ปิยเดช

ผู้เขียน : ปิยเดช

อัพเดท: 29 พ.ย. 2009 17.38 น. บทความนี้มีผู้ชม: 207678 ครั้ง

(ตอนที่ 1 รู้จัก Just In Time อย่างแท้จริง)


การสร้างสโตร์ในระบบ JIT 2

จากคราวที่แล้วได้อธิบายลักษณะของสโตร์แบบ Supermarket คือ มีชิ้นงานทุกชิ้นให้พนักงานหยิบได้
ตอนนี้จะอธิบายลักษณะของสโตร์แบบ Sequence ดังนี้
สโตร์แบบ Sequence เป็นการเก็บสินค้าตามลำดับ คือ จะมีการเรียงชิ้นงานตามลำดับการผลิตหรือการส่งมอบ ดังนั้น
ผู้หยิบงานจึงไม่จำเป็นต้องเลือกว่าจะหยิบชิ้นงานอะไร แต่ให้หยิบตามลำดับก่อนหลังเท่านั้น
การจัดสโตร์แบบนี้กระทำได้เฉพาะสายการผลิตที่มีการไหลแบบราบเรียบแล้วเท่านั้น
ถ้ามีลักษณะของการไหลยังไม่ราบเรียบ เช่น มีการรวมการไหล หรือมีการแยกการไหลไม่ควรจะทำ เพราะพนักงานจะไม่สามารถจัดลำดับ
ก่อนหลังได้ และเป็นผลทำให้ลำดับการผลิตในขั้นตอนต่อไปผิดเพี้ยนจากที่ต้องการและทำให้ผลิตงานส่งไม่ทันได้
ลักษณะการจัดสโตร์แบบ sequence ใช้กับรูปแบบการผลิตแบบ Make to order หลายคนสับสนว่าถ้าเป็น JIT จะต้อง
เป็นการผลิตแบบดึงเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้วไม่จำเป็นต้องเกิดการดึงก็สามารถทำ JIT ได้ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ การเชื่อมโยง
ระบบการผลิตระหว่างผู้ผลิต final product กับผู้ผลิต Part เช่น ผู้ผลิต final product มีขั้นตอนการประกอบ 200 ขั้นตอน leadtime 48 ชมได้คำนวณ leadtime Mapping แล้วว่าที่ขั้นตอน 20 ถ้าส่งคำสั่งผลิตไปยังผู้ผลิต part ซึ่งจะถูกใช้ที่ขั้นตอน 160 คือ จาก 20 ไป 160 ผู้ผลิต Part จะมีเวลาผลิต ประมาณ 30 ชม ถ้าผู้ผลิต Part มีระบบการผลิตที่เข้มแข็ง มีการวาง cycle time ที่เท่ากับ Process ของผู้ผลิต final product ก็สามารถผลิตได้ตามลำดับคำสั่งที่เข้ามาเลยและเมื่อผลิตเสร็จ ก็จะจัดขึ้นรถส่งทันที ทำให้ไม่มีสต็อก และสโตร์จะเป็นลักษณะที่เรา
เรียกว่า Sequence

การทำ Sequence เป็นสโตร์ที่มีสต็อกน้อยที่สุดจึงดีที่สุด แต่ก็เป็นเรื่องยากที่สุดด้วย เพราะต้องมีระบบต่างๆ เข้มแข็งจะผิดพลาดไม่ได้เลย
เงื่อนไขต่างๆ จึงมีมาก เช่น
1. Efficiency ในสายการผลิตมีความสม่ำเสมอ
2. MC breakdown ต่ำ
3. Attendance rate คงที่ (มีการเตรียม relive man ไว้รองรับกรณีคนขาดงาน)
4. Material Supply ไม่ shortage และมี Quality สม่ำเสมอ
5. ของเสียที่เกิดจากการผลิตไม่มี
6. การผลิตต้องเป็นแบบไหลที่ละชิ้น (kanban by kanban) set up time จึงเป็น 0
7. Turnover ของพนักงานต่ำ และพนักงานต้องเป็น Multi Function worker

และอื่นๆ อีกมากมาย
การจัดทำสโตร์แบบ sequence ให้ทำ shelf เป็นแบบรางไหลทางเดียวเพื่อบังคับ FIFO และมีกำหนดป้ายบ่งบอกด้วยว่ากำหนดให้วางได้กี่ลำดับ

สโตร์แบบสุดท้าย คือ กองภูเขา ซึ่งถือเป็นจุดหยุดชะงักในกระบวนการ (Stagnation) ลักษณะแบบนี้พิจารณาได้ง่ายมาก คือ ถ้า พบการกองหรือเข้าไปในที่เก็บของ (สโตร์ warehouse ลานกว้าง) ที่ไม่มีการบ่งชี้และควบคุมต่างๆ ตามลักษณะสโตร์ Supermarket หรือ sequence ก็ให้
ถือว่า เป็น Stagnation ทั้งหมด

ตอนต่อไป เรื่อง การวางแผน Takt time และการส่งผ่านความเร็วการขายเข้าไปในสายการผลิต


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที