วัดพระยาทำวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สร้างขึ้น สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในต้นรัชกาลที่1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีเนื้อที่ประมาณ 16 ไร่ วัดคู่บ้านมานานจนหาประวัติไม่ได้ และศักดิ์สิทธิ์มากเป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วไป
เดิมเป็นวัดเก่าแก่ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างมาแต่สมัยใด ได้กำหนดอายุจากหลักฐานคือธรรมาสน์บนศาลาการเปรียญว่าน่าจะสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย เดิมมีชื่อว่า วัดนาค เป็นวัดคู่กับ วัดกลาง ตั้งอยู่คนละฝั่งคลองมอญ เขตบางกอกน้อย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดฯ ให้ปฏิสังขรณ์ โดยแบบสร้างขึ้นใหม่ทั้งหมด แล้วสถาปนา เป็นวัดหลวง และเปลี่ยนชื่อจากวัดนาค เป็น วัดพระยาทำ สิ่งสำคัญภายในวัดคือ หอระฆัง หรือเรียกกันติดปากว่าเจดีย์ยักษ์
มีลักษณะทางศิลปกรรมแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 คือเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น ประดับกระเบื้องเคลือบ ส่วนฐานเป็นช่องโค้งแหลมทั้ง 4 ด้าน กรอบของช่องโค้งนี้ มีรูปครุฑเหยียบนาคทั้ง 4 ช่อง ตรงมุมล่างติดพื้นดินมีรูปปั้นยักษ์ยืนประจำทั้งตรง 4 มุม มุมละ 4 ตน ชั้นบนมีรูปปั้นยักษ์ทั้ง 4 ทิศ ยอดหอระฆังทำเป็นทรงปราสาทจากการปฏิสังขรณ์ครั้งแรกเมื่อสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หอระฆังแห่งนี้ได้รับการปฏิสังขร์เพิ่มเติมในสมัยรัชกาลที่ 3 และ 5 ตามลำดับ วัดพระยาทำ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เดิมชื่อว่าวัดนาค คู่กับวัดกลาง
วัดพระยาทำวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างมาแต่สมัยใด เดิมชื่อว่า “วัดนาค” เป็นวัดพี่น้องคู่กับ “วัดกลาง” ตั้งอยู่คนละฝั่งคลองมอญ เขตบางกอกน้อย โดย “วัดนาค” อยู่ฝั่งเหนือ “วัดกลาง” อยู่ฝั่งใต้ วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณสันนิษฐานกันว่า วัดนาคนี้สร้างขึ้น สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในต้นรัชกาลที่1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เคยมีเรื่องให้รวมวัดนาคกับวัดกลาง เข้าด้วยกัน พระพุทธจารย์ (อยู่ ) วัดบางหว้าใหญ่หรือวัดระฆัง ปรึกษากับพระธรรมธีรราชมหามุนี(ชื่น) วัดหงส์รัตนาราม แล้วนำความขึ้นกราบทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชว่า วัดนาคกับวัดกลาง มีอุปจารย์ใกล้กัน
จึงควรมีพุทธสีมาเดียวกันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงมีพระราชดำรัสให้พระราชาคณะประชุมพิจารณาวินิจฉัยกันในที่สุดพระราชาคณะมีมติเป็นเอกฉันว่าวัดทั้งสองนี้มีคลองขั้นเป็นเขตอยู่ จึงไม่ควรที่จะให้พุทธสีมาร่วมกัน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าให้เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) สมุหนายก รับบูรณะปฏิสังขรณ์ แบบสร้างขึ้นใหม่ทั้งหมด แล้วสถาปนาเป็นวัดหลวง จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก “วัดนาค” เป็น “วัดพระยาทำวรวิหาร” หมายถึงเจ้าพระยารัตนาธิเบศสร้างขึ้น ในรัชการที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชศรัทธาปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมทั้งวัดอีกครั้งหนึ่ง จนมีสภาพถาวรมั่นคงมาถึงรัชการที่ 5 พระอุโบสถ และเสนาสนะต่างๆ เริ่มชำรุดทรุดโทรมลง พระครูสุนทรากษรวิจิตร (แจ้ง) เจ้าอาวาสร่วมกับอุบาสกอุบาสิกาบูรณปฏิสังขรณ์ใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ต่อจากนั้นก็มีการบูรณะสิ่งปลูกสร้างที่ชำรุดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
อ้างอิง:
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย: https://www.lovethailand.org/travel/th/
ที่เที่ยวกรุงเทพ ที่เที่ยวกาญจบุรี ที่เที่ยวยะลา ที่เที่ยวปัตตานี ที่เที่ยนราธิวาส
ประเพณีไทย ประเพณีภาคเหนือ ประเพณีภาคกลาง ประเพณีภาคใต้
อาหารภาคเหนือ ประเทศไทย
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที