เมื่อการบังคับคือการทำร้ายลูกให้รักตัวเองน้อยลง
พ่อแม่หลายๆคนในยุคนี้ ต้องตระหนักในเรื่องการบังคับให้ลูกหลานทำในสิ่งที่เราอยากทำ บังคับให้เป็นในสิ่งที่เราอยากเป็น และไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นใดๆจากลูกว่า สิ่งเหล่านั้น เขาต้องการมันจริงๆหรือไม่ และสิ่งเหล่านั้นทำร้ายเขาอย่างไรบ้าง เพราะหากหัวใจและความรู้สึกถูกทำร้ายซ้ำๆ เด็กๆจะเกิดความรักตัวเองน้อยลงขึ้นทุกวันๆ และนั่นอาจจะนำมาซึ่งปัญหาใหญ่ในอนาคต อย่างปัญหาสุขภาพทางจิต เช่น โรคซึมเศร้าในวัยเด็ก เมื่อเราวางแผนที่จะมีบุตร สิ่งที่เราต้องเริ่มคือ การฝึกใจให้ปล่อยวาง ไม่กำหนดและจำกัดชีวิตของลูก ให้เขาได้ลอง ได้เล่น ได้ทำในสิ่งที่ใจเขาเรียกร้องต้องการ นั่นคือรักจากพ่อแม่ที่บริสุทธิ์และพร้อมเป็นผู้ให้
การให้ลูกได้เลือกในสิ่งที่เขาอยากเรียน แม้บางครั้งพ่อแม่อาจตั้งคำถามในใจว่า ลูกเรียนไปแล้วจะได้อะไร จะนำมาใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคตอย่างไร ซึ่งในยุคสมัยที่พ่อแม่เป็นเด็ก ก็โดนตั้งคำถามเช่นนี้เช่นกัน และเราเองก็ผ่านพ้นมาได้ หลักสูตรการศึกษาหลากหลายที่ให้พ่อแม่ได้ทำความเข้าใจเพื่อเตรียมความพร้อมให้ลูกอย่าง Canadian international schools หรือจะเป็น International school in Bangkok และพ่อแม่ควรศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องสุขภาพจิตในวัยเด็ก ซึ่งเว็บไซต์ rama mahidol ได้แชร์บทความไว้อย่างน่าสนใจว่า สภาพชีวิตในปัจจุบัน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของภาวะสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมเป็นยุคของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่มีทั้งผลดีและผลเสีย ทำให้เราทุกคนต้องพยายามปรับตัวต่อสู้ดิ้นรนเพื่อจะได้อยู่กับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ แต่เนื่องจากความสามารถของแต่ละคนมีขอบขีดจำกัด บางครั้งเมื่อประสบปัญหา จึงทำให้เกิดความวิตกกังวล ท้อแท้ สิ้นหวัง เบื่อหน่าย นักสังคมวิทยาบางคนให้สมญายุคนี้ว่า “ยุคแห่งความวิตกกังวล” การมีสุขภาพที่ดีนั้น ย่อมหมายถึง ภาวะที่สมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจ ไม่มีความเจ็บไข้ได้ป่วย และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างดี ไม่มีความหวาดหวั่นพรั่นพรึง1 ศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ได้กล่าวว่า “สุขภาพจิต คือ สภาพชีวิตที่เป็นสุขมีอารมณ์มั่นคง สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงมากๆได้ มีสมรรถภาพในการทำงาน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยความพอใจ” การเรียนรู้เรื่องของจิตใจ ก็จะช่วยให้เข้าใจชีวิต เข้าใจตนเอง และผู้อื่นมากขึ้น สภาพจิตใจของแต่ละคนจะเป็นอย่างไร ปกติหรือไม่ พอที่จะประเมินได้ โดยการพิจารณาองค์ประกอบต่อไปนี้ ความต้องการ ความต้องการนี้แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แล้วแต่สภาพแวดล้อม ถ้าความต้องการได้รับการตอบสนอง ก็จะทำให้เกิดความพึงพอใจ ถ้าไม่ได้ก็เกิดความคับข้องใจ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาทั้งด้านร่างกายและจิตใจได้ เป้าหมายของชีวิต ทุกคนมีความคาดหวัง ตั้งเป้าหมายชีวิตของตนไว้ทำให้มีกำลังใจทำกิจกรรมการงานต่างๆ ถ้าเป้าหมายนี้เป็นจริง ก็จะทำให้รู้สึกพอใจ เป็นสุข ถ้าไม่เป็นไปตามนั้นก็จะผิดหวังและเป็นทุกข์ เป้าหมายนี้อาจจะมากจนทำให้เกิดความยากลำบากในการปรับตัวได้ การรู้จักตัวเองและยอมรับตัวเอง รู้ความสามารถ ความต้องการความสนใจ บุคลิกภาพ ปมเด่นปมด้อยของตน ยอมรับตัวเอง มีความเชื่อมั่น มีความหวังและรู้จักหาวิธีแก้ไขปรับปรุงตนเอง อดทนต่อปัญหา อุปสรรคต่างๆ
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที