เมื่อคู่รักพร้อมสร้างครอบครัว ก็ถึงเวลาที่จะต้องวางแผนครอบครัวและทางการเงิน แน่นอนการแต่งงานเป็นจุดเริ่มต้นในการใช้ชีวิตคู่ ซึ่งคู่รักก็จะวางแผนในการจัดหาสถานที่จัดงาน พิมพ์การ์ดแต่งงาน ตระเวนเชิญแขกตามหาชุดแต่งงานที่ชอบ แพลนธีมงาน เซ็ทวันและเวลา ฯลฯ แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเลย ก็คือการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยและไม่ใช่เป็นการไม่ไว้ใจกันและกัน การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน นั้นไม่ต่างอะไรกับการตรวจสุขภาพประจำปี เป็นการเตรียมพร้อมที่จะมีครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ
หลายคนอาจคิดว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน แต่จริง ๆ แล้วนั้น มันเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรจะมองข้าม และอย่าคิดว่าเป็นเรื่องของการไม่ไว้ใจกันและกัน เพราะแม้ว่าคู่รักจะไม่มีพฤติกรรมเสียงใด ๆ ก็ตาม แต่เชื้อโรคหรือพาหะต่าง ๆ ที่อาจจะมีนั้น มันจะแฝงอยู่ในร่างกายซึ่งจะไม่มีทางรู้ได้เลย ถ้าไม่มีการตรวจเช็คสุขภาพ ดังนั้นการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานจึงมีความสำคัญยิ่ง เพราะสามารถป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่คู่สมรส หรือ ลูกน้อยที่จะถือกำเนิดขึ้นมาในอนาคต การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานดีต่อคู่สมรสในด้านต่อไปนี้
- เพื่อสกัดกั้นการส่งผ่านโรคสู่คนที่เรารัก ถ้าโรคนั้นสามารถติดต่อกันผ่านทางเพศสัมพันธ์ ดังนั้นถ้าได้รู้ก่อนก็สามารถรักษาให้หายก่อนได่
- เพื่อตรวจความพร้อมของคุณแม่มือใหม่ เพื่อลดความเสียงในการถ่ายทอดสู่ลูกน้อย สามารถปรึกษาแพทย์ เพื่อให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสมที่จะตั้งครรภ์
- เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยที่จะมีในอนาคต ควรจะมีการตรวจเลือดเพื่อความมั่นใจว่าจะไม่มีโรคที่จะ ถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากแม่สู่ลูกน้อยได้
สำหรับการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน แพทย์จะทำการซักประวัติโดยละเอียดของคู่สมรส ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการตรวจ ซึ่งประกอบไปด้วย
แพทย์จะตรวจดูความสมบูรณ์ของร่างกายคู่บ่าวสาว ได้แก่ การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต ตรวจการทำงานของระบบหายใจ การทำงานของหัวใจ นอกจากการตรวจร่างกายทั่วไปแล้ว ก็ควรจะมีการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด บี (HBs AG) เพราะโรคนี้ติดต่อกันทางเลือด น้ำอสุจิ น้ำหล่อลื่น สารคัดหลั่งต่าง ๆ ของร่างกาย และควรมีการตรวจเชื้อเอชไอวี (HIV) ซึ่งจะทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เราไม่สามารถสู้กับโรคทั้งหลายเข้าสู่ร่างกายได้ ส่วนโรคซิฟิลลิส (Syphilis) ก็เป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดสู่บุตรเช่นกันแฃะก่อให้เกิดอาการพิการได้
จะมีการตรวจดูกรุ๊ปเลือด ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงที่นำไปสู่ภาวะเสียงต่อการเป็นโลหิตจาง ตรวจภูมิต้านทานที่ควรมี เช่นภูมิต้านทานหัดเยอรมัน ไวรัสตับอักเสบปี โดยเฉพาะผู้หญิงที่อายุเกิน 35 ปี หากมีโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไทรอยด์ ซึ่งเป็นอันตรายขณะตั้งครรภ์หากไม่ได้ควบคุมหรือดูแลอย่างเหมาะสม เพราะบางโรคไม่สามารถทานยาได้ในขณะตั้งครรภ์ ตรวจโรคทางพันธุกรรมโดยเฉพาะธาลัสซีเมียที่คนไทยมีภาวะแฝงจากโรคนี้ถึง 45% อีกทั้งควรจะมีการตรวจความพร่องเอนไซม์ (F-6-PD) ซึ่งคือการที่เม็ดเลือดแดงแตก เกิดอาการตัวซีดตัวเหลือง โรคนี้ส่งผ่านทางพันธุกรรม
สำหรับหญิง เพื่อดูความปกติของมดลูกและรังไข่ ตรวจอุ้งเชิงกรานที่มีผลโดยตรงต่อการตั้งครรภ์ และการคลอด รวมทั้งดูว่ามีเนื้องอกมดลูก ช็อกโกแลตซีสต์ และความผิดปกติต่างๆ เกิดขึ้นหรือไม่ เพราะมีผลต่อการตั้งครรภ์โดยตรงเช่นกัน รวมทั้งการตรวจหาเซลล์มะเร็งปากลูกเมื่อถึงวัย ผู้ที่มีความเสียงคือผู้ที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ แต่ถ้าหากยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ แต่มีอายุ 21 ปีขึ้นไปก็ควรมีการตรวจค้นหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกร่วมด้วย อีกทั้งมีการตรวจมะเร็งเต้านม เนื่องจากมารดาทีไม่เคยตั้งครรภ์ หรือมารดาที่มีบุตรเป็นคนแรกตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป จะมีความเสียงเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น
สำหรับชาย เพื่อดูความสมบูรณ์ในเชื้ออสุจิ ตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก และภาวะหย่อนสมรรถพาพทางเพศ เพราะปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อชีวิตครอบครัวทั้งสิ้น
ตรวจอัลตร้าซาวด์ เตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร
การตรวจอัลตร้าซาวด์ นั้น ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์เป็นสำคัญ การตรวจอัลตราซาวด์นั้นเป็นไปเพื่อ
4.1 ตรวจดูสุขภาพของมดลูกและรังไข่
4.2 ตรวจดูพยาธิสภาพที่เป็นอุปสรรคต่อการตั้งครรภ์ เช่นเนื้องอกมดลูก ช็อกโกแลตซีสต์ที่รังไข่ ประจำเดือนมากผิดปกติ มีลิ่มเลือดเป็นต้น
4.3 ตรวจดูการทำงานของรังไข่ โดยเฉพาะในผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ไข่ไม่ตก
หากละเลยและไม่ให้ความสำคัญของการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานนั้น อาจจะนำมาซึ่งปัญหาต่าง ๆ เช่น
สำหรับคู่รักที่ต้องการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน เพื่อตรวจหาความเสี่ยงพื้นฐาน เพื่อความมั่นใจ ปลอดภัย และเช็กความพร้อมก่อนเริ่มต้นชีวิตครอบครัวได้ครบภายโปรแกรมเดียว ทางโรงพยาบาลรัฐและเอกชนต่างๆ ก็จะมีการแนะนำ โปรแกรมการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานที่มีคุณภาพสมราคา โปรแกรมการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานนั้น นอกเหนือจากการตรวจสุขภาพทั่ว ๆ ไป แล้ว ควรจะรวมถึงการตรวจความสมบูรณ์ของไข่ในเพศหญิง การตรวจความแข็งแรงของเชื้ออสุจิในเพศชาย การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และตรวจโรคที่อาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ เป็นต้น
นอกเหนือจากโรงพยาบาลรัฐและเอกชนต่าง ๆ ซึ่งมีเสนอแนะโปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานนั้นยังมี ศูนย์ตรวจสุขภาพ (Check Up Center) ซึ่งให้บริการตรวจสุขภาพหลากหลาย รวมทั้งการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานเช่นกัน มีการออกใบรับรองแพทย์ โดยให้บริการด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยและระบบบริการที่ได้มาตรฐาน เช่น ห้องปฎิบัติการที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 15189 รวมถึงการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลตามมาตรฐาน HA จึงให้ผลกาตรวจที่ถูกต้องแม่นยำและสามารถทราบผลการตรวจได้อย่างรวดเร็ว
คำแนะนำก่อนการตรวจสุขภาพนั้น ควรที่จะงดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิดอย่างน้อย 10-12 ชั่วโมงก่อนการตรวจ (ยกเว้นน้ำเปล่าดื่มได้) และควรมีการพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมง นอกเหนือจากนั้นก็จะเป็นไปตามขั้นตอนของแต่ละสถานพยาบาลที่เลือกนั้น ๆ
สุขภาพที่ดีคือรากฐานของการเริ่มต้นชีวิตคู่ที่ยั่งยืน ดังนั้นควรให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน เพราะการพบแพทย์ในการตรวจหาความผิดปกติ ตั้งแต่ก่อนมีอาการหรือก่อนที่โรคจะลุกลาม จะทำให้การรักษาโรคในระยะเริ่มต้นนั้นจะได้ผลดีกว่า สุขภาพที่ดีเปรียบได้กับของขวัญที่มีค่าอันยิ่งใหญ่การสร้างครอบครัวถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน ดังนั้นทั้งสองฝ่ายควรร่วมรับผิดชอบร่วมกันก่อนการแต่งงาน ด้วยการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที