Daisy

ผู้เขียน : Daisy

อัพเดท: 17 ต.ค. 2022 21.51 น. บทความนี้มีผู้ชม: 286572 ครั้ง

รอบรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รู้ก่อน รักษาก่อน บทความที่จะมาเชิญชวนให้นักอ่านทุกคนหันมาดูแลสุขภาพเพื่อตัวเองและคนที่คุณรัก


ไมเกรนขึ้นตา อาการที่ไม่ได้เกิดกับผู้ป่วยโรคไมเกรนทุกคน

ไมเกรนขึ้นตา

ทราบหรือไม่ว่าในจำนวน 100 คนมักจะพบเจอผู้ที่เป็นโรคไมเกรนสูงถึง 10-20 คนโดยประมาณ หรือตีเป็นเปอร์เซ็นต์คือ 20% ต่อประชากรทั้งหมดเลยทีเดียว ปัจจัยที่กระตุ้นให้อาการไมเกรนกำเริบ และอาการปวดไมเกรนของแต่ละคนก็แตกต่างกัน 

มีภาวะหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นโรคไมเกรน นั่นก็คืออาการไมเกรนขึ้นตา ซึ่งเป็นอาการที่อาจไม่ได้พบบ่อยในกลุ่มผู้ป่วยโรคไมเกรนทั้งหมด แต่สำหรับผู้ที่มีอาการไมเกรนขึ้นตานั้นเมื่ออาการกำเริบอาจเกิดความตกใจและกังวลได้


รู้จักไมเกรน (Migraine)

ไมเกรน เป็นภาวะที่หลอดเลือดแดงในสมองเกิดการขยายตัวขึ้นอย่างมาก ซึ่งสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดแดงในสมองเกิดการขยายตัวนั้นยังไม่แน่ชัด แต่มักจะมีปัจจัยบางอย่างไปกระตุ้น เมื่อถูกกระตุ้นจะทำให้หลอดเลือดแดงขยายตัว เกิดอาการบวมของเซลล์ประสาทจนทำให้เกิดอาการปวดศีรษะรุนแรงนั่นเอง 

ประเภทของไมเกรน

โรคไมเกรนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. ไมเกรนที่ไม่มีอาการนำ (Migraine without aura) ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะไม่มีอาการที่เป็นสัญญาณเตือนก่อนที่จะเริ่มปวดไมเกรน 
  2. ไมเกรนที่มีอาการนำ (Migraine with aura) ผู้ป่วยกลุ่มนี้ก่อนจะเกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน จะมีสัญญาณเตือน หรือมเกรนออร่า เช่น การมองเห็นผิดปกติ หรือที่เรียกกันว่าไมเกรนขึ้นตา อาการชาตามร่างกาย แขนขาไม่มีแรง ไวต่อเสียง เป็นต้น

ไมเกรนขึ้นตา (Ocular Migraine)

ไมเกรนขึ้นตา (Ocular Migraine)

อาการไมเกรนขึ้นตาเป็นหนึ่งในอาการของไมเกรนออร่า หรืออาการนำซึ่งเป็นสัญญาณเตือนก่อนที่จะเริ่มปวดศีรษะไมเกรน หรืออาจเกิดขึ้นในขณะที่ปวดศีรษะ หรือหลังจากหายปวดศีรษะไมเกรนก็ได้เช่นกัน โดยอาการไมเกรนขึ้นตาที่เป็นอาการไมเกรนออร่านี้สามารถพบได้ในผู้ป่วยโรคไมเกรนประมาณ 15-20%


ไมเกรนขึ้นตาเกิดจากสาเหตุใด

สาเหตุของการเกิดไมเกรนคือการที่เกิดความผิดปกติในการหลั่งสารสื่อประสาทที่ไปทำให้หลอดเลือดในสมองเกิดการขยายตัว และทำให้เส้นประสาทและหลอดเลือดเกิดการอักเสบขึ้น เมื่อเกิดการอักเสบจึงทำให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนตามมา 

อย่างที่ทราบว่าไมเกรนขึ้นตา หรือ ไมเกรนที่ตา นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอาการนำหรือไมเกรนออร่า แต่สาเหตุใดที่ทำให้เกิดอาการนำเหล่านี้ในปัจจุบันยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีความเชื่อว่าอาจเกิดจากการไหลเวียนเลือดลดลงจากภาวะไมเกรนบริเวณจอตาหลือหลังตา ทำให้เกิดความผิดปกติทางการมองเห็นนั่นเอง

 


อาการไมเกรนขึ้นตาเป็นอย่างไร

ผู้ป่วยไมเกรนประเภทมีอาการไมเกรนออร่าก่อนเริ่มปวดศีรษะไมเกรนอาจพบหนึ่งในอาการไมเกรนขึ้นตา ดังนี้

ผู้ป่วยไมเกรนขึ้นตา อาการดังกล่าวนี้ไม่ได้จะพบทุกอาการ อาจพบเพียงบางอาการเท่านั้น โดยอาการไมเกรนขึ้นตานี้จะเกิดเพียงชั่วขณะ หรือชั่วคราวเท่านั้น อาการนำมักจะหายไปเองภายใน 30 นาที 

อาจเกิดขึ้นกับดวงตาเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ และอาการไมเกรนขึ้นตานั้นหลังหายไปเองแล้วอาจมีอาการปวดศีรษะไมเกรนตามมา หรืออาจไม่มีอาการปวดศีรษะไมเกรนเลยก็ได้เช่นกัน

 

ไมเกรนขึ้นตาอาจเกิดร่วมกับอาการอื่น

ไมเกรนขึ้นตาอาจเกิดร่วมกับอาการอื่น

อย่างที่ทราบว่าไมเกรนขึ้นตาเป็นหนึ่งในไมเกรนออร่า ซึ่งอาจเป็นอาการนำก่อนเริ่มปวดศีรษะไมเกรน ขณะปวดไมเกรน หรือหลังจากหายปวดไมเกรนก็ได้ 

ดังนั้นไมเกรนขึ้นตาที่เป็นส่วนหนึ่งของอาการนำ อาจเกิดร่วมกับอาการนำอื่น ๆ ได้อีก เช่น อาการชาตามร่างกาย แขนขาไม่มีแรง ไวต่อประสาทสัมผัสเป็นพิเศษ อ่อนเพลีย ท้องเสีย ท้องผูก กระหายน้ำ เป็นต้น หรือในบางคนอาจไม่เกิดอาการร่วม มีเพียงแค่ไมเกรนขึ้นตาเท่านั้น


ผลข้างเคียงของไมเกรนขึ้นตา

ผลข้างเคียงของไมเกรน

อาการไมเกรนขึ้นตาเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะ หรือชั่วคราวเท่านั้น ไม่ได้ก่อให้เกิดผลต่อการมองเห็นอย่างถาวร แต่อย่างไรก็ตามอาการไมเกรนขึ้นตานั้นก็สามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจนำมาสู่อันตรายได้ เช่น การเกิดไมเกรนขึ้นตาขณะทำกิจกรรมที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตอย่างการขับรถ ควบคุมเครื่องจักร 

หากเกิดอาการนำอย่างไมเกรนขึ้นตาต้องรีบหยุดทำกิจกรรมทันที เพราะเพียงการสูญเสียการมองเห็นชั่วคราว หรือการมองเห็นผิดปกติชั่วขณะก็สามารถนำมาสู่อุบัติเหตุร้ายแรงถึงชีวิตได้


ไมเกรนขึ้นตา เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

ไมเกรนเป็นโรคปวดศีรษะเรื้อรังที่ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลง ในเบื้องต้นอาจรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนปวดตาได้ แต่หากอาการรุนแรงขึ้นควรเข้ารับรักษาโดยแพทย์ เพื่อทำการตรวจและวินิจฉัยโรค และวางแผนการรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อลดอาการปวดไมเกรนปวดตานี้ให้มากที่สุด

หากมีอาการเหล่านี้ ควรพบแพทย์


การวินิจฉัยไมเกรนขึ้นตา

การวินิจฉัยไมเกรนขึ้นตา

อาการไมเกรนขึ้นตานั้นไม่ได้มีวิธีการตรวจเพื่อทราบผลโดยเฉพาะ แพทย์จะอาศัยการเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยและนำมาประกอบคำวินิจฉัย เช่น


แนวทางการรักษาไมเกรนขึ้นตา

แนวทางการรักษาไมเกรนขึ้นตา

การรักษาไมเกรนเบื้องต้น

ไมเกรนขึ้นตา รักษาเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการปวดไมเกรนได้ด้วยวิธีดังนี้

1.หลีกเลี่ยงพฤติกรรมกระตุ้นไมเกรน


การที่โรคไมเกรนจะกำเริบมักมาจากมีสิ่งกระตุ้นไปทำให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน ซึ่งในผู้ที่เป็นไมเกรนควรเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่อาจทำให้เกิดไมเกรนได้ง่าย เช่น กลิ่นน้ำหอม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ การอยู่ในที่ที่เสียงดัง การอยู่ในที่สภาพอากาศแปรปรวน อยู่ในที่อากาศร้อนจัด แสงจ้า เป็นต้น

 

2.ประคบเย็นบรรเทาอาการไมเกรน


การประคบเย็นสามารถช่วยให้หลอดเลือดที่ขยายตัวนั้นเกิดการหดตัวได้บ้าง ทำให้สามารถบรรเทาอาการปวดไมเกรนให้น้อยลงได้

 

3.นวดกดจุดรักษาไมเกรน


การกดจุดบริเวณฝ่ามืดและฝ่าเท้า สามารถช่วยให้อาการปวดหัวไมเกรนลดลงได้

 

การรักษาไมเกรนทางการแพทย์

 

1.ยาแก้ปวดไมเกรน


การใช้ยาแก้ปวดไมเกรนเป็นวิธีรักษาไมเกรนที่ให้ผลค่อนข้างดี และสามารถทำได้ง่ายไม่จำเป็นต้องทำหัตถการทางการแพทย์ใด ๆ โดยยาที่นิยมใช้รักษาอาการปวดหัวไมเกรนปวดตานั้นมีทั้งสำหรับแก้ไมเกรนเฉียบพลัน และยาป้องกันอาการไมเกรน 


ซึ่งตัวยาทั้งสองแบบนี้มีจุดประสงค์สำหรับรักษาที่แตกต่างกัน การใช้งานของยาก็แตกต่างกัน ดังนั้นการจะใช้ยาแก้ปวดไมเกรนสำหรับรักษานั้นจะต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์และเภสัชอย่างใกล้ชิด เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงอันตรายและการใช้ยาผิดวิธี

 

2.ฝังเข็มแก้ไมเกรน

 

การฝังเข็มเป็นการใช้เข็มบาง ๆ สอดไปที่ผิวหนัง โดยเชื่อว่าจะมีผลต่อระบบประสาท สามารถรักษาอาการปวดต่าง ๆ ในร่างกาย รวมทั้งอาการปวดศีรษะไมเกรนได้

 

3.ฉีดยาไมเกรน


การฉีดยาไมเกรนเป็นอีกวิธีรักษาทางการแพทย์ที่ค่อนข้างสะดวกและได้ผลดี มีผลข้างเคียงน้อย แก้ปัญหาการลืมยา การลืมกินยาได้ ตัวยาจะไปยับยั้งสาร CGRP ที่ส่งให้ให้เกิดอาการไมเกรน ทำให้อาการปวดศีรษะไมเกรนหายไป แต่ตัวยาจะมีระยะการออกฤทธิ์เพียง 1 เดือน ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการฉีดยาไมเกรนทุกเดือนเพื่อลดอาการปวดไมเกรน 

 

4.โบท็อกไมเกรน


โบท็อคไมเกรนเมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายแล้วจะไปทำหน้าที่ยับยั้งปลายประสาทที่เป็นตัวกลางในการส่งสัญญาณอาการปวด เมื่อปลายประสาทไม่สามารถส่งสัญญาณได้ จึงทำให้อาการปวดศีรษะไมเกรนหายไปนั่นเอง

 

การรักษาไมเกรนด้วยการฉีดโบท็อกไมเกรนเป็นวิธีการรักษาที่ค่อนข้างนิยม เนื่องจากสามารถลดอาการปวดศีรษะไมเกรนได้โดยไม่จำเป็นต้องทานยาทุกวัน และการรักษาด้วยโบท็อกไมเกรนเพียงหนึ่งครั้งสามารถยับยั้งอาการปวดไมเกรนได้ยาวนานถึง 3 เดือนเลยทีเดียว


วิธีป้องกันไมเกรนขึ้นตา

วิธีป้องกันไมเกรนขึ้นตา

นอกจากการรักษาแล้วหากรู้จักป้องกันตัวเองไม่ให้เกิดการกระตุ้นจนเกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนก็จะทำให้ความรุนแรงและความถี่ของอาการปวดไมเกรนลดลงได้ วิธีป้องกันไมเกรนขึ้นตามีดังนี้


ข้อสรุป

อาการไมเกรนขึ้นตาเป็นหนึ่งในอาการไมเกรนออร่า หรือก็คืออาการนำที่เป็นสัญญาณเตือนก่อนจะเกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน โดยสามารถพบได้ประมาณ 15-20% ของผู้ป่วยที่เป็นโรคไมเกรน อาการไมเกรนขึ้นตานี้จะเกิดความผิดปกติต่อการมองเห็นเพียงชั่วคราว และจะหายไปภายใน 30 นาที 

แต่อย่างไรก็ตามไมเกรนขึ้นตาก็สามารถสร้างอันตรายต่อผู้ป่วยได้ หากขณะเกิดอาการไมเกรนขึ้นตานั้นกำลังทำกิจกรรมที่อันตรายอย่างการขับรถ และอาการไมเกรนขึ้นตานี้ก็เหมือนกับอาการไมเกรนที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถหลีกเลี่ยง ลดความถี่ของอาการไมเกรนเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติมากขึ้น

 

ขอขอบคุณบทความดีๆ : https://www.migrainethailand.com/


 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที