ร่างกายของคนเราประกอบไปด้วยฮอร์โมนหลายตัวที่เป็นตัวควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ซึ่งฮอร์โมน LH หรือ Luteinizing Hormone ก็เช่นกัน ตัวนี้มีหน้าที่ควบคุมในส่วนของระบบสืบพันธุ์ แล้วฮอร์โมน LH มีหน้าที่อะไรบ้าง สำคัญหรือเกี่ยวข้องกับคนท้องอย่างไร ไปดูกัน
ฮอร์โมน LH (Luteinizing Hormone) หรือ “ฮอร์โมนไข่ตก” เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาจากต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) ซึ่งอยู่ในกลุ่มของฮอร์โมนที่เรียกว่า โกนาโดโทรฟิน (Gonadotropin) ฮอร์โมน LH มีหน้าที่กระตุ้นอัณฑะในเพศชาย และรังไข่ในเพศหญิง นอกจากนี้ ฮอร์โมน LH ยังมีความสัมพันธ์กันฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (ฮอร์โมนการตั้งครรภ์) และฮอร์โนเอสโตรเจนอีกด้วย
ฮอร์โมน LH มีหน้าที่ ดังนี้
ฮอร์โมน LH มีหน้าที่ควบคุมการมีรอบเดือน เป็นส่วนที่กระตุ้นให้ผลิตไข่และตกไข่ ซึ่งฮอรโมนนี้จะสูงขึ้นมากก่อนการมีรอบเดือน
ฮอร์โมน LH มีหน้าที่กระตุ้นให้อัณฑะสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน กระตุ้นการผลิตสเปิร์ม แต่ระดับของฮอร์โมนจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก
ปกติแล้วฮอร์โมน LH ในเด็กจะมีระดับที่ต่ำมาก แต่จะเริ่มสูงขึ้นในช่วง 2-3 ปี ก่อนเข้าสู่วัยรุ่นตอนต้น ฮอร์โมน LH จะส่งสัญญาณให้เด็กผู้หญิงเริ่มสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน และเด็กผู้ชายก็จะสร้างฮอร์โมนเทสโทสสเตอโรน
ฮอร์โมน LH (Luteinizing Hormone) เป็นฮอร์โมนสำคัญในการปล่อยไข่ออกมาให้เตรียมพร้อมต่อการปฏิสนธิ ซึ่งก่อนวันไข่ตก ระดับฮอร์โมน LH จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากนั้นจะตกไข่ภายใน 12-36 ชม. ซึ่งหากมีเพศสัมพันธ์ภายใน 48 ชม. และหลังจากตรวจพบฮอร์โมน lh นี้ ก็จะเพิ่มโอกาสในการท้องได้
การตรวจฮอร์โมน lh ปกติแล้วจะมีการทำงานที่คู่กันไปกับฮอร์โมน FSH เพื่อเป็นการควบคุมการทำงานฮอร์โมนเพศ ดังนั้น การทดสอบฮอร์โมน LH (Luteinizing Hormone) ก็มักจะทำควบคู่กันไปกับฮอร์โมน FSH โดยวัตถุประสงค์การทดสอบแบ่งได้ ดังนี้
- สำหรับผู้หญิง
o หาสาเหตุภาวะการมีบุตรยาก
o ดูช่วงเวลาตกไข่ เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์
o เพื่อหาสาเหตุที่ประจำเดือนขาดหรือมาไม่ปกติ
o เป็นการยืนยันการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน การที่ประจำเดือนหมดแปลว่ารังไข่หยุดการผลิตไข่ จึงเท่ากับว่าไม่สามารถมีลูกได้ มักเริ่มที่อายุ 50 ปี ขึ้นไป
- สำหรับผู้ชาย
o หาสาเหตุของภาวะการมีบุตรยาก
o หาสาเหตุจำนวนอสุจิน้อย
o หาสาเหตุว่าเพราะอะไรจึงมีความสนใจทางเพศต่ำ
- สำหรับเด็ก
o ถ้าเด็กผู้หญิงวัย 9 ขวบ และเด็กผู้ชายวัย 10 ขวบ หากเข้าสู่เจริญพันธุ์ ถือว่าเร็ว
o หากเด็กผู้หญิงเข้าสู่วัย 13 ปี และเด็กผู้ชายเข้าสู่วัย 14 ปี หากไม่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ถือว่าช้า
ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจฮอร์โมน LH (Luteinizing Hormone) มีดังนี้
· ผู้หญิงที่มีปัญหาในเรื่องการตั้งครรภ์
· ผู้หญิงที่ประจำเดือนขาดหรือมาไม่ปกติ
· ผู้หญิงที่สงสัยว่ากำลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
· ผู้ชายที่คาดว่ามีระดับฮอร์โมนเทสโทนเตอโรนต่ำ
· ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับต่อมใต้สมอง
· เด็กทั้งหญิงและชายที่คาดว่าจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ช้า/เร็วเกินไป
การตรวจฮอร์โมน LH (Luteinizing Hormone) มีดังนี้
· พยาบาลจะซักประวัติเบื้องต้นก่อน
· ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน และรอเข้าพบแพทย์
· เมื่อพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติ อาทิ โรคประจำตัว, ยาปฏิชีวนะที่ใช้อยู่, มีประวัติความผิดปกติเกี่ยวกับโครโมโซมหรือไม่ รวมถึงประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว
· เจาะเลือด และนำไปตรวจฮอรโมน lh เพื่อหาสาเหตุ
· รอผลประมาณ 1 ชั่วโมง
ผลตรวจฮอร์โมน LH
ปกติแล้วผลตรวจฮอร์โมน lh (Luteinizing Hormone) จะมีค่าปกติไม่เท่ากันในแต่ละกลุ่มคน ดังนี้
· ผู้หญิงในระยะก่อนไข่ตก : 1.9-2.5 IU/L
· หญิงตั้งครรภ์ : ต่ำกว่า 0.5 IU/L
· ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน : 15.9-54.0 IU/L
· ผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิด : 0.7-5.6 IU/L
· ผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 20 ถึง 70 : 0.7-7.9 IU/L
· ผู้ชายที่อายุมากกว่า 70 ปี : 3.1-34.0 IU/L
หากค่าฮอร์โมน LH (Luteinizing Hormone) ต่ำไป หรือค่าฮอร์โมน lh สูงไปจะส่งผลอย่างไร ไปดูกัน
o มีเนื้องอกในรังไข่
o มีความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (โครโมโซมเพศ)
o ร่างกายได้รับรังสีเข้าไป
o เคยมีประวัติได้รับรังสีบำบัด
o มีโรคทางพันธุกรรม เช่น โรคซิสติกไฟโบรซิส
o เป็นโรคอ้วน
o โรคแพ้ภูมิตัวเอง
o เนื้องอก เช่น เนื้องอกเซลล์สืบพันธุ์
o มีอาการบาดเจ็บที่สมอง
o รังไขหรืออัณฑะมีความผิดปกติ
o มีความผิดปกติได้ทั้งเด็กชายและเด็กหญิง
o ภาวะขาดฮอร์โมน
การดูแลระดับฮอร์โมน LH (Luteinizing Hormone) ให้สมดุลสามารถทำได้ ดังนี้
o ดูแลระดับและความไวของอินซูลิน
o ทานอาหารที่มี Inositol เพราะ Inositol จะช่วยรักษาระดับฮอร์โมน lh ให้ต่ำได้ลง
o ทานอาหารที่อดุมด้วยโอเมก้า 3
o ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ไม่ว่าฮอร์โมน LH มีผลออกมาจะสูงหรือต่ำ แพทย์จะแนะนำให้รักษาสมดุล เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ ดังนี้
- ผู้ชาย : จะตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ ทดสอบทางพันธุกรรม และตรวจเลือด เพื่อวัดระดับฮอร์โมนอื่น ๆ ด้วย
- ผู้หญิง : วัดระดับฮอร์โมนด้วยการเจาะเลือด และอัลตราซาวด์ เพื่อเช็คความผิดปกติของมดลูก
เพราะร่างกายของคนเรามีฮอร์โมนหลายตัว แต่สำหรับฮอร์โมน LH (Luteinizing Hormone) นับเป็นฮอร์โมนอีกตัวหนึ่งที่มีความสำคัญต่อผู้ที่ต้องการตั้งครรภ์และคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก ไม่ควรปล่อยให้ฮอร์โมน LH สูงหรือต่ำเกินไป เพราะนั่นเป็นเหตุให้มีบุตรยาก หากครอบครัวไหนไม่มั่นใจว่านี่คือ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีบุตรยากหรือไม่ แนะนำควรเข้ารับปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที