Daisy

ผู้เขียน : Daisy

อัพเดท: 17 ต.ค. 2022 21.51 น. บทความนี้มีผู้ชม: 289944 ครั้ง

รอบรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รู้ก่อน รักษาก่อน บทความที่จะมาเชิญชวนให้นักอ่านทุกคนหันมาดูแลสุขภาพเพื่อตัวเองและคนที่คุณรัก


ฮอร์โมน FSH ว่าที่แม่ตั้งครรภ์ควรรู้

ฮอร์โมน FSH ว่าที่แม่ตั้งครรภ์ควรรู้

เรื่องที่ว่าที่คุณแม่หลายท่านไม่รู้ คือ ฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) เป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญมาก ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการมีลูก เรียกได้ว่าผู้ที่มีภาวะการมีบุตรยากสาเหตุหนึ่งก็มาจากฮอร์โมนตัวนี้ได้เช่นกัน แล้วระดับฮอร์โมนที่มีส่วนช่วยในการตั้งครรภ์ควรอยู่ในระดับใด และฮอร์โมน fsh หน้าที่คืออะไร ไปดูกันค่ะ

ฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone)

ฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating hormone) คือ ฮอร์โมนที่กระตุ้นการเจริญของไข่ มีผลโดยตรงต่อรอบของประจำเดือน หากฮอร์โมน fsh ต่ำเกินไปหรือสูงเกินไปก็จะทำให้มีบุตรยาก

Follicle Stimulating Hormone ทำหน้าที่อะไร

สำหรับผู้หญิง ฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตและกระตุ้นให้ไข่ตก สำหรับฮอร์โมน fsh ในเพศชาย จะทำหน้าที่กระตุ้นให้อัณฑะให้ผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และกระตุ้นการสร้างสเปิร์ม

ฮอร์โมน FSH กับหญิงตั้งครรภ์

ฮอร์โมน FSH กับหญิงตั้งครรภ์

ผู้หญิงที่พบว่าระดับฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) ในระดับที่สูงมากไป แสดงว่ารังไข่มีการผลิตไข่ได้น้อยลง คุณภาพลดลง ร่างกายจึงพยายามผลิตฮอร์โมนออกมาชดเชย กลับกันหากฮอร์โมน fsh ต่ำเกินไปก็จะส่งผลให้มีบุตรยากได้เช่นกัน

ฮอร์โมน FSH กับการทำเด็กหลอดแก้ว

แม้การทำเด็กหลอดแก้วก็ต้องอาศัยการดูฮอร์โมน FSH แพทย์จะตรวจฮอร์โมน FSH ในวันที่สามของการมีประจำเดือน ไข่ที่คุณภาพดีจะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนและอินฮีบินบีสูง ซึ่งค่า FSH จะต่ำลง หากคุณภาพไข่ไม่ดี ค่าฮอร์โมน fsh จะสูงขึ้น

การตรวจวัดระดับฮอร์โมน FSH

การตรวจวัดระดับฮอร์โมน FSH

การวัดระดับฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) หรือการที่ต้องหาค่า fsh คือการที่ใช้เพื่อทำนายได้ว่าจะมีโอกาสในการตั้งครรภ์ได้หรือไม่ โดยปกติแล้วต้องทำควบคู่ไปกับการวัดระดับฮอร์โมน LH หรือฮอร์โมนไข่ตก

ทั้งนี้ ดูได้จากหากรังไข่มีการทำงานที่แย่ลง ค่า fsh คือ มากกว่า 10 IU/L ร่วมกับค่า E2 ที่ต่ำกว่า 80 pg/ml ยังมีรายงานระบุว่าหากค่า fsh มากกว่า 18 IU/L มีโอกาสตั้งครรภ์ได้น้อยมาก

การตรวจระดับฮอร์โมน FSH เหมาะกับใคร

·       ผู้หญิง

o   ปล่อยให้มีลูกด้วยวิธีธรรมชาติมากกว่า 1 ปีแล้วแต่ไม่เป็นผล

o   ประจำเดือนมาไม่ปกติ

o   ประจำเดือนหมดก่อนวัยหมดประจำเดือน

·       ผู้ชาย

o   อสุจิไม่แข็งแรง

o   มีความต้องการทางเพศลดลง

ขั้นตอนการตรวจฮอร์โมน FSH

ขั้นตอนการตรวจฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) มี ดังนี้

·       พยาบาลซักประวัติเบื้องต้น

·       ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน และรอเพื่อเข้าพบแพทย์

·       เข้าพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติ ได้แก่ โรคประจำตัว, ยาปฏิชีวนะที่ใช้อยู่, เคยมีประวัติความผิดปกติของโครโมโซมหรือไม่ รวมถึงโรคประจำตัวของคนในครอบครัว

·       เจาะเลือด เพื่อตรวจ fsh

·       รอผลประมาณ 1 ชั่วโมง

ผลการตรวจฮอร์โมน FSH

ผลการตรวจฮอร์โมน FSH

 

ผลตรวจฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) ซึ่งค่า fsh ปกติ ในแต่ละกลุ่มมี ดังนี้

·       FSH ที่ต่ำกว่า 4 IU/ml

แสดงว่า ไข่ใบเล็ก ตั้งครรภ์ได้ยาก เนื่องจาก ค่า fsh ที่ต่ำทำให้รอบของประจำเดือนหยุดชะงัก ประจำเดือนมาไม่ปกติ และโดยมากพบในผู้หญิงที่มีภาวะถุงน้ำในรังไข่

·       FSH 4-7 IU/ml

แปลว่า คุณภาพและจำนวนของไข่อยู่ในระดับปกติ

·       FSH 10-20 IU/ml

มีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่วัยทองก่อนวันอันควร และจะเริ่มกระตุ้นได้ยาก หากอายุต่ำกว่า 40 ปี อาจเป็นสัญญาณที่บอกว่ารังไข่เริ่มเสื่อม

·       FSH มากกว่า 20 IU/ml

เข้าสู่วัยทองอย่างสมบูรณ์ ตั้งครรภ์ได้ยาก

ระดับฮอร์โมน FSH ไม่สมดุล

ระดับฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) ที่ไม่สมดุลสามารถเกิดได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ดังนี้

ค่าฮอร์โมน FSH ในเพศหญิง

o   ระดับ FSH สูง

-   รังไข่เสื่อมก่อนวัยอันควร (POI : Primary ovarian insufficiency)

-   มีความผิดปกติของฮอร์โมน (PCOS : Polycystic ovary syndrome)

-   อยู่ในวัยหมดประจำเดือน

-   เนื้องอกในรังไข่

o   ระดับ FSH ต่ำ

-   รังไข่ผลิตไข่ได้น้อยหรือไม่สามารถผลิตได้เลย

-   ความผิดปกติของต่อมใต้สมอง

-   ต่อม hypothalamus มีความผิดปกติ

-   น้ำหนักน้อยเกินไป

ค่าฮอร์โมน FSH ในเพศชาย

o   ระดับ FSH สูง

-   ลูกอัณฑะเสียหาย เนื่องจากเคยเข้ารับเคมีบำบัด

-   อาการ Klinefelter syndrome เป็นโรคทางพันธุกรรม ส่งผลให้มีบุตรยาก

o   ระดับ FSH ต่ำ

-   ต่อมใต้สมองมีความผิดปกติ

สาเหตุที่ส่งผลให้ฮอร์โมน FSH ไม่สมดุล

การที่ฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) ไม่สมดุลเกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งในเพศหญิงและเพศชาย การที่ฮอร์โมน fsh สูง สาเหตุหนึ่งที่เกิดกับเพศหญิงคือ โรคถุงน้ำในรังไข่ หรือ PCOS ซึ่งส่งผลต่อการตกไข่ที่คลาดเคลื่อนไป ในขณะที่ค่า fsh ต่ำ โดยมากแล้วมักเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของต่อมใต้สมอง

คำแนะนำในการรักษาสมดุลฮอร์โมน FSH

คำแนะนำในการรักษาสมดุลฮอร์โมน FSH

 

การรักษาสมดุลฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) สามารถทำได้ง่าย ๆ ตามคำแนะนำทางการแพทย์ เพื่อควบคุมค่า fsh สูงได้ ดังนี้

·       ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

·       ทานโปรตีนให้เพียงพอทุกมื้อ

·       เลี่ยงน้ำตาล และลดปริมาณคาร์โบไฮเดรต

·       นอนหลับให้เพียงพอ

ข้อสรุป

เมื่อพูดถึงฮอร์โมนการตั้งครรภ์ หลายคนอาจเข้าใจว่าต้องมีฮอร์โมนในระดับสูงจึงจะสามารถตั้งครรภ์ได้ แต่สำหรับฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) แล้วนั้น ควรมีระดับที่สมดุลไม่สูงหรือต่ำเกินไป ซึ่งหากครอบครัวไหนที่ต้องการมีลูก แต่พยายามเท่าไหร่ก็ยังไม่มีสักที สามารถเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ได้ เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาภาวะผู้มีบุตรยากต่อไป

 


 

 

 

 

 
 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที