lWaeASaetidho

ผู้เขียน : lWaeASaetidho

อัพเดท: 24 มี.ค. 2024 23.08 น. บทความนี้มีผู้ชม: 53928 ครั้ง

บริการ ปรึกษาทนายความ เบื้องต้นฟรี ฝากข้อความได้ 24 ชั่วโมง line ออนไลน์ ปรึกษากฎหมาย ในคดีแพ่ง คดีอาญา คดีเช่าซื้อ คดีเช่าทรัพย์ คดีผิดสัญญาซื้อขาย คดีเช็ค คดียักยอกทรัพย์ คดีฉ้อโกง คดีลักทรัพย์ คดีรับของโจร คดีผิดสัญญาจ้างทำของ ยื่นคำร้องต่อศาล สืบทรัพย์ บังคับคดี อุทธรณ์ ฏีกา


ใบแต่งทนาย

 ในเรื่องของใบแต่งทนาย เมื่อท่านเป็นโจทก์ ผู้เสียหายต้องการจะดำเนินการฟ้องคดี ไม่ว่าคดีแพ่งหรือคดีอาญาก็ตาม หากท่านไม่สามารถดำเนินการเองได้ท่านมีความจำเป็นจะต้องแต่งตั้งทนายความเข้ามาดูแลในคดี โดยใช้ใบแต่งทนาย

หรือท่านถูกฟ้องคดีเป็นจำเลย ไม่ว่าเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา หากคดีนั้นท่านไม่สามารถดำเนินการเองได้ ท่านก็มีความจำเป็นที่จะต้องแต่งตั้งทนายความเข้ามาช่วยดำเนินการ



เมื่อท่านแต่งทนายความเรียบร้อยแล้ว ทนายจะมีอำนาจในการดำเนินการสิ่งต่างๆ เช่นกรณีเป็นโจทก์ก็ดำเนินการฟ้องคดี หรือกรณีเป็นจำเลยก็จะมีการ ยื่นคำให้การสารภาพหรือปฏิเสธ ให้กับจำเลย และทนายมีอำนาจในการเจรจาต่อรองในคดีแพ่งหรือในคดีอาญาแทนต่อความได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการแต่งทนาย ตัวทนายความเหมือนเป็นคู่ความคนหนึ่ง เป็นตัวแทนของตัวความ (โจทก์ จำเลย)
 

 

ทนายอาสา คือ?

Click ปรึกษาทนาย ออนไลน์

 


ก่อนจะมีการแต่งทนาย ควรจะต้องมีการสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดี ท่านควรบอกข้อเท็จจริงตามจริง พยานหลักฐานอะไรที่มีหรือไม่มี คุยกันให้เคลียร์ เพราะมันมีผลต่อคดี


และที่สำคัญ การแต่งทนายความ ทนายความเหมือนเป็นตัวแทนในการดำเนินการหลายอย่างแทนท่าน ควรหาคนที่คุยกันรู้เรื่องและมีจริตตรงกัน จะได้ไม่ต้องไปทะเลาะกัน ควรเป็นคนที่มีความเห็นหลายๆอย่างไปในทางเดียวกัน


 

เรื่องหลายเรื่องบางครั้งมันมีความเห็นส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง แม้ว่าจะเป็นเรื่องของกฎหมายก็ตาม อาจจะมีหลายทางเลือก หลายทางแยก ถ้าความเห็นไม่ลงรอยกันแล้ว แม้ว่าจะเซ็นใบแต่งทนายไปเรียบร้อยก็ไม่มีประโยชน์ เพราะสุดท้ายก็ทะเลาะกัน

 

ดังนั้นเรื่องราวต่างๆ ก่อนที่จะตกลง ร่วมงานไปด้วยกันจนกว่าคดีจะสิ้นสุด ก่อนที่จะเซ็นใบแต่งทนายความ จึงควรจะต้องคุยกันให้เคลียร์ดังที่กล่าวไว้

 

ปกติ อำนาจในใบแต่งทนาย มักจะเขียนตามนี้

"เป็นทนายความของข้าพเจ้าในคดีนี้ และให้มีอำนาจ ดำเนินการกระบวนการพิจารณาใดๆ ไปใน ทางจำหน่ายสิทธิของข้าพเจ้าได้ด้วย  เช่น  การยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง  การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ การสละสิทธิ   หรือการใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา หรือในการขอให้มีการพิจารณาคดีใหม่"


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที