เลสิค ต้องสายตาสั้นเท่าไหร่ถึงทำได้?
ผู้ที่กำลังประสบภาวะค่าสายตาสั้น ยาว เอียง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการมองเห็นและการใช้ชีวิตประจำวัน จึงมีความจำเป็นต้องใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ แต่ว่าในบางครั้งการใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ก็มีความลำบากยุ่งยาก ทำให้ไม่อยากใส่หรืออยากจะรักษาค่าสายตาให้กลับมามองเห็นอย่างปกติได้อย่างถาวร การทำเลสิค ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยรักษาให้หายได้ แต่ว่าสายตาสั้นเท่าไหร่ควรทำเลสิค ในบทความนี้จะมีข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการรักษาค่าสายตาสั้นด้วยเลสิคให้กับผู้อ่าน
เลสิคคืออะไร
ก่อนที่จะทราบคำตอบของ
สายตาสั้นเท่าไหร่ควรทำเลสิค มาศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเลสิคกันค่ะว่าคืออะไร มีประโยชน์สำหรับการรักษาค่าสายตาอย่างไร รวมถึงมีข้อจำกัดอะไรบ้าง
การทำเลสิค (LASIK) เป็นการรักษาปัญหาภาวะสายตาผิดปกติไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น ยาว เอียงด้วยเลเซอร์เพื่อปรับความโค้งของกระจกตาให้มีความสมดุลและเหมาะสม โดยมีระยะเวลาในการทำไม่นาน อีกทั้งยังมีผลข้างเคียงไม่มากอีกด้วย
สายตาสั้นเท่าไหร่ควรทำเลสิค
การทำเลสิคนอกจากเรื่องค่าสายตาแล้วยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเรื่องอายุ สภาพร่างกาย รวมถึงโรคประจำตัวต่าง ๆ แต่ในส่วนของเรื่องค่าสายตา ค่าสายตาสั้นเท่าไหร่ควรทำเลสิค ไม่ว่าจะมีค่าสายตาสั้น ยาว เอียง ก็สามารถเข้ารับการทำเลสิคได้ตั้งแต่ 75 - 1200 โดยขึ้นอยู่กับประเภทเลสิคที่เลือกทำ แต่เลสิคบางประเภทจะมีข้อจำกัดต่าง ๆ รวมถึงเรื่องค่าใช้จ่ายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ใครบ้างที่เหมาะกับการทำเลสิค
-
ผู้ที่มีค่าสายตาคงที่อย่างน้อย 1 ปี และมีอายุ 18 ปีขึ้นไป
-
สำหรับค่าสายตาสั้นเท่าไหร่ควรทำเลสิค สามารถเข้ารับการทำเลสิคได้ตั้งแต่ -0.75D ขึ้นไปจนถึง -12.00D สายตายาวไม่เกิน +6.00D และสายตาเอียงไม่เกิน -5.00D
-
ไม่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์หรือการให้นมบุตร
-
ไม่เป็นโรคเกี่ยวกับดวงตา เช่น โรคจอประสาทตาเสื่อม ตาแห้งรุนแรง กระจกตาย้วย ต้อหิน ต้อกระจก เป็นต้น
-
ไม่เป็นโรคที่มีผลต่อการหายของแผลรวมถึงโรคที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
-
ผู้ที่รู้สึกลำบากในการใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์ในการใช้ชีวิตประจำวัน
ใครที่ไม่ควรเข้ารับการทำเลสิค
-
เมื่อทราบแล้วว่าสุขภาพดวงตาหรือสายตาสั้นเท่าไหร่ควรทำเลสิค แล้วสายตารวมถึงสภาพตาแบบไหนบ้างที่ไม่ควรทำเลสิค มีดังนี้
-
ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี หรือผู้ที่มีค่าสายตาไม่คงที่
-
ผู้ที่มีค่าสายตาสั้นรวมเอียงแล้วมากกว่า -12.00D สายตายาวมากกว่า +6.00D
-
อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
-
เป็นโรคเกี่ยวกับดวงตา เช่น โรคจอประสาทตาเสื่อม ตาแห้งรุนแรง กระจกตาย้วย ต้อหิน ต้อกระจก เป็นต้น
-
เป็นโรคที่มีผลต่อการหายของแผลรวมถึงโรคที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น เบาหวาน SLE เป็นต้น
ข้อจำกัดของเลสิคแต่ละประเภท
การทำเลสิคมีรูปแบบการทำอยู่หลัก ๆ 4 ประเภท โดยแต่ละประเภทก็จะมีข้อจำกัดต่างกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องอายุ สุขภาพร่างกาย รวมถึงค่าสายตาต่าง ๆ ดังนั้นเพื่อทราบสายตาสั้นเท่าไหร่ควรทำเลสิคประเภทไหน ทางบทความได้สรุปข้อมูลเกี่ยวกับประเภทการทำเลสิคไว้ ดังนี้
ReLEx SMILE
ReLEx SMILE คือ เทคโนโลยีการผ่าตัดเลสิคล่าสุดโดยในชั้นตอนการผ่าตัดจะไม่ใช้ใบมีด แต่ใช้ Femtosecond Laser ในการแยกชั้นกระจกตาเป็นรูปเลนส์และดึงเลนส์นั้นผ่านช่องแผลขนาด 2-4 มม. แล้วปิดชั้นกระจกตากลับที่เดิม
ข้อดี
-
สามารถแก้ไขปัญหาสายตาสั้นได้ถึง -10.00 D และสายตาเอียงได้ถึง -5.00 D
-
มีความแม่นยำสูง และใช้เวลาผ่าตัดน้อย
-
แผลในการผ่าตัดมีขนาดเล็ก จึงทำให้ตาแห้งน้อย ผลข้างเคียงหลังการผ่าตัดน้อยกว่าเลสิคประเภทอื่น และใช้เวลาพักฟื้นไม่นาน
ข้อจำกัด
-
ในปัจจุบันยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาสายตายาวได้
-
มีค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดค่อนข้างสูง
Bladeless FemtoLASIK
Bladeless FemtoLASIK หรือที่เรียกว่าเฟมโตเลสิค เป็นการผ่าตัดที่ใกล้เคียงเลสิคดั้งเดิม แต่ในขั้นตอนการผ่าแยกชั้นกระจกตาจะใช้ Femtosecond Laser แทนการใช้ใบมีด หลังจากใช้เลเซอร์แยกชั้นกระจกตาแล้วเปิดออกมาแล้ว จากนั้นใช้ Excimer Laser ในการปรับแต่งความโค้งของกระจกตาและปิดชั้นกระจกตากลับที่เดิม
ข้อดี
-
สามารถแก้ไขปัญหาสายตาสั้นได้ถึง -10.00 D สายตายาวได้ถึง +5.00 D และสายตาเอียงได้ถึง -5.00 D
-
มีการระคายเคืองน้อยกว่าการทำ PRK และการผ่าเลสิคแบบใช้ใบมีด
-
หลังจากการผ่าตัดมีระยะพักฟื้นตัวเร็ว
ข้อจำกัด
-
มีรอยแผลจากการผ่าตัดแยกชั้นกระจกตา
-
หลังจากการผ่าแล้วดวงตาอาจจะมีอาการตาแห้งมากกว่า ReLEx SMILE
-
มีโอกาสที่ชั้นกระจกตาเคลื่อนจากการกระทบอย่างรุนแรงที่ดวงตา
MicrokeratomeLASIK
MicrokeratomeLASIK คือ การผ่าตัดเลสิคแบบดั้งเดิม โดยมีการใช้ใบมีด Microkeratome แยกชั้นกระจกตาแล้วใช้ Excimer Laser ในการปรับแต่งความโค้งของกระจกตาให้มีรูปทรงที่เหมาะสม เมื่อปรับแต่งเรียบร้อยแล้วก็จะปิดกระจกตากลับเข้าที่เดิม
ข้อดี
-
สามารถแก้ไขปัญหาสายตาสั้นได้ถึง -10.00 D สายตายาวได้ถึง +5.00 D และสายตาเอียงได้ถึง -5.00 D
-
มีความระคายเคืองตาน้อยกว่าการทำ PRK
-
หลังจากการผ่าตัดมีระยะพักฟื้นตัวเร็ว
ข้อจำกัด
-
มีรอยแผลบนกระจกตาที่เกิดจากการแยกชั้นกระจกตา
-
มีโอกาสที่ชั้นกระจกตาเคลื่อนที่หากได้รับการกระทบอย่างรุนแรงที่ดวงตา
-
ความแข็งแรงของเนื้อเยื่อกระจกตาลดลง
PRK (Photorefractive Keratectomy)
PRK เป็นการรักษาปัญหาค่าสายตาที่มีมานานแล้วด้วยการลอกกระจกตาชั้นนอกออกแล้วใช้ Excimer Laser ในการปรับแต่งกระจกตาให้มีความโค้งที่เหมาะสม แล้วใช้คอนแทคเลนส์ใส่ทับผิดแผลเพื่อให้ผิวที่ลอกออกไปโตใหม่อีกครั้งประมาณ 3-5 วันแล้วค่อยถอดคอนแทคเลนส์ออก
ข้อดี
-
สามารถแก้ไขปัญหาสายตาสั้นได้ถึง -6.00 D สายตายาวได้ถึง +5.00 D และสายตาเอียงได้ถึง -6.00 D
-
มีข้อจำกัดการทำน้อยกว่าเลสิค โดยผู้ป่วยบางโรค เช่น ต้อหิน สามารถเข้ารับการรักษานี้ได้โดยต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ก่อน รวมถึงผู้ที่มีตาเล็ก ภาวะตาแห้ง ก็สามารถเข้ารับการรักษาโดย PRK ได้ด้วยเช่นกัน
ข้อจำกัด
-
หลังจากการผ่าตัดแล้วยาชาหมดฤทธิ์จะมีผลข้างเคียงต่าง ๆ เช่น เจ็บตา ตาระคายเคือง สู้แสงไม่ได้ เป็นต้น
-
ใช้เวลาพักฟื้นนานกว่าการทำเลสิค
-
มีโอกาสการติดเชื้อมากกว่าเลสิคหากไม่ได้รับการดูแลอย่างดี
ICL (Implantable Collamer Lens)
ICL เป็นการผ่าตัดเพื่อแก้ไขค่าสายตาผิดปกติโดยใส่เลนส์เสริมที่ทำจาก Collamer ซึ่งมีคุณสมบัติยืดหยุ่น ใส่เข้าไปด้านหน้าเลนส์แก้วตาเพื่อช่วยเลนส์ธรรมชาติทำงาน โดยที่ไม่มีความจำเป็นต้องถอดเลนส์
ข้อดี
-
สามารถแก้ไขปัญหาสายตาสั้นได้ถึง -18.00 D สายตายาวได้ถึง +18.00 D และสายตาเอียงได้ถึง -6.00 D
-
เลนส์มีการออกแบบให้เหมาะสมกับค่าสายตาของแต่ละคนอย่างแม่นยำโดยเฉพาะ และสามารถคาดการณ์ค่าสายตาหลังจากการใส่เลนส์เสริมได้
-
เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถรักษาค่าสายตาด้วยการทำเลสิคได้ เช่น สายตาสั้นมาก กระจกตาบาง หรือ ต้อหิน เป็นต้น
-
หลังจากการทำตาจะไม่ค่อยแห้ง และไม่ทำลายเนื้อกระจกตา และสามารถผ่าตัดเอาเลนส์เสริมออกได้
ข้อจำกัด
-
มีราคาการทำสูงกว่าการทำเลสิคประเภทอื่น ๆ
จะรู้ได้อย่างไรว่าเราเหมาะกับการทำเลสิคแบบไหน
หากต้องการรักษาสายตาด้วยการผ่าตัด ไม่ว่าจะทำเลสิคประเภทไหน จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการทำเลสิคแต่ละประเภท และทำการสำรวจร่างกายของตนเองก่อนว่าสามารถเข้ารับการผ่าตัดเลสิคประเภทนั้น ๆ ได้หรือไม่ เช่น มีโรคที่เกี่ยวกับตาไหม รวมถึงค่าสายตาของตนมีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งสายตาสั้นเท่าไหร่ควรทำเลสิค ก็ควรที่จะขอคำปรึกษาและรับฟังคำแนะนำจากจักษุแพทย์ว่าตนเองเหมาะกับการผ่าตัดเลสิคประเภทไหน และทำการรักษาต่อไป
ข้อสรุป
การทำเลสิคประเภทต่าง ๆ เพื่อที่จะรักษาค่าสายตาให้กลับมาเป็นปกติ ซึ่งในกรณีที่มีข้อสงสัยอย่าง สายตาสั้นเท่าไหร่ควรทำเลสิค ควรทำปรึกษาจากจักษุแพทย์ที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญในการผ่าตัด และทำการตรวจสภาพตาและเข้ารับการรักษาต่อไป โดยสำหรับการรักษาค่าสายตาด้วยการทำเลสิคประเภทต่าง ๆ ขอแนะนำให้ตรวจสายตาและทำเลสิคกับทางสถานพยาบาลหรือคลินิกที่สามารถรักษาค่าสายตาได้อย่างปลอดภัย และมีจักษุแพทย์คอยให้คำปรึกษาแนะนำในการผ่าตัดเลสิค
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที