Rina

ผู้เขียน : Rina

อัพเดท: 13 ก.ค. 2020 14.01 น. บทความนี้มีผู้ชม: 961 ครั้ง

หนึ่งในโรคที่ผู้สูงอายุเป็นกันมากคือโรคต้อกระจก ซึ่งแม้จะไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดใดๆ ไม่มีผลต่อระบบภายในของร่างกาย แต่ก็สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน และทำให้เกิดอาการหงุดหงิดหรือรำคาญที่ตัวเองไม่สามารถมองภาพได้ชัดเจนอีกต่อไป โรคต้อกระจกนั้น หากเป็นแล้ว ควรได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี หากรู้สึกถึงความพร่ามัวอย่างผิดปกติก็ควรรีบไปรับการตรวจวินิจฉัย ก่อนที่จะสูญเสียการมองเห็นไปอย่างถาวร


รู้ทันอาการโรคต้อกระจก พร้อมสาเหตุ และวิธีรักษาแบบไม่ทิ้งรอยแผล

 

หนึ่งในโรคที่ผู้สูงอายุเป็นกันมากคือโรคต้อกระจก ซึ่งแม้จะไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดใดๆ ไม่มีผลต่อระบบภายในของร่างกาย แต่ก็สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน และทำให้เกิดอาการหงุดหงิดหรือรำคาญที่ตัวเองไม่สามารถมองภาพได้ชัดเจนอีกต่อไป โรคต้อกระจกนั้น หากเป็นแล้ว ควรได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี หากรู้สึกถึงความพร่ามัวอย่างผิดปกติก็ควรรีบไปรับการตรวจวินิจฉัย ก่อนที่จะสูญเสียการมองเห็นไปอย่างถาวร

 

 

อาการของต้อกระจก

ต้อกระจกเป็นโรคที่สังเกตอาการได้ยาก หากไม่เป็นในระยะที่เลนส์ตาขุ่นมัวจนมองเห็นได้ชัดเจนจากภายนอก อย่างไรก็ตาม หากมีความผิดปกติดังต่อไปนี้ ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจโดยละเอียด เพราะอาจเป็นสัญญาณของต้อหรือโรคที่ดวงตาชนิดอื่นก็ได้

 

- มองเห็นภาพเบลอ ภาพซ้อน หรือตาพร่ามัวเหมือนมีหมอกลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ต้องเปลี่ยนแว่นหรือคอนแทคเลนส์บ่อยๆ

- มีความลำบากในการทำกิจกรรมที่ต้องใช้สายตามาก เช่น อ่านหนังสือ เย็บผ้า และจะมองเห็นชัดขึ้นก็ต่อเมื่อเพิ่มแสงไฟให้สว่างขึ้น

- มองเห็นวงแหวนรอบแสงไฟ หรือเห็นภาพเป็นสีซีดจางลงกว่าปกติ

- มีปัญหาในการมองเห็นในที่แสงจ้า

 

โรคต้อกระจกเกิดจากอะไร?

ส่วนใหญ่แล้ว ต้อกระจกมักเกิดในผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นไปตามกลไกที่เปลี่ยนแปลงของร่างกาย แต่ผู้ป่วยบางรายอาจเป็นโรคนี้แต่กำเนิด ซึ่งเป็นผลมาจากการที่มารดาเป็นโรคหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์ หรืออาจเป็นต้อจากผลกระทบของการบาดเจ็บที่ตา นอกจากนี้ การผ่าตัดรักษาโรคตาอื่นๆ เช่น โรคต้อหิน โรคม่านตาอักเสบ ก็อาจทำให้เกิดต้อกระจกได้เช่นกัน

 

วิธีการรักษาต้อกระจก

โรคต้อกระจกยังไม่มียาหยอดตาเพื่อรักษาให้หายขาด หากอาการตาพร่ามัวไม่สามารถบรรเทาหรือแก้ไขเบื้องต้นด้วยการเปลี่ยนแว่นสายตาได้แล้ว แพทย์จะวินิจฉัยให้คนไข้เข้ารับการผ่าตัด ในปัจจุบัน มีทางเลือกในการผ่าตัดถึง 2 วิธี ดังนี้

 

- การผ่าตัดแบบเดิม เป็นการผ่าต้อกระจกโดยทั่วไป โดยใช้เครื่องมือนำเลนส์แก้วตาเดิมออกมา แล้วใส่เลนส์ใหม่ทดแทนเข้าไป การผ่าตัดแบบนี้ต้องเปิดปากแผลประมาณ 6 มิลลิเมตร แต่ก็เป็นวิธีที่ใช้กันมานาน และได้ผลหลังการผ่าตัดที่ดี

- การผ่าตัดแบบใหม่ ในบางโรงพยาบาลจะใช้เทคนิคการนำเลนส์เก่าออกด้วยคลื่นอัลตร้าซาวด์ จึงเปิดแผลเพียงแค่ 3 มิลลิเมตร ให้ผลการรักษาที่ดีเช่นเดียวกัน แต่จะไม่มีรอยแผล ฟื้นตัวได้เร็วกว่า และไม่ต้องตัดไหมแบบวิธีแรก

 

โรคต้อกระจก แม้จะเป็นโรคที่พบได้ในผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ แต่ทุกคนก็ควรทำความเข้าใจสาเหตุและอาการ รวมถึงทางเลือกในการรักษาเอาไว้ เพื่อจะได้ป้องกันความเสี่ยง และสามารถสังเกตอาการของตัวเองได้ตั้งแต่เนิ่นๆ

 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที