ตอนที่ 3
จากตอนก่อน เมื่อเรานำข้อมูลทางบัญชี-การเงิน มาทำการวิเคราะห์ จะพบว่า เงินทองรั่วไหลไปในส่วนไหนของบริษัทบ้าง หากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
ครั้งนี้ เรามาพูดถึงต้นทุนที่ยังเหลืออีกส่วนหนึ่ง ซึ่งก็คือ
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร นั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) หากยอดขายสูงขึ้น ก็จะทำให้มีผลประกอบการมีกำไรสูงขึ้น โดยที่เราไม่ต้องทำการลดต้นทุนตัวใดเลย เนื่องจากต้นทุนส่วนนี้ เป็นต้นทุนคงที่ หากจะขึ้นก็จะเป็นการขึ้นแบบขั้นบันไดเท่านั้น ดังนั้น ค่าใช้จ่ายต่อหน่วยจะถูกลง เพราะถูก Share Fixed Cost แต่จากการให้บริการวินิจฉัยพบว่ากว่า 80% สถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมจะมีอัตราส่วนค่าใช้จ่ายนี้สูงขึ้นผันแปรตามยอดขาย ซึ่งผิดปกติวิสัย ทำให้เรารู้ว่าการบริหารงานของบริษัท ขาดประสิทธิภาพ โดยไม่รู้สถานะของตนเอง หากเจอวิกฤตก็จะแก้ไขปัญหาได้ไม่ทัน เช่น ในกรณีที่เกิดมีปัญหาทางด้านการตลาด ทำให้ยอดขายลดลง การควบคุมค่าใช้จ่ายส่วนนี้ยิ่งทำไม่ได้ จะทำให้บริษัทประสบปัญหาความสามารถในการทำกำไรลดลง หรือ ขาดทุนในที่สุด นั่นเอง
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า หากเรานำข้อมูลบัญชี-การเงิน มาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ จะทำให้เรารู้แนวโน้มของบริษัท และสามารถรองรับกับสถานการณ์ปัจจุบันได้ทัน
บทความโดย :
คุณวารินทร์ ธีรวัฒนเศรษฐ์นักวินิจฉัย
ฝ่ายวินิจฉัยและให้คำปรึกษาสถานประกอบการ
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
โทร. 0-2717-3000 ต่อ 628
E-mail:
warin@tpa.or.thWeb Site :
http://www.tpa.or.th/shindan/finance_account.php
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที