Daisy

ผู้เขียน : Daisy

อัพเดท: 17 ต.ค. 2022 21.51 น. บทความนี้มีผู้ชม: 289919 ครั้ง

รอบรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รู้ก่อน รักษาก่อน บทความที่จะมาเชิญชวนให้นักอ่านทุกคนหันมาดูแลสุขภาพเพื่อตัวเองและคนที่คุณรัก


ติดโควิด-19 รักษาตัวที่บ้านด้วย Home Isolation

ติดโควิด-19 รักษาตัวที่บ้านด้วย Home Isolation

ถึงแม้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ของสายพันธุ์ใหม่ ๆ จะมีระดับความรุนแรงของโรคที่ลดลงแต่กลับทำให้ผู้คนต่างลดระดับการป้องกัน จนเกิดการแพร่ระบาดในวงกว้างขึ้น หากต้องรับผู้ป่วยที่ติดโควิด-19 ทุกคนเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอาจทำให้มีเตียงไม่เพียงพอที่จะรองรับผู้ป่วยได้ทุกคน 

 

ดังนั้นจึงมีแนวทางสำหรับผู้ที่ติดโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง และแพทย์พิจารณาแล้วว่าไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล สามารถกักตัวอยู่บ้านด้วยการทำโฮมไอโซเลท หรือ home isolation ได้

 

ใครที่เคยติดโควิด-19 มาแล้วอาจพอเข้าใจถึงการทำ Home Isolation คืออะไร แต่สำหรับผู้ที่เพิ่งติดหรือยังไม่เคยติดโควิด-19 อาจไม่ทราบถึงความสำคัญของการทำ home isolation หากทำ home isolation ไม่ถูกต้องอาจทำให้เชื้อโควิด-19 แพร่กระจายให้กับคนรอบข้างได้ 

 

ดังนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำ home isolation จึงสำคัญ เพื่อให้การกักตัวอยู่บ้านนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการแพร่กระจายของโรคได้

 


รู้จัก ‘Home Isolation’ คืออะไร?

การรักษาตัวที่บ้าน หรือการทำ home isolation คือแนวทางในการรักษาตัวจากการติดเชื้อโควิด-19 ด้วยตนเอง แต่ยังได้รับการดูแลจากแพทย์ในระยะไกลด้วยเครื่องมือสื่อสารเพื่อติดตามอาการแบบเรียลไทม์ และหากอาการรุนแรงขึ้นจะสามารถรับตัวผู้ป่วยเข้ารักษาที่โรงพยาบาลได้อย่างทันท่วงที


เพราะไม่ใช่ทุกคนที่ติดเชื้อโควิด-19 แล้วเป็นอันตรายถึงชีวิต ยังมีผู้ป่วยอีกมากที่ติดเชื้อโควิด-19 แล้วมีอาการที่ไม่รุนแรงหรือไม่มีอาการใด ๆ ดังนั้นเพื่อเป็นการเก็บเตียงไว้ให้กับผู้ป่วยอาการหนักจริง ๆ และจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล จึงได้มีแนวทางการรักษาแบบ home isolation ขึ้น


home isolation มีข้อดีทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษา ลดภาระให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และยังช่วยให้ผู้ป่วยอาการหนักได้รับการรักษาที่ทั่วถึงขึ้นอีกด้วย

 


Home Isolation สำหรับผู้ป่วยแบบไหน

ไม่ใช่ว่าใครก็สามารถเลือกการรักษาโรคโควิด-19 ด้วยการทำ home isolation ได้ เพราะการรักษาด้วยตนเองยังมีข้อจำกัดหลาย ๆ อย่าง จึงเหมาะกับผู้ป่วยบางกลุ่มเท่านั้น ดังนี้

1.ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 แล้วไม่มีอาการ หรืออาการไม่หนัก ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยผ่านการพิจารณาจากแพทย์แล้ว

2.ผู้ป่วยที่ติดเชื่อโควิด-19 ที่อาการไม่หนักและรอเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยแพทย์พิจารณาแล้วว่าสามารถรอรับการรักษาที่โรงพยาบาลจากที่บ้านก่อนได้

3.ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่ผ่านการรักษาตัวที่โรงพยาบาล หรือสถานที่กักตัวที่รัฐจัดให้มาแล้วอย่างน้อย 10 วัน และแพทย์พิจารณาแล้วว่าสามารถทำ home isolation ต่อที่บ้านตนเองได้


คุณสมบัติของผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ Home Isolation

แพทย์จะพิจารณาจากคุณสมบัติต่าง ๆ เหล่านี้ก่อนลงความเห็นให้ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการกักตัว home isolation 

 

1.ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีอาการ หรืออาการไม่รุนแรง หรือกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว 

 

2.ผู้ป่วยมีสุขภาพโดยรวมแข็งแรงปกติ

 

3.ผู้ป่วยมีอายุไม่เกิน 60 ปี

 

4.ผู้ป่วยไม่มีภาวะน้ำหนักเกิน (ดัชนีมวลการไม่เกิน 30 กก./ม.2 หรือน้ำหนักตัวไม่เกิน 90 กก.)

 

5.ผู้ป่วยสามารถกักตัวได้ในที่พักอาศัยของตนเอง 

 

6.ที่พักอาศัยของผู้ป่วยควรอาศัยอยู่คนเดียว หรือมีผู้ร่วมอาศัยร่วมไม่เกิน 1 คน

 

7.ผู้ป่วยต้องไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอันตรายต่อการติดเชื้อโควิด-19 ได้แก่ โรคปวดอุดกั้นเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง(ระยะที่ 3,4) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวานที่คุมไม่ได้ และโรคอื่น ๆ ตามดุลพินิจของแพทย์

 


เช็คอาการ คุณติดโควิดระดับไหน

เช็คระดับความรุนแรงของโควิดก่อนทำ home isolation

ทางกรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค ได้แบ่งระดับความรุนแรงของโรคโควิด-19 ออกเป็น 3 ระดับ เพื่อคัดกรองระดับความรุนแรงของโรคและสามารถคัดกรองผู้ป่วยได้อย่างง่ายว่าจะให้ผู้ป่วยเข้ารับรักษาตัวที่โรงพยาบาลหรือสามารถรักษา home isolation

1. ผู้ป่วยสีเขียว

ผู้ป่วยสีเขียวอาจมีอาการใดอาการหนึ่งดังต่อไปนี้ หรือบางรายพบการติดเชื้อโควิด-19 แต่ไม่มีอาการใด ๆ เลยก็ได้ เช่น

ในผู้ป่วยสีเขียวจะไม่มีอาการหายใจลำบาก หายใจเหนื่อย หายใจเร็ว ปอดอักเสบ และจะต้องไม่มีโรคร่วมสำคัญหรือมีปัจจัยเสี่ยงโรครุนแรง

2. ผู้ป่วยสีเหลือง

ในผู้ป่วยสีเหลืองจะมีความรุนแรงของโรคที่มากกว่าผู้ป่วยสีเขียว แต่ยังไม่ถึงขั้นวิกฤติอย่างผู้ป่วยสีแดง มักมีอาการเหล่านี้ 

3. ผู้ป่วยสีแดง

ผู้ป่วยสีแดงเป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่อาการรุนแรง จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลโดยด่วน มีอาการดังนี้


ขั้นตอนการเข้ารับ Home Isolation

home isolation รักษาตัวที่บ้าน หยุดการระบาดเชื้อโควิด

ขั้นตอนการกักตัวอยู่บ้านตามแนวทางการเข้ารับการรักษา home isolation ฉบับล่าสุด (4 กรกฎาคม 2565) เพื่อรองรับการนำโรคโควิด-19 เข้าสู่โรคประจำถิ่น แทนการเป็นโรคระบาด มีขั้นตอนดังนี้

1.ผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะเสี่ยง ให้รักษาตามแนวทาง “เจอ แจก จบ” ของกระทรวงสาธารณะสุข โดยไปที่หน่วยบริการประจำหรือหน่วยบริการปฐมภูมิตามสิทธิ หรือโทรประสานร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการ ดูรายชื่อร้านยาได้ที่ https://www.nhso.go.th/downloads/197 (เฉพาะผู้ป่วยสิทธิบัตรทางหรือสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้น)

โดยการทำ home isolation 7+3 ของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีเพียงจ่ายยาตามอาการ โทรติดตามอาการเพียงครั้งเดียว และระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง แต่จะไม่ได้รับอาหาร เครื่องวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว

2.ผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง/ไม่มีโรคร่วมสำคัญ เข้ารับการรักษา home isolation 7+3 การจ่ายยาจะพิจารณารายบุคคล มีระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง (โทรติดตามอาการ, เครื่องวัดไข้และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว, ส่งอาหารถึงบ้าน)

3.ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง กลุ่ม 608 หรือมีอาการรุนแรง สามารถรัการรักษาตามดุลพิินิจของแพทย์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งรักษาแบบผู้ป่วยในหรือการรักษา home isolation (สำหรับการรักษา home isolation จะมีแพทย์โทรติดตามอาการ มีเครื่องวัดไข้และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว พร้อมกับบริการส่งอาหารถึงบ้าน)

4.ผู้ป่วยกลุ่มวิกฤติ สีแดง โดยมีอาการหอบเหนื่อยมาก แน่นหน้าอก ปอดอักเสบรุนแรง ตอบสนองช้า ไม่รู้สึกตัว ไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส ค่าออกซิเจนต่ำกว่า 94 สามารถใช้สิทธิ UCEP เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่ เข้ารักษาโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุดได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 
 


สิ่งที่ผู้ป่วยจะได้รับการสนับสนุนเมื่อต้องทำ HI

จากแนวทางการเข้ารับการรักษา home isolation ฉบับล่าสุด (4 กรกฎาคม 2565) เพื่อรองรับการนำโรคโควิด-19 เข้าสู่โรคประจำถิ่น แทนการเป็นโรคระบาด จะมีการสนับสนุนเมื่อเข้ารับการรักษา home isolation ดังนี้

แนวทาง เจอ แจก จบ ของกระทรวงสาธารณะสุข สำหรับผู้ไม่มีภาวะเสี่ยง

ผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยง


ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ป่วย Home Isolation

การปฏิบัติตัว home isolation

การปฏิบัติตัว home isolation ที่ถูกต้องตามข้อแนะนำกรมควบคุมโรคมีดังนี้


ข้อแนะนำสำหรับสถานที่กักตัว Home Isolation

พื้นที่ home isolation ปลอดโปร่ง แสงแดดเข้าถึง

การทำ home isolation ที่ดีที่สุดคือควรพักอาศัยอยู่คนเดียว แต่อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยอีกมากที่ไม่ได้พักอาศัยเพียงคนเดียว ไม่ว่าจะอาศัยกับคนในครอบครัว หรือพักอยู่ในคอนโดมิเนียมก็ตาม ดังนั้นควรเตรียมสถานที่ให้เหมาะสม เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ดังนี้


ของใช้และยาที่จำเป็นสำหรับ Home Isolation

ของใช้และยาที่จำเป็นสำหรับ Home Isolation

การเตรียมตัวเข้ารับการรักษา home isolation ควรมีของใช้ อุปกรณ์ และยาเหล่านี้

ข้อควรระวังในการใช้ยา

สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวและมีการใช้ยาอยู่ในขณะนั้น ต้องระวังการใช้ยาขณะเข้ารับการรักษา home isolation เช่น สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ต้องตรวจน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอ หากน้ำตาลต่ำให้งดอินซูลิน เพราะน้ำตาลต่ำขณะติดโควิด-19 จะเป็นอันตรายกว่าปกติ 

หรือหากมีการใช้ยาขับปัสสาวะอยู่ ต้องระวังไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ เพราะขณะติดโควิดร่างกายจะอ่อนเพลียง่าย หากขาดน้ำจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียยิ่งกว่าเดิม

 


วิธีสังเกตอาการสำหรับผู้ป่วย Home Isolation

ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่แพทย์ให้ทำการรักษา home isolation จะต้องสังเกตอาการของตนเองอยู่เสมอ หากอาการป่วยรุนแรงขึ้น มีอาการหอบเหนื่อย ไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส ค่าออกซิเจนในเลือดต่ำลงมาก อาการซึม การรับรู้ลดลง ให้รีบติดต่อแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที 


หากกักตัวอยู่บ้านจนตรวจไม่พบเชื้อและครบกำหนดกักตัวแล้ว ควรสังเกตอาการลองโควิดด้วย

 


รักษาตัวที่บ้าน Home Isolation กักตัวกี่วัน

สำหรับผู้ป่วยที่ตรวจพบเชื้อโควิด-19 ที่ทำการรักษา home isolation จะต้องกักตัวอยู่บ้าน 7+3 วัน โดยให้ตรวจ ATK ซ้ำเมื่อครบ 7 วันหลังพบเชื้อ หรือเมื่อมีอาการ หากผลยังเป็นบวกให้ทำ home isolation ต่อ และเมื่อไม่มีอาการให้ตรวจ ATK ซ้ำอีกครั้ง


หากตรวจผลเป็นลบ ให้กักตัวต่ออีก 3 วันและปฏิบัติตามหลัก DMHTT (DMHTT คือแนวทางปฏิบัติที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ใช้ในการชะลอการระบาดของ โควิด-19 คือ อยู่ห่างไว้, ใส่มาก์สกัน, หมั่นล้างมือ, ตรวจให้ไว, ใช้ไทยชนะ และหมอชนะ)

 


ข้อสรุป

สำหรับผู้ที่ติดโควิด-19 และมีอาการไม่รุนแรงหรือไม่มีอาการใด ๆ การทำ home isolation อย่างถูกวิธีนอกจากจะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 เพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นแล้ว ยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล และยังช่วยลดภาระให้บุคลากรในโรงพยาบาล ให้สามารถไปรักษาผู้ป่วยที่อาการรุนแรงได้มากขึ้น


 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที