ศุภกร

ผู้เขียน : ศุภกร

อัพเดท: 30 มี.ค. 2007 15.32 น. บทความนี้มีผู้ชม: 9396 ครั้ง

ขอจุดพลุในเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงอีกซักที เนื่องจากปัจจุบันก็เริ่มจะเงียบแล้ว


ลำดับเหตุการณ์การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปัจจุบัน

ไพเราะ เลิศวิราม
 Positioning Magazine   พฤศจิกายน 2549

ปี 2540

รัฐบาล ชวน หลีกภัย

สภาพเศรษฐกิจ ไทยประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากนโยบายลอยตัวค่าเงินบาทส่งผลให้ธุรกิจที่กู้ยืมเงินนอกและลงทุนเกินตัว ต้องประสบปัญหาล้มละลายและคนตกงาน

การนำไปใช้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2540

การตีความ เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้น คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจมากนัก


ปี 2541- 2546

รัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร 1

นโยบาย เน้นการขยายตัวเศรษฐกิจ มีการนำนโยบายประชานิยมมาใช้ เช่น กองทุนหมู่บ้าน, 30 บาทรักษาทุกโรค

สภาพเศรษฐกิจ เศรษฐกิจขยายตัวอย่างมาก

ความคืบหน้า เนื่องจากรัฐบาลทักษิณเน้นการพัฒนาประเทศด้วยการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงในเวลานั้นถูกนำไปใช้ในภาคการเกษตร และชนบท โดยผ่านโครงการราชดำริ ยังไม่มีการนำไปใช้ภาคธุรกิจ และสังคมเมืองมากนัก เนื่องจากรัฐบาลไม่ให้ความสำคัญกับการพูดถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงอยู่จำกัดอยู่เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการพระราชดำริ เช่น สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานมูลนิธิชัยพัฒนา ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา น.พ.ประเวศ วสี ซึ่งก็ก่อให้เกิดการนำทฤษฎีใหม่ไปใช้กับภาคเกษตรกร และชุมชน

ความเข้าใจ คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การประหยัด มัธยัสถ์ ไม่ใช้เงิน


ปี 2547- 2549

รัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร 2

นโยบาย นโยบายของรัฐบาลยังคงมุ่งเน้นการขยายตัวของตัวเลขทางเศรษฐกิจ และการนำนโยบายประชานิยมมาใช้อย่างต่อเนื่อง

สภาพเศรษฐกิจ ในช่วงรัฐบาลทักษิณ 2 ประเทศไทยเริ่มประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจชะลอตัว อันเนื่องมาจากนโยบายรัฐบาล ที่มุ่งเน้นการตัวเลขการเติบโตจนก่อให้เกิดปัญหาหนี้สาธารณะ และปัญหาการขาดดุล

ความคืบหน้า คนทั่วไปเริ่มไม่มั่นใจกับนโยบายมุ่งการเติบโตด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ส่งผลกระทบในด้านลบ จึงเริ่มมีการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ และการใช้ชีวิตมากขึ้น โดยไม่จำกัดอยู่เฉพาะในภาคการเกษตร ขณะเดียวกันมีโฆษณาเกี่ยวกับแนวคิดเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเผยแพร่มากขึ้น

ความเข้าใจ มีการตีความหลักปรัชญาเพื่อให้มีความเข้าใจมากกว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ผ่านผู้ที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ และภาคเอกชน


ปลายปี 2549

รัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์

นโยบาย
* รัฐบาลประกาศนำนโยบาย “เศรษฐกิจพอเพียง” มาใช้ในการขับเคลื่อนประเทศ โดยใช้เป็นนโยบายด้านเศรษฐกิจ คือ การใช้หลักคุณธรรมกำกับการพัฒนาเศรษฐกิจในระบบตลาดเสรี, ใช้ในการบริหารทรัพยากรบุคคลและการจัดองค์กรภาครัฐ มุ่งการพัฒนาที่ยั่งยืน สังคมเข้มแข็ง และประชาชนมีความสุขด้วยการดำรงชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, นำนโยบายงบประมาณขาดดุลมาใช้รองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างเพียงพอ

*แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550-2554 มุ่งสู่ "สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน" รวมทั้งนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักปฏิบัติ โดยกำหนดแนวทางการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม

ความคืบหน้า
* เวลานี้ได้มีการออกมาเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการตีความ และการผลักดัน
ให้เกิดความเข้าใจในหลักปรัชญาอย่างแพร่หลาย ทั้งในเวทีสัมมนาทางวิชาการ รวมทั้งการนำเสนอในรูปแบบของบทความและสกู๊ปในหน้าหนังสือพิมพ์ มีการจัดทำหนังสือเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นมาเป็นจำนวนมาก

* ไม่ใช่แค่ภาคเกษตรเท่านั้น แต่ในภาคเอกชนและหน่วยงานรัฐ มีการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นหลักในการดำเนินธุรกิจ และการใช้ชีวิตอย่างแพร่หลายในทุกๆ ธุรกิจ

* ในด้านวิชาการ มีการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงจัดทำเป็นหลักสูตรบรรจุไว้ในเนื้อหาของการศึกษาทุกระดับชั้น ซึ่งในมหาวิทยาลัยได้พัฒนาหลักสูตรไปจนถึงระดับปริญญาตรี และโทแล้ว

การตีความ มีการตีความหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเข้าใจมากกว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาว่า ไม่ได้หมายถึงประหยัดมัธยัสถ์ ไม่ใช้เงิน แต่เป็นการเดินทางสายกลาง ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล หรือองค์กร โดยไม่ลงทุนเกินตัว และยึดหลักคุณธรรม เน้นความมั่นคง และยั่งยืน

 ที่มา : เว็บไซด์ http://www.positioningmag.com


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที