โรคตาบอดสีเป็นโรคที่พบได้น้อย จึงทำให้หลาย ๆ คนอาจไม่ทราบหรือเข้าใจอาการของโรคตาบอดสีผิดไป ไม่ว่าจะภาพที่คนตาบอดสีเห็น ต่างจากคนปกติเห็นหรือไม่ หรือในคนตาบอดสี เห็นสีอะไรกันแน่ สีที่คนตาบอดสีเห็นจะใช่สีขาวดำหรือไม่ โรคตาบอดสีเกิดจากพันธุกรรมเพียงอย่างเดียวใช่ไหม หากเป็นแล้วไม่สามารถรักษาได้แน่นอนหรือไม่ ในบทความนี้จะพูดถึงตั้งแต่โรคตาบอดสีคืออะไร อาการตาบอดสีเกิดจากสาเหตุใด ตาบอดสีมีกี่ประเภท ปัญหาของคนตาบอดสี รวมถึงตาบอดสีรักษาได้ไหมกันค่ะ
Color Blindness หรือ ตาบอดสี คือภาวะพร่องการมองเห็นสี ในบางคนอาจเรียกภาวะนี้ว่าโรคตาบอดสีค่ะ ผู้ที่เป็นโรคตาบอดสี อาการคือไม่สามารถมองเห็นสีบางสีได้ชัดเจน หรือการมองเห็นสีบางสีผิดเพี้ยนไป แต่การมองเห็นภาพในผู้ที่เป็นโรคตาบอดสียังสามารถมองเห็นได้ชัดเจนเช่นเดียวกับคนปกติค่ะ โดยโรคตาบอดสีสามารถแบ่งประเภทของตาบอดสีได้หลายประเภท และยังสามารถวัดระดับความรุนแรงของตาบอดสีได้อีกด้วย
ก่อนจะไปดูถึงปัจจัยและสาเหตุที่ทำให้ตาบอดสี เราควรจะมารู้จักสีที่ตามนุษย์มองเห็นกันก่อนค่ะ ทราบหรือไม่ว่าสีที่เรามองเห็น ไม่ใช่สีจากวัตถุ แต่เป็นการสะท้อนของแสงที่ความยาวคลื่นต่าง ๆ เมื่อแสงกระทบเข้าที่วัตถุ ตัววัตถุนั้นก็จะทำการดูดกลืนแสง และสะท้อนแสงที่ไม่ได้ถูกดูดกลืนออกมา เมื่อตาเราได้รับแสงที่สะท้อนออกมาจากวัตถุนั้นสมองจะทำการแปรข้อมูลที่ได้รับและทำให้เรารู้ถึงสีนั่นเองค่ะ
หากให้อธิบายเจาะลึกกว่านี้เราอาจต้องทราบถึงภายในโครงสร้างของตาก่อน ดวงตาของมนุษย์ประกอบไปด้วยหลาย ๆ ส่วน ได้แก่ กระจกตา รูม่านตา เลนส์ตา จอประสาทตา ปกติแสงจะผ่านเข้าจากกระจกตา และแสงจะมาตกกระทบบริเวณจอประสาทตาค่ะ โดยบริเวณจอประสาทตาก็ยังมีเซลล์รับแสงอีก 2 ชนิด คือเซลล์รูปแท่ง (Rod cells) และเซลล์รูปกรวย (Cone cells) ซึ่งเซลล์รูปแท่งจะมีหน้าที่เรื่องการมองเห็นในที่มืด ส่วนเซลล์รูปกรวยจะทำหน้าที่เรื่องการมองสีและแสงในที่สว่างค่ะ
มาถึงจุดนี้อาจพอเดาได้แล้วบ้างว่าถ้าหากเซลล์รูปกรวยที่ทำหน้าที่เรื่องการมองเห็นสีเกิดความผิดปกติ ก็น่าจะส่งผลถึงตาบอดสีด้วย คำตอบคือใช่ค่ะ เซลล์รูปกรวยประกอบไปด้วยเซลล์รับแสงสีที่ต่างกันอีก 3 ชนิดคือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งแต่ละสีมีความยาวคลื่นต่างกัน ดังนั้นเซลล์รับแสงนี้จะสามารถรับความยาวคลื่นที่ต่างกันของสีได้ เมื่อเซลล์รูปกรวยสีใดสีหนึ่งทำงานผิดปกติ จึงทำให้การรับรู้สีเกิดผิดเพี้ยนไปต่างจากคนปกติค่ะ
สำหรับคำถามในใจหลายคนว่าตาบอดสีถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือไม่ คำตอบคือใช่ค่ะ และยังเป็นสาเหตุหลักของโรคตาบอดสีอีกด้วย และมักจะพบในเพศชายได้บ่อยกว่าเพศหญิง เนื่องจากโรคตาบอดสีสามารถถ่ายทอดบนโครโมโซม X และการเกิดโรคตาบอดสี จำเป็นต้องมีโครโมโซม X ที่มีความผิดปกติครบทั้งสองตัวในเพศหญิงจึงจะแสดงอาการโรคตาบอดสี แต่สำหรับเพศชายที่มีโครโมโซม XY ดังนั้นเมื่อได้รับโครโมโซม X ที่ผิดปกติมาเพียงตัวเดียวก็สามารถเกิดโรคตาบอดสีได้ทันที
เมื่ออายุมากขึ้น เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายก็เริ่มเสื่อมสภาพลงไว้เว้นแต่ดวงตา
เช่น โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคต้อหิน โรคต้อกระจก
เช่น โรคทางสมอง (โรคอัลไซเมอร์ โรคพากินสัน) โรคเบาหวาน
เช่น การเกิดอุบัติเหตุบริเวณดวงตา ผลช้างเคียงจากยารักษาโรคบางชนิด การที่ดวงตาสัมผัสกับสารเคมีบางชนิดเป็นระยะเวลานาน เป็นต้น
อย่างที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่าจอประสาทตา ซึ่งเป็นบริเวณที่แสงเข้ามากระทบก่อนส่งสัญญาณไปที่สมองเพื่อแปรผลนั้นมีเซลล์รับแสงอีก 2 ชนิดคือเซลล์รูปกรวยและเซลล์รูปแท่ง หากเซลล์รับแสงนี้มีปัญหาหรือความผิดปกติขึ้นก็จะทำให้การรับรู้สีแตกต่างจากคนปกติ โดยเซลล์รับแสงที่เกิดปัญหาต่างกันก็จะแสดงถึงอาการตาบอดสีที่แตกต่างกัน สามารถจัดกลุ่มตาบอดสีได้ 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
ตาบอดสีที่พบบ่อย คือตาบอดสีแดง - เขียวค่ะ โดยมักพบตั้งแต่กำเนิด หรือก็คือเป็นกรรมพันธุ์ที่ได้รับมาจากพ่อหรือแม่นั่นเอง ผู้ที่มีตาบอดสีแดง ตาบอดสีเขียวนี้จะแยกสีแดงกับสีเขียวได้ยาก หรืออาจแยกไม่ออกเลย ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของโรคตาบอดสีแดง - เขียวนี้ได้อีก 4 ชนิดตามจุดที่เซลล์รับแสงผิดปกติ คือ
ตาบอดสีน้ำเงินและตาบอดสีเหลืองเป็นประเภทของตาบอดสีที่พบได้น้อยกว่าตาบอดสีแดงและตาบอดสีเขียว และมักจะพบจากโรคที่เกิดขึ้นในภายหลัง ผู้ที่เป้นโรคตาบอดสีน้ำเงิน - เหลืองจะแยกสีน้ำเงินออกจากสีเขียว หรือแยกสีเหลืองออกจากสีแดงได้ยาก สามารถแบ่งประเภทของตาบอดสีชนิดนี้ได้อีก 2 ชนิด ได้แก่
ตาบอดสีทั้งหมด หรือ ตาบอดสีที่เห็นสีเดียว (Monochromatism) เกิดจากในดวงตาไม่มีเซลล์รูปกรวยที่ทำหน้าที่การมองเห็นสีและแสงอยู่เลย หรืออาจมีเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงินชนิดเดียว สีที่คนตาบอดสีเห็นจะเห็นเพียงแค่สีโทนขาว ดำ เท่านั้น นอกจากนี้ภาพที่คนตาบอดสีเห็นนั้นจะค่อนข้างมัว ดวงตาไวต่อแสง ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการมองไม่ชัดเพิ่มขึ้นอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามตาบอดสีประเภทนี้สามารถพบได้น้อยมาก
โรคตาบอดสี อาการจะแตกต่างกันไปขึ้นกับจุดที่เซลล์รับแสงเกิดความผิดปกติ และระดับความรุนแรงของโรคตาบอดสีค่ะ แต่สามารถสังเกตอาการของโรคตาบอดสีได้ดังนี้
โดยส่วนมากแล้วผู้ที่เป็นโรคตาบอดสี มักจะได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ดังนั้นการเกิดโรคตาบอดสีมักเป็นตั้งแต่กำเนิด หากอาการของโรคตาบอดสีไม่รุนแรงมากหลาย ๆ คนอาจไม่ทันรู้ตัวว่าตัวเองมีภาวะตาบอดสีอยู่ ในกรณีนี้หากสงสัยว่าตนเองเป็นโรคตาบอดสีหรือไม่อาจเข้ารับการตรวจจากจักษุแพทย์ได้
อยากรู้หรือไม่ว่าตนเองมีภาวะหรือความเสี่ยงจะที่เป็นโรคตาบอดสีหรือไม่? เวลาเราพูดถึงสีแล้วคนรอบข้างบอกสีที่ต่างออกไปจากที่เราตอบ อาจไม่ได้หมายความว่าเราเป็นโรคตาบอกสีจริง ๆ ดังนั้นอาจใช้แบบทดสอบตาบอดสีซึ่งจะช่วยบอกได้ว่าเราเป็นโรคตาบอกสีหรือไม่นั่นเอง
แบบทดสอบตาบอดสีที่ได้รับความนิยมและพบได้บ่อยมาก ๆ คือแผ่นทดสอบอิชิฮาระ (Ishihara plates) โดยแบบทดสอบนี้จะมีตัวเลขที่มีสีต่างจากพื้นหลัง ถ้าเราสามารถอ่านตัวเลขบนภาพได้อย่างถูกต้อง แสดงว่าการมองเห็นของเรายังปกติดี แต่ในผู้ที่เป็นโรคตาบอดสีนั้น ภาพที่คนตาบอดสีเห็นจะไม่เห็นเลขในภาพ
เมื่อพบแพทย์เพื่อตรวจว่าเราเป็นโรคตาบอดสีหรือไม่ จะมีขั้นตอนการตรวจและวินิจฉัยโรคตาบอดสีดังนี้
เป็นการตรวจเบื้องต้นว่ามีภาวะตาบอดสีหรือไม่ โดยแพทย์จะใช้แบบทดสอบตาบอดสีทดสอบเรา โดยวิธีที่นิยมใช้คือการใช้แผ่นทดสอบอิชิฮาระ บนภาพจะมีเลขที่สีแตกต่างจากพื้นหลัง หากไม่สามารถบอกได้ว่าภายในภาพมีเลขซ่อนอยู่ นั่นอาจหมายความว่ามีภาวะตาบอดสี แพทย์จะส่งตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ ต่อไป
แพทย์จะกำหนดสีที่ต้องการไว้ และให้เราลองผสมสีให้ได้สีที่กำหนดไว้ ยกตัวอย่าง กำหนดสีเหลืองไว้ และให้ลองผสมสีแดงและสีเขียวให้ได้สีเหลือง หากมีภาวะตาบอดสีแดง หรือพร่องสีแดงจะมีการใช้สีแดงเพื่อผสมสีมากกว่าคนปกติ วิธีนี้สามารถตรวจได้เฉพาะผู้ที่มีภาวะตาบอดสีแดงและตาบอดสีเขียวเท่านั้น
เป็นชุดทดสอบถึงระดับความรุนแรงของโรคตาบอดสี โดยชุดทดสอบที่นิยมใช้คือ Farnsworth Munsell เป็นเครื่องมือที่ลักษณะเป็นฝาครอบที่มีสีไล่เลี่ยกัน โดยทดสอบให้เรียงฝาครอบให้สีใกล้เคียงกันต่อกัน ในผู้ที่มีอาการตาบอดสีจะเรียงสีได้ไม่ถูกต้อง
ตาบอดสีรักษาได้ไหม ป้องกันได้หรือไม่
โรคตาบอดสีเกิดจากเซลล์รูปกรวยในดวงตาน้อยหรือขาดเซลล์รูปกรวยสีใดสีหนึ่งไป ทำให้การมองเห็นภาพแตกต่างไปจากคนปกติ ความผิดปกติของตาบอดสีที่เกิดจากเซลล์รูปกรวยน้อยหรือขาดไปนั้นไม่สามารถรักษาได้ และการเกิดโรคตาบอดสีที่เกิดจากการถ่ายทอดพันธุกรรมก็ไม่สามารถป้องกันได้ แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่เป็นโรคตาบอดสีจากพันธุกรรม หรือการเป็นโรคตาบอดสีแต่กำเนิดนั้นมักเป็นประเภทตาบอดสีแดง - ตาบอดสีเขียว และระดับความรุนแรงของโรคตาบอดสีไม่รุนแรงมาก สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ เพียงแต่อาจแยกสีได้แตกต่างจากคนทั่วไปเท่านั้น
แต่สำหรับผู้ที่เป็นโรคตาบอดสีในภายหลัง ซึ่งอาจมีสาเหตุอื่น ๆ นอกจากกรรมพันธุ์ ควรเข้ารับคำปรึกษาจากจักษุแพทย์เพื่อหาสาเหตุการเกิดโรคตาบอดสี หากพบว่าเป็นโรคตาบอดสีชั่วคราวก็จะสามารถวางแผนถึงวิธีรักษาโรคตาบอดสีได้
ถึงจะบอกว่าผู้ที่เป็นโรคตาบอดสีจะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ และตัวโรคตาบอดสีเองก็ไม่ได้สร้างอันตรายถึงชีวิต แต่ปัญหาของคนตาบอดสีก็ยังสร้างความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันได้เช่นกัน
เพราะโรคตาบอดสีจากการที่เซลล์รูปกรวยผิดปกติไม่สามารถรักษาได้ ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคตาบอดสีจึงควรดูแลตนเองเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ
โรคตาบอดสีเป็นโรคที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ส่วนมากมักเกิดจากการที่เซลล์รูปกรวยภายในตาเกิดปัญหาขึ้น ผู้ที่มีภาวะตาบอดสีจะมีการรับรู้ถึงสีแตกต่างจากคนปกติ อย่างการแยกสีได้ยาก หรือไม่สามารถแยกสีได้เลย หรือในระดับรุนแรงมากคือการมองไม่เห็นสีเลย เห็นเป็นเพียงภาพขาวดำเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้นโรคตาบอดสีที่เกิดจากเซลล์รูปกรวยมีปัญหานั้นจะไม่สามารถรักษาได้ ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคตาบอดสีควรดูแลตนเองและวางแผนการใช้ชีวิตให้เป็นปกติมากที่สุด
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที