ยกตัวอย่างคดีแพ่งที่ทนาย ให้บริการ คดีผิดสัญญาจ้างทำของ คดีผิดสัญญาซื้อขาย คดีเช่าซื้อรถยนต์ คดีเช่าทรัพย์ คดีจำนองบ้านที่ดิน คดีถูกฟ้องล้มละลาย คดีข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดิน คดีหนี้บัตรเครดิต คดีครอบครัว ฟ้องหย่า(โดยอาศัยเหตุแห่งการหย่า) ฟ้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู ฟ้องหย่าแล้วแบ่งสินสมรส คดีมรดก ฟ้องแบ่งมรดก ฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน คดีครอบครองปรปักษ์ คดีละเมิด ฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ยกตัวอย่างคดีอาญาที่ทนาย ให้บริการ ยกตัวอย่างเช่น คดีบุกรุก คดีทำร้ายร่างกาย คดีพยายามฆ่า คดีลักทรัพย์ คดีลักทรัพย์นายจ้าง คดียักยอกทรัพย์ คดีฉ้อโกง คดีฉ้อโกงประชาชน คดีหมิ่นประมาท คดีหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา คดีปลอมเอกสาร คดียาเสพติดทั้งเสพหรือครอบครอง คดีเช็คที่ฟ้องในทางอาญา (ตามกฎหมาย คดีเช็คฟ้องได้ทั้งแพ่งและอาญา)
โทรเข้ามาปรึกษา กฎหมายกับทนาย เมื่อมีเรื่องเกิดขึ้น สำนักกฎหมาย tpa.or.th
ไม่ว่าในคดีแพ่งหรือคดีอาญา เมื่อมีเรื่องราวโต้แย้งสิทธิ์เกิดขึ้นกับท่าน ทนาย แนะนำคือ
1.ให้รีบดำเนินการทางกฎหมายหรือทางศาล ให้เร็วที่สุดเพราะคดีแต่ละประเภทมันมีอายุความกำหนดอยู่ หากท่านไม่ดำเนินการภายในอายุความ ผลเสียตกกับตัวท่านเอง
2.ในคดีแพ่งอายุความคู่กรณีต้องเป็นคนยกขึ้นกล่าวอ้าง (อยากรู้มันยังไง ปรึกษาทนาย ในข้อกฎหมาย เรื่องนี้ได้)
3.ในคดีอาญาอายุความ ศาลยกขึ้นเองได้
4.พยายามเก็บหลักฐานต่างๆ ไว้ให้ครบถ้วนมากที่สุด เช่นรูปถ่าย บันทึกเสียง บันทึกภาพ (ใช้โทรศัพท์มือถือก็ได้)
5.ในคดีแพ่ง โดยเฉพาะตัวเลขยอดความเสียหายยอดเงินต่างๆ ควรเก็บหลักฐานไว้ให้ชัดเจน แม้ว่าในตอนนั้นยังไม่ได้เป็นคดีกันก็ตาม
6.ทนายว่า ควรมีความยุติธรรมแก่จำเลยด้วย ยอดเสียหายเท่าไหร่ ยังไง ว่ากันตามจริงนะ
ทนายจะบอกว่า เมื่อได้รับหมายจากศาล ในคดีแพ่งหรือคดีอาญา จะมีขั้นตอนการดำเนินการแตกต่างกันออกไป แต่ยังไรให้รีบด่วนในการพบ ปรึกษาพูดคุยกับทนายในเรื่องคดีของท่าน เพราะเมื่อกระบวนการทางกฎหมายเริ่มขึ้นแล้ว มันจะมีกำหนดการต่างๆที่ท่านจะต้องไปดำเนินการตามหมายนัด เมื่อท่านไม่ทำตาม ผลเสียต่อตัวท่านเอง เมื่อถึงจุดนั้นทนายเองก็ลำบากใจ
กรณีที่โจทก์ฟ้องตรงต่อศาล เมื่อได้รับหมายศาล จะมีนัดให้ไปไต่สวนมูลฟ้อง เพื่อให้ศาลพิจารณาว่าคดีนั้นมีมูลหรือไม่ ถ้าคดีมีมูลก็จะทำการนัดวันสอบคำให้การ ซึ่งในวันนั้นจำเลยต้องทำการประกันตัว เตรียมเรื่องการประกันตัวด้วย สอบถามกับทนายท่านเองเลย
เมื่อได้รับหมายศาล รับหมายโดยวิธีธรรมดาหรือปิดหมาย รีบนำหมายไปปรึกษาทนาย เพราะจะต้องมีการยื่นคำให้การภายใน 15 วันหรือ 30 วันแล้วแต่กรณี (กรณีแพ่งสามัญ) หากจำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด ผลเสียจะตกแก่จำเลยอย่างมาก เป็นจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์สามารถ ขอชนะคดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การได้ ทางแก้ไขก็มี แต่ทนายจะบอกว่ามันยุ่งยาก และก็มีความไม่แน่นอน คือความเสี่ยงอยู่กับจำเลยเอง แต่ถ้าถึงจุดนั้น ทนายก็ต้องแก้ไขอย่างสุดกำลัง เท่าที่ทนาย จะทำได้
เมื่อมีเรื่องราวการโต้แย้งสิทธิ์เกิดขึ้นกับท่านกรณีท่านเป็นโจทก์ หรือกรณีท่านถูกฟ้องเป็นจำเลย อย่ารอช้าที่จะพูดคุยกับทนายที่ไว้ใจได้ เพราะถือว่ากระบวนการทางกฎหมายมันเริ่มขึ้นแล้ว ให้รีบปรึกษาทนาย ปรึกษากฎหมาย ทาง line ออนไลน์ 24 ชั่วโมง โปรดอย่ากังวลเรื่องค่าใช้จ่ายอะไรทั้งสิ้น ให้รีบคุยหาทางแก้ไขอย่าเฉย ผลเสียที่ตามมา ถ้าเราละเลยทางด้านกฎหมาย ไม่ปรึกษากับทนาย ทำให้ปัญหาแก้ไขได้ยากมากกว่าเดิม
ปรึกษาเบื้องต้นฟรี แต่หากต้องการใช้บริการปรึกษากฎหมาย แบบพรีเมียม ทำความเห็นทางกฎหมาย ติดต่อเราได้ (มีค่าใช้จ่าย) โดยเราจะดำเนินการส่งเอกสารให้ท่าน พร้อมความเห็นทางกฎหมาย ตามที่เราได้คิดวิเคราะห์ไว้
มันต่างกันยังไง
ปรึกษาทนาย แบบพรีเมี่ยมจะทำรายละเอียดมากกว่า เราต้องวิเคราะห์ข้อเท็จจริงที่ท่านให้มา และทำความเห็นทางกฎหมายหาทางออกต่างๆให้กับท่าน เพื่อที่ท่านจะได้มีทางเลือก และเป็นคนตัดสินใจ เลือกทางนั้น
>>> ไลน์@ปรึกษากฎหมาย กับทนาย: @969vwmom
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที