Ballerina

ผู้เขียน : Ballerina

อัพเดท: 12 ม.ค. 2022 19.48 น. บทความนี้มีผู้ชม: 803 ครั้ง

วันนี้เราจะมาเรียนรู้ว่ารองช้ำคืออะไรและท่ากายภาพรองช้ำเพื่อรักษาอาการรองช้ำกัน


รองช้ำ คืออะไร และรักษาอย่างไร

ใครที่เป็นรองช้ำอยู่ คงต้องทรมานอยู่ไม่มากก็น้อย เพราะการยืนหรือการเดินเป็นกิจกรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และการที่ต้องมีอาการเจ็บฝ่าเท้าทุกครั้งที่เริ่มเดิน ก็คงเป็นเรื่องน่าเบื่อมากทีเดียว อาการรองช้ำสามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าทำการรักษาแต่เนิ่น และวันนี้เราจะมาเรียนรู้ว่ารองช้ำคืออะไรและท่ากายภาพรองช้ำเพื่อรักษาอาการรองช้ำกัน

รองช้ำ

 

รองช้ำ คืออะไร

รองช้ำ หรือโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ คือภาวะที่เส้นเอ็นใต้ฝ่าเท้ามีอาการอักเสบไปจนถึงเอ็นร้อยหวาย โดยมีสาเหตุอยู่หลายข้อ แต่หลักๆมักพบในผู้ที่มีอาชีพต้องยืนและเดินเป็นเวลานาน และใส่รองเท้าที่รับน้ำหนักได้ไม่ดี ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บบริเวณส้นเท้า เมื่อต้องยืนหรือเดิน และอาการจะเเสดงให้เห็นได้ชัดในตอนเช้าเมื่อลุกออกจากเตียง ซึ่งเป็นช่วงที่เส้นเอ็นบริเวณยังยึดอยู่ การลงน้ำหนักไปยังเท้าครั้งแรกของวันจึงมีอาการเจ็บมาก สำหรับผู้ที่เป็นรองช้ำมานานโดยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม หากเอกซเรย์จะพบว่ามีหินปูนงอกบริเวณกระดูกส้นเท้าด้วย

 

กลุ่มปัจจัยเสี่ยงโรครองช้ำ

อาการรองช้ำสามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ แต่เราจะมาทำความเข้าใจว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่เสี่ยงให้เกิดอาการรองช้ำ เพื่อจะได้หาวิธีป้องกันหรือหลีกเลี่ยงจากภาวะรองช้ำได้

  1. ผู้หญิง : หากเทียบกัลผู้ชายแล้วผู้หญิงมีไขมันบริเวณส้นเท้าที่บางกว่า นอกจากนี้เอ็น กล้ามเนื้อน่อง และฝ่าเท่ายังไม่แข็งแรงน้อยกว่า จึงเสี่ยงจะเป็นรองช้ำได้มากกว่าผู้ชาย
  2. ผู้สูงอายุ : อายุที่มากขึ้นจะทำให้พังผืดบริเวณฝ่าเท้ามีความยืดหยุ่นน้อยลง ส่งผลให้เกิดอาการรองช้ำได้
  3. ผู้ที่มีน้ำหนักมาก : น้ำหนักตัวที่มากจะทำให้ฝ่าเท้าต้องรับน้ำหนักมาก ทำให้เส้นเอ็นบริเวณเท้าทำงานหนักขึ้น ทำให้เกิดอาการรองช้ำได้เช่นกัน
  4. ผู้ที่มีอาชีพที่ต้องยืนหรือเดินมาก : การใช้เท้ามากๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ โดยไม่มีเวลาพักที่เพียงพอ เช่น นักวิ่งหรือพนักงานขายที่ต้องยืนขายของที่ต้องยืนเป็นเวลานานๆ พังผืดบริเวณฝ่าเท้าของคนกลุ่มนี้จะตึงมาก และกลายเป็นรองช้ำในที่สุด หากขาดการรักษา หรือการดูแลที่ถูกต้อง
  5. ผู้ที่ใส่รองเท้าพื้นแข็งหรือพื้นบาง : การใส่รองเท้าที่พื้นไม่ช่วยซัพพอทรับน้ำหนักบริเวณเท้าได้ดี ก็ทำให้บริเวณฝ่าเท้าต้องทำงานหนัก เป็นสาเหตุของอาการรองช้ำเช่นกัน
  6. ผู้ที่มีอุ้งเท้าสูงหรือแบนผิดปกติ : ทำให้รับน้ำหนักที่เท้าได้ไม่ดี เพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่ออาการรองช้ำ

 

7 ท่าบริหารสำหรับอาการรองช้ำ

การรักษาอาการรองช้ำ ไม่จำเป็นต้องถึงขั้นผ่าตัด เราสามารถบำบัดรักษาอาการรองช้ำด้วยตัวเองได้ง่ายๆที่บ้าน ด้วยการทำกายภาพบำบัดรองช้ำ ซึ่งการทำกายภาพบำบัดจะช่วยยืดเส้นบริเวณเท้า เพื่อลดอาการตึงของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ ช่วยให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลายจากการทำงานอย่างหนัก โดย 7 ท่าบริหารอาการรองช้ำ มีดังนี้

ท่าที่ 1

นั่งเหยียดขาทั้ง 2 ข้างไปข้างหน้า ใช้ผ้าคล้องบริเวณปลายเท้า จากนั้นดึงเข้าหาตัวจนรู้สึกว่าน่องด้านหลังตึง ยืดค้างไว้ 15 - 20 วินาทีต่อครั้ง ทำซ้ำ 5 - 10 ครั้ง

ท่าที่ 2 

ยืนหันหน้าเข้าหากำแพง โดยใช้มือยันกำแพงไว้ ถอยเท้าที่ต้องการยืดไว้ข้างหลังประมาณ 2 ก้าว จากนั้นย่อเข่าขาด้านหน้าลงโดยเข่าต้องไม่เลยปลายเท้า จนกว่าขาด้านหลังเหยียดตึง และส้นเท้าต้องติดพื้นตลอด เวลา ยึดจนรู้สึกว่าน่องตึง ยืดค้างไว้ 15 - 20 วินาทีต่อครั้ง ทำสลับทั้งขาซ้ายและขวา ข้างนึงทำอยู่ที่ 5 - 10 ครั้ง

ท่าที่ 3  

ท่านี้ควรใช้อุปกรณ์เสริม คือ ที่วางตัวที่จะมีปุ่มให้เราเหยียบ โดยเรานั่งอยู่บนเก้าอี้ และให้เท้าวางบนที่วางคลึงบริเวณฝ่าเท้าจนรู้สึก พังผืดบริเวณใต้ฝ่าเท้าคลายตัว

ท่าที่ 4 

นั่งห้อยขาลงพื้น โดยนำฝ่าเท้าข้างที่มีอาการปวดมาวางพาดบนหน้าตักอีกข้าง จากนั้นใช้มือยืดนิ้วเท้าโดยดึงให้กระดกขึ้นจนกว่าจะรู้สึกตึงบริเวณฝ่าเท้า ยืดค้างไว้ 15 - 20 วินาที ทำซ้ำ 5 - 10 ครั้ง

ท่าที่ 5 

นั่งห้อยขาลงพื้น จากนั้นกระดกข้อเท้าขึ้นลง 20 ครั้งต่อ 1 เซท ทำซ้ำ 3 เซท

ท่าที่ 6

ยืนโดยหาที่จับให้มั่นคงไว้ ป้องกันไม่ให้ล้มขณะทำกายภาพบำบัดท่านี้ กระดกปลายเท้าขึ้นในขณะที่ส้นเท้ายังติดพื้นอยู่ จากนั้นเปลี่ยนเป็นกระดกส้นเท้าขึ้นโดยให้ปลายเท้าติดพื้น ทำทีละข้าง ซ้ายขวาสลับกัน ข้างละ 20 ครั้งต่อ 1 เซท ทำซ้ำ 3 เซท  

ท่าที่ 7

ใช้ฝ่าเท้าเหยียบผ้าขนหนู จากนั้นขยุ้มนิ้วเท้าแล้วปล่อย ทำ 20 ครั้งต่อ 1 เซท ทำซ้ำ 3 เซท

 

ท่าบริหารสำหรับอาการรองช้ำ

ทางเลือกอื่นสำหรับรักษาอาการรองช้ำ นอกจากการกายภาพบำบัดรองช้ำ

จริงอยู่ที่กายกายภาพบำบัดรองช้ำ สามารถทำง่ายๆได้ที่บ้าน แต่ถ้าหากเราปล่อยให้อาการรองช้ำเป็นนานจนเรื้อรัง การกายภาพบำบัดรองช้ำเองที่บ้านก็อาจไม่เห็นผล ดังนั้นต้องมองหาการรักษาด้วยวิธีอื่น แต่การรักษาอาการรองช้ำ ก็ยังคงเป็นการกายภาพบำบัดอยู่ แต่จะเป็นการรักษาคววบคู่กับการใช้อุปกรณ์โดยมีนักกายภาพบำบัดคอยประกบด้วย โดยเครื่องมือที่ใช้ร่วมกับการกายภาพบำบัดรองช้ำ มีดังนี้

  1. เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulation) : เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นให้กล้ามเนื้อหดและคลายตัว ลดความตึงของกล้ามเนื้อ และช่วยลดอาการปวด
  2. เครื่องคลื่นกระแทก (Shock wave) : เป็นอุปกรณ์ที่จะสร้างคลื่นกระแทกไปบนพังผืดของฝ่าเท้า กระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ และช่วยลดอาการปวดบริเวณฝ่าเท้าได้
  3. คลื่นเหนือเสียง (Ultrasound Therapy) : ใช้คลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อลดอาการปวดและอักเสบของเนื้อเยื่อ ช่วยคลายกล้ามเนื้อที่เกร็งอยู่
  4. เครื่องเลเซอร์กำลังสูง (High Power Laser) : อุปกรณ์ที่ยิงแสงเลเซอร์กระตุ้นให้บริเวณฝ่าเท้าหลั่งสารลดปวด ลดอาการอักเสบเฉียบพลันของเส้นเอ็น และยังช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซมของเส้นเอ็นส่วนนั้นๆ
  5. คลื่นกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (Peripheral Magnetic Stimulator หรือ PMS) : เป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นเส้นประสาท ลดอาการปวด อาการชา รักษาการทำงานที่ผิดปกติของปลายประสาท

อุปกรณ์เหล่านี้ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าอาการรองช้ำของคนไข้แต่ละราย ต้องใช้อุปกรณ์ตัวไหนช่วยเสริมการทำกายภาพบำบัด ไม่ควรหาซื้ออุปกรณ์เหล่านี้มาใช้เอง การกายภาพบำบัดรองช้ำควบคู่กับอุปกรณ์เหล่านี้ ควรทำโดยอยู่ใต้การดูแลควบคุมของแพทย์ และนักกายภาพบำบัด

การกายภาพบำบัดรองช้ำ

 

การเลือกสถานที่สำหรับรักษาอาการรองช้ำ

อย่างที่ทราบการทำกายภาพบำบัดรักษาอาการรองช้ำควบคู่กับอุปกรณ์ทางการแพทย์ ต้องเลือกสถาน พยาบาลที่มีอุปกรณ์ครบครัน เพื่อให้มีตัวเลือกในการใช้รักษาควบคู่กับการทำกายภาพบำบัดรองช้ำอย่างหลากหลาย โดยเรามีสถานพยาบาลแนะนำคือ คลีนิคกายภาพบำบัด สรีรารัก ที่มีทั้งบุคลากร และอุปกรณ์ที่เพียบพร้อม มั่นใจได้ว่าสามารถรักษาอาการรองช้ำได้อย่างแน่นอน

 

สรุป

จากที่กล่าวมาข้างต้น อาการรองช้ำควรทำการรักษาแต่เนิ่นๆ หากพบว่าตัวเองอาจอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นรองช้ำหรือ มีอาการปวดบริเวณฝ่าเท้า ก็สามารถเริ่มทำกายภาพบำบัดรองช้ำได้เองที่บ้าน การทำกายภาพบำบัดรองช้ำ ไม่จำเป็นต้องเป็นรองช้ำก่อนถึงทำได้ เราสามารถทำได้เลย เพราะการทำกายภาพจะช่วยยืดเส้น ผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่เหนื่อยล้า และถ้าการทำกายภาพบำบัดรองช้ำเองที่บ้านไม่สามารถช่วยบรรเทาอาการ ปวดได้ ก็ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาให้หายเร็วที่สุด


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที