ไม่มีใครที่อยากเป็นโรคที่เกี่ยวกับหัวเข่าแน่นอน ไม่ว่าจะเป็น การเจ็บข้อเข่า ข้อเข่าอักเสบ ข้อเข่าเสื่อม
ฯลฯ เพราะถ้าหากเกิดโรคเหล่านี้ขึ้นมา จะทำให้มีชีวิตประจำวันที่ลำบากขึ้น ดังนั้นเราจึงควรที่จะหา
สาเหตุ แล้วป้องกัน และท้ายสุดถ้าเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาให้ตรงจุด
ก่อนที่จะมาพูดถึงอาการเจ็บข้อเข่านั้น เราก็ควรที่จะทำความรู้จักเกี่ยวกับข้อเข่า และส่วนประกอบภายใน
ข้อเข่าเสียก่อน ข้อเข่า นั้นมีหน้าที่ในการรับน้ำหนักร่างกายเกือบตลอดเวลา ไม่ว่าจะเดิน ยืน นั่ง หรือทำกิจกรรมต่างๆ ในการใช้ชีวิตประจำวัน และถ้าเกิดอาการเจ็บข้อเข่าแล้วปล่อยไว้ ไม่รีบทำการรักษา ก็อาจนำไปสู่ภาวะข้อเข่าเสื่อมได้
ส่วนประกอบของเข่า
1. ส่วนปลายกระดูกต้นขา (Femur)
นอกจากนี้ก็ยังมีอวัยวะที่สำคัญอื่นอีก เช่น กระดูกอ่อน และ น้ำหล่อลื่นข้อเข่าที่ทำหน้าที่รองรับการเคลื่อน
ไหวของข้อเข่า นอกจากนี้ยังมีเอ็นอยู่รอบ ๆ ข้อเข่า เอ็นไขว้หน้า เอ็นไขว้หลังที่อยู่ด้านใน ซึ่งช่วยสร้างความ
มั่นคงของเข่าและหมอนรองกระดูก ซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่รองรับแรงกระแทกบริเวณเข่า ช่วยดูดซับและ
กระจายแรงจากน้ำหนักตัว
อาการเจ็บข้อเข่านั้น มีโอกาสเกิดได้กับบุคคลทุกเพศ ทุกวัย อย่างไรก็ตาม พบว่ามีปัจจัยหรือพฤติกรรม
บางอย่างที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการเจ็บข้อเข่าได้ ดังนี้
สำหรับอาการบาดเจ็บบริเวณเข่าอาจเกิดขึ้นจากการบาดเจ็บของส่วนประกอบต่าง ๆ บริเวณเข่า เช่น
เอ็น เส้นเอ็น กระดูก กระดูกอ่อน หรือ ถุงของเหลวหล่อลื่นข้อต่อ อาการบาดเจ็บที่มักพบจะมี
เกิดจากการเคลื่อนไหวเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็ว ถูกกระแทก
เพราะเส้นเอ็นในข้อเข่าฉีกขาด กระดูกเข่าหัก
มักเกิดในนักกีฬาที่เปลี่ยนท่าเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เข่นนักฟุตบอล
มักเกิดกับนักกีฬาที่กระโดดอยู่เสมอ เช่นนักบาสเกตบอล
การอักเสบของถุงน้ำมันลดการเสียดสีในเข่าที่ใช้กันกระแทกภายในข้อต่อ มักเกิดกับคนที่คุกเข่าบนพื้น
แข็งเป็นประจำ
มักเกิดระหว่างลงน้ำหนักที่เข่าหรือหมุนเข่าผิดจังหวะ
อาจเกิดจากอุบัติเหตุรถยนต์ ตกจากที่สูง โดยมากมักเกิดในผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน เป็นต้น
เข่าเป็นข้อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักตัว ดังนั้นเราควรที่จะสังเกตถ้าเกิดมีอาการปวดหรือ เจ็บข้อเข่า เพราะจะกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน แรกเริ่มนั้นจะมีอาการปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆและจะปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานของข้อเข่า เช่น การยืนนาน ๆ หรือ การเดินขึ้นลงบันได พอเป็นนานเข้าจะมีอาการฝืดขัด อาการปวดจะเป็นมากขึ้นและรุนแรงขึ้น มีการสะดุดหรือข้อติดขัดเวลาเดิน และจะมีอาการบวมเมื่อเป็นมากขึ้น
หากพบเจอสัญญาณต่อไปนี้จากอาการปวดข้อเข่าเป็นเวลานาน ๆ ให้รีบเข้าพบแพทย์ เพื่อรับคำปรึกษาและรักษาอาการก่อนที่จะลุกลามใหญ่โต เช่น
อาการปวดเข่า เจ็บข้อเข่า เกิดขึ้นได้กับคนที่มีปัญหาโรคกระดูก และข้อ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากอาการบาดเจ็บจากการใช้ชีวิตประจำวัน หรือเกิดจากการเสื่อมสึกหรอของข้อต่อต่าง ๆ ของร่างกายเมื่อมีอายุมากขึ้น ฉะนั้นสามารถกล่าวได้ว่า จะพบบ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุทางร่างกาย เป็นต้น
อาการเจ็บข้อเข่าอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ซึ่งนอกเหนือจากการทำกิจวัตร กิจกรรมประจำวัน หรือจากอายุที่สูงวัยขึ้น ก็อาจจะมาจากสัญญาณของโรคต่าง ๆ ที่เราประสบอยู่ เช่น
เป็นโรคที่เกิดจากภาวะกรดยูริคในร่างกายสูง แล้วไปสะสมตามข้อต่อต่าง ๆ จนเกิดการอักเสบ ปวดบวมอย่างรุนแรงแบบฉับพลัน เกิดอาการเจ็บข้อเข่า
เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำลายเนื้อเยื่อตนเอง ทำลายเยื่อหุ้มที่ข้อต่าง ๆ ทำให้เกิดการอักเสบ ปวดบวม และเจ็บข้อเข่า
เกิดจากการสึกหรอของกระดูกอ่อนบริเวณข้อเข่า เวลาเกิดการเสียดสี แต่กระดูกอ่อนเสื่อมแล้ว กระดูกที่แข็งกว่าจะเสียดสีกันแทน ทำให้เจ็บข้อเข่า เข่าติด เป็นต้น
เป็นอีกสาเหตุให้เจ็บข้อเข่า เข่าบวม เพราะข้ออักเสบเกิดการติดเชื้อ เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน เป็นต้น
แพทย์มีวิธีการวินิจฉัยอาการเจ็บข้อเข่าดังนี้
เมื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยเกี่ยวกับอาการเจ็บข้อเข่าแล้ว ก็จะตามมาด้วยวิธีการรักษา ซึ่งทำได้หลายวิธีขึ้นกับสาเหตุของอาการปวด
พื่อบรรเทาอาการปวด เช่น โรคเก๊าต์
เป็นวิธีเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรงขึ้น
การฉีดยาให้ผู้ป่วยด้วย กรดไฮยาลูรอนิคที่น้ำหล่อลื่นข้อเข่าในร่างกาย มีฤทธิ์อยู่ 6 เดือน หรือคอร์ติโคสเตียรอยด์ ฉีดเพื่อบรรเทาอาการปวดและลดการอักเสบในผู้ป่วยโรคไขข้ออักเสบ
อีกหนึ่งวิธีการรักษาที่ได้ผลแน่นอนแต่ต้องศึกษาผลกระทบจากการผ่าตัดก่อน เนื่องจากอาการเจ็บข้อเข่าไม่ใช่เคสเร่งด่วน ที่ต้องใช้การผ่าตัดเพื่อรักษา
เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ การฝังเข็ม
แต่อาการปวดเข่านี้ หากมิได้เกิดจากอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่ล้วนป้องกันได้ ถ้ารู้จักปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง เช่นอบอุ่นร่างกายและยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเพื่อลดแรงกดที่เข่า เป็นต้น
การปวดข้อเข่ามักเกิดจากด้านในของเข่าก่อน และตามมาด้วยอาการบวม เจ็บมาก เพราะกระดูกและ
ลูกสะบ้าสีกัน เราจึงควรที่จะมีการป้องกันและดูแลตัวเองไม่ให้เกิดอาการเจ็บข้อเข่า ดังนี้
ถ้ารู้สึกเจ็บข้อเข่า ปวดเข่า ก็ควรที่จะออกกำลังกายบริหารเข่า หรือเพิ่มกล้ามเนื้อต้นขาและสะโพก ด้วยการว่ายน้ำ เดิน หรือเดินในน้ำ ซึ่งเป็นท่าออกกำลังกายที่ไม่ลงน้ำหนักกับข้อเข่ามากเกินไป
อาการเจ็บข้อเข่า ปวดเข่า ถ้าเกิดจากอุบัติเหตุ เป็นแบบเฉียบพลัน ก็ควรประคบเย็นประมาณ 15-20 นาทีแต่ถ้าเป็นบ่อย ๆ เรื้อรัง ก็ควรประคบร้อนเพื่อบรรเทา
การเจ็บข้อเข่าเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และวิธีการรักษาก็ขึ้นกับสาเหตุของอาการปวด ดังนั้น หากเกิดอาการปวด หรือ เจ็บเข่า ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาให้ตรงจุด แต่หากเกิดจากสาเหตุที่ไม่รุนแรง ผู้ป่วยก็อาจดูแลรักษาตนเองได้
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที