยส่งออกสินค้าหลักอย่างพลอยสีทั้งพลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน รวมถึงเครื่องประดับทองไปยังสหรัฐฯ ได้เพิ่มมากขึ้น

           มูลค่าการส่งออกไปยังอินเดียที่ขยายตัวได้นั้น ส่วนหนึ่งมาจากผู้บริโภคชาวอินเดียยังมีกำลังซื้อสูง จึงมีความต้องการบริโภคสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ผู้นำเข้าอินเดียจึงนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบจากไทยเพื่อนำไปผลิตเป็นเครื่องประดับจำหน่ายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ จึงทำให้ไทยส่งออกเพชรเจียระไน พลอยก้อน พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนไปยังอินเดียได้เพิ่มสูงขึ้นมาก

           การส่งออกไปยังกลุ่มประเทศตะวันออกกลางที่เติบโตได้นั้น เป็นผลมาจากการส่งออกไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ และซาอุดิอาระเบีย ตลาดในอันดับ 1, 3 และ 4 ได้เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 25.75, 3.66 เท่า และ 3.10 เท่า ตามลำดับ โดยสินค้าหลักส่งออกไปยังทั้งสามตลาดดังกล่าวเป็นเครื่องประดับทองที่เติบโตสูง ในขณะที่ไทยส่งออกไปยังอิสราเอล ที่อยู่ในอันดับ 2 หดตัวลงร้อยละ 15.40 จากการส่งออกสินค้าหลักทั้งพลอยก้อนและเพชร-เจียระไนได้ลดลงร้อยละ 9.24 และร้อยละ 38.33 ตามลำดับ

            ส่วนมูลค่าการส่งออกไปยังรัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราชที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นนั้น เนื่องมาจากการส่งออกไปยังรัสเซีย ตลาดที่ครองส่วนแบ่งสูงสุดราวร้อยละ 92 ได้เพิ่มขึ้นกว่า 1.69 เท่า อันเป็นผลจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเพชรเจียระไน และสินค้าสำคัญรองลงมาอย่างเครื่องประดับทอง และพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ได้เพิ่มสูงขึ้นมาก อีกทั้งไทยยังส่งออกไปยังอาร์เมเนีย ตลาดในอันดับ 2 ได้สูงกว่า 1.12 เท่า จากการส่งออกพลอยเนื้อแข็งเจียระไนได้เพิ่มขึ้น รวมถึงการส่งออกพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนและเพชรเจียระไน ได้เพิ่มสูงขึ้นจากที่ไม่เคยมีการส่งออกมาก่อนเลยในเดือนมกราคมของปี 2562

            สำหรับการส่งออกไปยังฮ่องกง ญี่ปุ่น อาเซียน และจีน ต่างมีมูลค่าลดลงร้อยละ 14.10, ร้อยละ 12.22, ร้อยละ 19.78 และร้อยละ 48.95 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากเศรษฐกิจที่ซบเซาลงอันสืบเนื่องมาจากผลกระทบของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดในประเทศเหล่านี้ ทั้งนี้ สินค้าหลักส่งออกไปยังฮ่องกงเป็นเพชรเจียระไน สินค้าส่งออกหลักไปยังญี่ปุ่นเป็นเครื่องประดับทอง และสินค้าหลักส่งออกไปยังจีนเป็นเครื่องประดับเงิน ที่ต่างมีมูลค่าลดลงมาก

            ส่วนการส่งออกไปยังอาเซียนที่ลดลงนั้น เป็นผลจากการส่งออกไปยังสิงคโปร์ ตลาดในอันดับ 1 ได้ลดลงมากถึงร้อยละ 40.24 โดยไทยส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการไปยังตลาดนี้ได้ลดลง ได้แก่ เครื่องประดับเทียม เครื่องประดับ-ทอง เครื่องประดับเงิน และพลอยเนื้อแข็งเจียระไน ในขณะที่ไทยยังสามารถส่งออกไปยังกัมพูชาและมาเลเซีย ตลาดในอันดับ 2 และ 3 ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.93 และร้อยละ 13.69 ตามลำดับ โดยสินค้าส่งออกหลักไปยังกัมพูชาเป็นเครื่องประดับทองขยายตัวได้สูง ส่วนสินค้าสำคัญส่งออกไปยังมาเลเซียทั้งพลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนก็ เติบโตได้สูงมากเช่นกัน

            สำหรับการส่งออกไปยังประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกลดลงร้อยละ 1.81 เนื่องมาจากการส่งออกไปยังออสเตรเลีย ตลาดที่ครองส่วนแบ่งสูงสุดราวร้อยละ 84 ได้ลดลงร้อยละ 3.28 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ทำให้ไทยส่งออกสินค้าหลักทั้งเครื่องประดับเงินและเครื่องประดับทองไปได้ลดลง ในขณะที่การส่งออกไปยังนิวซีแลนด์ ตลาดในอันดับ 2 ยังเติบโตได้ร้อยละ 10.29 จากการส่งออกเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่าและเศษโลหะมีค่าได้เพิ่มขึ้นเกือบหนึ่งเท่าตัว แม้ว่าการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงินจะลดลง
ร้อยละ 5.09 ก็ตาม 

ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ไปยังตลาด/ภูมิภาคต่างๆ ในระหว่างปี 2562 – 2563

ประเทศ/ภูมิภาค

มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ)

สัดส่วน (ร้อยละ)

เปลี่ยนแปลง

ม.ค. 62

ม.ค. 63

ม.ค. 62

ม.ค. 63

(ร้อยละ)

สหภาพยุโรป

170.14

173.66

33.71

32.74

2.07

สหรัฐอเมริกา

139.69

153.29

27.68

28.90

9.74

ฮ่องกง

54.35

46.69

10.77

8.80

-14.10

อินเดีย

20.08

46.15

3.98

8.70

129.87

กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง

28.11

31.58

5.57

5.95

12.33

ญี่ปุ่น

18.66

16.38

3.70

3.09

-12.22

อาเซียน

16.65

13.35

3.30

2.52

-19.78

ประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก

11.46

11.25

2.27

2.12

-1.81

จีน

12.58

6.42

2.49

1.21

-48.95

รัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช

1.58

3.84

0.31

0.72

143.07

อื่นๆ

31.40

27.84

6.22

5.25

-11.32

รวม

504.68

530.45

100.00

100.00

5.11

 

ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที