Marnote

ผู้เขียน : Marnote

อัพเดท: 18 เม.ย. 2023 13.56 น. บทความนี้มีผู้ชม: 9258 ครั้ง

Being healthy is a must.


ใส่ใจอาหารและหลักโภชนาการเพื่อเพิ่มความสูงให้กับลูกน้อย

 
การเจริญเติบโตในวัยเด็กนั้นมีความสำคัญมากๆ พ่อแม่จึงให้ความสำคัญมาเป็นอันดับแรกเสมอ เลือกผลิตภัณฑ์ก็จะเลือกที่ดีที่สุด เห็นผลลัพธ์ได้ชัดเจน การได้เห็นลูกรักเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรงและสุขภาพดีสมบูรณ์ คือ สิ่งที่พ่อแม่ต้องการมากที่สุด ปัญหาเกณฑ์ความสูงของเด็กไทยและเด็กอาเซียนนั้น อาจจะไม่พัฒนาเท่าประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศญี่ปุ่นหรือเกาหลีใต้ สังเกตได้จากความสูงของนักกีฬาประเภทต่างๆ ที่สามารถแข่งกับชาวต่างประเทศอย่างประเทศทางยุโรปได้อย่างสูสีหรือใกล้เคียง อย่างที่เราเห็นในกีฬาบาสเก็ตบอล กีฬาวอลเลย์บอล ที่ต้องใช้ความสูงเป็นหลักหากจะชนะในเกมส์ แน่นอนว่าเทคนิคในการเล่นนั้นสำคัญไม่แพ้กัน แต่ถ้าเรามีข้อได้เปรียบทั้งความสูงและไหวพริบในการเล่นแล้วล่ะก็ เราสามารถคว้าแชมป์ได้อย่างแน่นอน
 
ความกังวลในเรื่องลูกจะไม่สูงนั้น พ่อแม่หลายคนคิดมาก เนื่องด้วยอาจจะเพราะกรรมพันธุ์ทางครอบครัวที่ไม่สูงมากนัก เด็กๆที่อยากสูงเองก็เครียดไปด้วย เพราะถ้าอยากประกอบอาชีพบางอาชีพ ที่ต้องใช้ความสูง อย่างเช่น นายแบบ นางแบบ แอร์โฮสเตส เมื่อเด็กไม่มีความสูงตามเกณฑ์ ก็อาจจะทำให้ไม่ได้ทำตามความฝันได้ ด้วยเหตุนี้พ่อแม่จึงได้เลือกเข้าปรึกษามืออาชีพอย่างคลินิกเพิ่มความสูงหรือสถาบันเพิ่มความสูงที่เข้าใจและช่วยในเรื่องการออกกำลังกาย การดูแลในเรื่องความสูง มีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลอย่างใกล้ชิด กิจกรรมต่างๆที่ถูกแบบมาเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก อาหารและโภชนาการคือส่วนจำเป็นที่ช่วยเสริมสร้างให้เด็กเจริญเติบโตและสูงขึ้น เว็บไซต์ synphaet ได้แชร์บทความที่น่าสนใจไว้ว่า แคลเซียม มีความสำคัญมากต่อมวลกระดูกและการขยายตัวของกระดูก โดยเฉพาะในวัยเด็กที่กำลังเจริญเติบโต และมีความสำคัญมากขึ้นในวัยรุ่นที่เริ่มมีช่วงโตเร็ว (growth spurt) อายุเฉลี่ยที่มีการสะสมแคลเซียมในอัตราสูงสุด คือ 14 ปี ในเพศชาย และ 12.5 ปี ในเพศหญิง โดยแคลเซียมที่รับประทานเข้าไปจะดูดซึมได้เพียงร้อยละ 30 ดังนั้น เด็กควรรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอกับความต้องการในแต่ละวัน วิตามินดี ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากอาหาร ช่วยในการเจริญเติบโต และยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์อันเป็นสาเหตุให้เกิดการสลายกระดูก หากขาดวิตามินดีจะส่งผลให้การดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสในทางเดินอาหารลดลง มวลกระดูกลดลง เด็กที่ขาดวิตามินดีรุนแรงอาจทำให้เป็นโรคกระดูกอ่อน (Rickets) ซึ่งจะทำให้ตัวเตี้ยและขาโก่งได้ การรับประทานวิตามินดีเสริม ในกรณีที่มีภาวะขาดวิตามินดีควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ โดยแพทย์จะเป็นผู้เลือกใช้ชนิดและปริมาณของวิตามินดีตามความเหมาะสมของรายบุคคลแต่ละราย และทำการตรวจติดตามระดับวิตามินดีในเลือดอย่างสม่ำเสมอ โปรตีน การกินอาหารที่มีโปรตีนและพลังงานเพียงพอมีความสำคัญต่อการขยายตัวของกระดูก เด็กที่เป็นโรคขาดอาหาร (protein energy malnutrition) จะมีความสูงและน้ำหนักน้อยกว่าปกติ กระดูกบางกว่าปกติ เด็กที่ขาดโปรตีน ระดับฮอร์โมน IGF-1 จะต่ำลง ฮอร์โมน IGF-1 มีความสำคัญต่อการขยายตัวและแบ่งตัวของเซลล์กระดูกบริเวณส่วนปลายของกระดูกยาว ดังนั้นโปรตีนที่เพียงพอจึงมีความจำเป็นต่อการเติบโตของกระดูก
 
 
 
 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที