Darkblue

ผู้เขียน : Darkblue

อัพเดท: 14 ก.พ. 2023 10.33 น. บทความนี้มีผู้ชม: 16845 ครั้ง

คนรักสวยรักงาม จะต้องไม่มีใครไม่รู้จักสารเติมเต็มอย่างฟิลเลอร์ Filler มีสรรพคุณช่วยทำให้ใบหน้าเต่งตึง มีน้ำมีนวล ริ้วรอยร่องลึกที่เคยเป็นจะตื้นขึ้น อีกทั้งฟิลเลอร์บางชนิดที่เลือกใช้ยังช่วยเติมใยคอลลาเจนที่หายไปให้กลับมาดูอิ่มเอิบ แลดูอ่อนเยาว์กว่าวัยด้วยเวลาอันรวดเร็ว


เพราะดนตรีช่วยสร้างความสนุกสนานและสมาธิให้แก่เด็กได้

 
 
เราจะปฏิเสธและต่อต้านได้อย่างไรในเมื่อมีงานวิจัยมากมายว่าดนตรี เสียงดนตรีนั้นช่วยพัฒนาสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ได้ ไม่ใช่แค่มนุษย์แต่ยังรวมถึงสัตว์และพืชอีกด้วย ตามที่เราจะเคยได้เห็นว่ามีการนำดนตรีมาช่วยเปิดคลอให้กับการปลูกผักต่างๆ และดูการเจริญเติบโต เปรียบเทียบกับผักหรือพืชที่เติบโตเองอย่างธรรมชาติ ซึ่งผลที่ได้นั้นก็สร้างความประหลาดใจให้กับนักวิจัยได้มากเช่นกัน เพราะผักที่ได้รับเสียงดนตรีคลอไปด้วย กับให้ผลผลิตที่ดีกว่า ใบต่างๆก็ดูแข็งแรงมากกว่าเช่นนั้น 
 
การทดลองนี้จึงได้นำมาใช้กับหญิงตั้งครรภ์มากมาย และทารกในครรภ์นั้นก็มีสุขภาพสมบูรณ์และมีอารมณ์ที่ดี มีแนวโน้มเลี้ยงง่ายและหลับนอนได้หลายชั่วโมง ยิ่งไปกว่านั้น พอนำมาใช้กับวัยเด็กๆ เด็กก็มีความสนุกสนาน ร่าเริง เพลิดเพลินกับเสียงเพลง และยังอยากเล่นดนตรีอีกด้วย เกิดเป็นการสร้างกิจกรรมให้แก่เด็กๆ ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และแน่นอนว่าพ่อแม่ผู้ปกครองก็จะเลือก music school in Bangkok เพื่อสนับสนุนให้เด็กได้ทดลองเรียน เล่นเครื่องดนตรีที่เขาสนใจ บทความจากเว็บไซต์ happyhomeclinic ได้แชร์ไว้ว่า ดนตรีบำบัดมีการแตกแขนงวิธีการที่หลากหลาย และจัดเป็นโปรแกรมที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น วิธีการต่างๆ ทางดนตรีบำบัดในรูปแบบเฉพาะที่มีการนำมาใช้ ได้แก่ Tomatis method หรือ Audio-Psycho-Phonology (APP) ของ Dr. Alfred Tomatis นายแพทย์ชาวฝรั่งเศษ ผู้บุกเบิกเรื่องการบำบัดด้วยเสียง (sound therapy) พัฒนาวิธีทดสอบการได้ยิน ประดิษฐ์หูอิเลคโทรนิกส์ ซึ่งสามารถปรับความถี่ของเสียงได้ และเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดเรื่อง Mozart effect ด้วย Mozart effect คือการศึกษาวิจัยเพื่อทดสอบทฤษฎีที่ว่า ดนตรีคลาสสิกสามารถเพิ่มความสามารถของสมองมากกว่าดนตรีชนิดอื่นๆ ผลพบว่าการฟังดนตรีคลาสสิกช่วยเพิ่มความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ได้ ซึ่งพบในดนตรีบรรเลง sonata for two pianos in D major (K.448) และ piano concerto No. 23 ( K.488) ของ Mozart คีตกวีชาวออสเตรีย และพบว่าดนตรีบรรเลง acroyali/ standing in motion ของ Yanni นักดนตรีชาวกรีก ก็มีผลเช่นเดียวกัน ดนตรี (music) คือ ลักษณะของเสียงที่ได้รับการจัดเรียบเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบ โดยมีแบบแผนและโครงสร้างชัดเจน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ 3 ด้านใหญ่ๆ คือ เพื่อความสุนทรีย์ เพื่อการศึกษา และเพื่อการบำบัดรักษา ดนตรี มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ สังคม และภูมิปัญญา โดยมีผลต่อการทำงานของสมองในหลายๆ ด้าน องค์ประกอบต่างๆ ทางดนตรี ก็สามารถให้ประโยชน์ที่แตกต่างกันไปเช่นเดียวกัน ดนตรีบำบัด (music therapy) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการนำดนตรี หรือองค์ประกอบต่างๆ ทางดนตรี มาประยุกต์ใช้เพื่อปรับเปลี่ยน พัฒนา และคงรักษาไว้ซึ่งสุขภาวะของร่างกาย จิตใจ สังคม และภูมิปัญญา โดยมีนักดนตรีบำบัดเป็นผู้ดำเนินการเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งไม่ใช่เป้าหมายในทางดนตรีศึกษา ผ่านกิจกรรมทางดนตรีต่างๆ อย่างมีรูปแบบโครงสร้างที่ชัดเจน มีหลักเกณฑ์ และระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ เป้าหมายของดนตรีบำบัดไม่ได้เน้นที่ทักษะทางดนตรี แต่เน้นในด้านพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ สังคม และภูมิปัญญา ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละคนที่มารับการบำบัด สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายบริบท ทั้งที่บ้าน สถานศึกษา สถานพยาบาลและศูนย์สุขภาพต่างๆ
 
 
 
 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที