Daisy

ผู้เขียน : Daisy

อัพเดท: 17 ต.ค. 2022 21.51 น. บทความนี้มีผู้ชม: 286565 ครั้ง

รอบรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รู้ก่อน รักษาก่อน บทความที่จะมาเชิญชวนให้นักอ่านทุกคนหันมาดูแลสุขภาพเพื่อตัวเองและคนที่คุณรัก


ภาวะมิสซี (MIS-C) อาการลองโควิดในเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ต้องจับตามอง

ภาวะมิสซี (MIS-C) อาการลองโควิดในเด็ก

ความอันตรายของการติดเชื้อโคโรนาไวรัสในเด็กอาจไม่ได้รุนแรงมากเท่าผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ แต่ความอันตรายของโควิดในเด็กนั้นจะเริ่มจากหลังได้รับการรักษาโรคโควิด-19 จนหายไปแล้วหรือก็คืออาการลองโควิดในเด็ก (Long COVID) 

 

ซึ่งในเด็กและวัยรุ่นนั้นอาจเกิดอาหารแทรกซ้อนขณะอยู่ในช่วงลองโควิดได้ กลายเป็นภาวะ MIS-C หรืออาการอักเสบทั่วร่างกาย ที่เป็นอันตรายมากหากอาการแทรกซ้อนรุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

 

ภาวะมิสซีที่เป็นอาการแทรกซ้อนจากภาวะลองโควิดที่พบในเด็กและวัยรุ่นนั้นมักจะพบในช่วงที่รักษาโควิดจนหายไปแล้วกว่าหลายสัปดาห์ ทำให้ผู้ปกครองอาจละเลยไปจนทำให้อาการแทรกซ้อนนั้นรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นผู้ปกครองควรสังเกตบุตรหลานที่เคยติดเชื้อโควิดอย่างใกล้ชิด หากเด็กเกิดภาวะมิสซีขึ้นจะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที

 

ก่อนจะไปถึงขั้นนั้น ผู้ปกครองควรจะเข้าใจภาวะ MIS-C คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับโรคโควิด และทำไมภาวะมิสซีจึงเป็นอันตรายถึงชีวิตโดยสามารถอ่านข้อมูลต่าง ๆ ได้จากบทความนี้

 


ภาวะ MIS-C ลองโควิดในเด็ก

ภาวะมิสซี (MIS-C : Multisystem Inflammatory Syndrome in Children) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สามารถพบได้ในผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคโควิด และกำลังอยู่ในภาวะลองโควิด โดยภาวะมิสซีนี้จะพบได้ในเด็ก ลักษณะอาการของภาวะ MIS-C คืออาการอักเสบหลาย ๆ อวัยวะและหลาย ๆ ระบบทั่วร่างกาย 


โดยการอักเสบที่เกิดนั้นจะพบการอักเสบมากกว่า 2 ระบบขึ้นไปพร้อมกัน และมีอาการคล้ายกับโรคคาวาซากิ (Kawasaki Disease) ที่มีอาการไข้สูง ผื่นขึ้นตามตัว ลิ้นบวม ปวดท้อง ต่อมน้ำเหลืองโต


ภาวะ MIS-C หรือลองโควิดในเด็กนั้นเป็นอันตรายมาก หากไม่ได้รับการรักษาทันทีอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้


ในผู้ป่วยเด็กที่เคยติดเชื้อโคโรนาไวรัสและได้รับการรักษาจนหายแล้ว และมีภาวะ long covid ในเด็กพบได้สูงถึง 25-45% จากผู้ป่วยเด็กที่เคยติดเชื้อทั้งหมด และยังพบในเด็กผู้ชายสูงกว่าในเด็กผู้หญิงอีกด้วย โดยเด็กที่มีภาวะ MIS-C มีอายุเฉลี่ย 8-11 ปี 


อาการที่พบในเด็กที่มีภาวะ MIS-C มีดังนี้

 


ภาวะมิสซีจะทำให้ระบบร่างกายทำงานผิดปกติจากการอักเสบ โดยระบบที่ผิดปกติที่พบบ่อยคือ ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบประสาท อัตราการเสียชีวิตจากภาวะ MIS-C คิดเป็น 0.3% และมักมีสาเหตุมาจากอาการช็อคจากความดันต่ำ 


ภาวะมิสซี (MIS-C) เกิดจากสาเหตุใด

ภาวะ MIS-C เกิดจากสาเหตุใดนั้นในปัจจุบันเรายังไม่สามารถหาคำตอบได้ แต่มีข้อสันนิษฐานว่าภาวะมิสซีอาจเกิดจากเชื้อโคโรนาไวรัสหรือชิ้นส่วนใด ๆ ของเชื้อโคโรนาไวรัสที่อาจแฝงตัวหลังจากรักษาโรคโควิด-19 จนหายแล้ว และเมื่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกายตรวจพบอาจเกิดปฏิกิริยาจนทำให้เกิดการอักเสบในระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย


โดยภาวะมิสซีจะพบหลังจากรักษาโควิดจนหาย หรือตรวจไม่พบเชื้อในร่างกาย (หรือมีปริมาณน้อยจนไม่สามารถตรวจพบเชื้อ) ไปแล้วประมาณ 2-6 สัปดาห์ ภาวะมิสซีที่เกิดขึ้นนั้นสามารถส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะระบบหัวใจและหลอดเลือด แฃะมักจะเกิดความผิดปกติในหลาย ๆ ระบบพร้อม ๆ กัน


MIS-C พบได้ในเด็กกลุ่มใดบ้าง

ภาวะ MIS-C พบในเด็กกลุ่มไหนบ้าง

ภาวะ MIS-C หรืออาการแทรกซ้อนลองโควิดในเด็กเป็นภาวะที่ทำให้เกิดการอักเสบของหลาย ๆ ระบบในร่างกาย และมีอาการคล้ายกับโรคคาวาซากิ  (Kawasaki Disease) มักจะพบในเด็กกลุ่มดังต่อไปนี้

  • เด็กที่มีอายุประมาณ 8-11 ปี
  • พบในเด็กผู้ชายสูงกว่าในเด็กผู้หญิง
  • พบได้บ่อยในประเทศฝั่งยุโรป อเมริกา และอินเดีย

สำหรับประเทศไทยนั้นผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะมิสซียังพบได้น้อย แต่อย่างไรก็ตามผู้ปกครองก็ควรจับตามองลูกหลานของตน เพราะหากเกิดอาการผิดปกติขึ้นจะได้เข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที


สังเกตอาการภาวะ MIS-C ในเด็ก

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกหลานของคุณมีอาการภาวะ MIS-C หรืออาการลองโควิดในเด็ก ? อย่างที่ได้กล่าวไปในหัวข้อก่อน ๆ แล้วว่าภาวะ MIS-C คือการอักเสบของระบบต่าง ๆ ทั่วร่างกายพร้อม ๆ กันมากกว่า 2 ระบบขึ้นไป แต่ทางผู้ปกครองจะสังเกตอย่างไรว่าร่างกายของลูกหลานของคุณมีอาการอักเสบจากภาวะมิสซี ?


การอักเสบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะมีสัญญาณเตือน ผู้ปกครองสามารถสังเกตลูกหลานได้ว่าหากมีอาการเหล่านี้ ลูกหลานของคุณอาจเข้าข่ายภาวะมิสซีแล้ว อาการที่สามารถสังเกตได้มีดังนี้

 

  • ไข้ขึ้นสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส ติดต่อกันนานเกิน 24 ชั่วโมง
  • ผื่นขึ้นตามตัว แขนขา หน้าอก หรือทั่วร่างกาย
  • แน่นหน้าอก ใจสั่น หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ
  • ปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน
  • ความดันต่ำ
  • ต่อมน้ำเหลืองที่คอโตผิดปกติ

หากพบหนึ่งในอาการเหล่านี้ ประกอบกับเคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อนก็มีโอกาสที่จะเกิดภาวะมิสซีได้ ดังนั้นหากพบอาหารเหล่านี้ควรเข้าพบแพทย์ทันที


เปรียบเทียบอาการของภาวะ MIS-C กับโรคคาวาซากิ

อาการของภาวะ MIS-C กับโรคคาวาซากินั้นมีลักษณะอาการที่ใกล้เคียงกันมาก อย่างเช่น ไข้ขึ้นสูง ตาแดง ผื่นขึ้นตามตัว ต่อมน้ำเหลือโต แต่ถึงอย่างนั้นสาเหตุการเกิดโรคทั้งสองชนิดนี้ต่างกันโดยสิ้นเชิง 

ในผู้ป่วยภาวะ MIS-C มักพบในช่วงอายุ 8-11 ปี แต่ในโรคคาวาซากิจะพบในผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 5 ปี และระดับความรุนแรงของภาวะมิสซีนั้นสูงกว่าโรคคาวาซากิอย่างมาก เพราะภาวะมิสซีส่งผลกระทบกับระบบต่าง ๆ ในร่างกายอย่างมาก โดยเฉพาะระบบหัวใจและหลอดเลือด และภาวะมิสซียังมีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าโรคคาวาซากิอีกด้วย


แต่อย่างไรก็ตามการแยกโรคคาวาซากิกับภาวะ MIS-C เองนั้นไม่สามารถทำได้ จำเป้นจะต้องให้แพทย์ตรวจ โดยแพทย์จะส่งตรวจเลือด อัลตราซาวด์หัวใจ เพื่อนำผลมาประเมินแยกโรคได้อย่างแม่นยำที่สุด


ความรุนแรงของภาวะมิสซี (MIS-C) 

ภาวะ MIS-C ทำให้เกิดการอักเสบในหลาย ๆ ระบบทั่วร่างกาย จึงทำให้ระบบหลาย ๆ ระบบเกิดความผิดปกติขึ้น และมักเกิดอาการผิดปกติในระบบร่างกายมากกว่า 2 ระบบ ได้แก่

  • ระบบประสาท เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการชัก
  • ระบบทางเดินหายใจ ปอดอักเสบ ลิ่มเลือดอุดตันในปอด ทำให้หายใจได้ไม่เต็มปอด แน่นหน้าอก หายใจลำบาก
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด เหนื่อยง่าย ใจสั่น หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ หัวใจอักเสบ หลอดเลือดอุดตัน ความดันต่ำอาจเกิดอาการช็อคได้
  • ระบบเลือด การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
  • ระบบทางเดินอาหาร ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ตับอักเสบ
  • ระบบไต ไตวายเฉียบพลัน
  • ระบบผิวหนัง เยื่อบุผิวหนังอักเสบ เกิดเป็นผื่นแดง

การตรวจวินิจฉัยภาวะมิสซี (MIS-C) 

เมื่อพบว่าลูกหลานของคุณเข้าข่ายภาวะ MIS-C แพทย์จะทำการตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยโรค ดังนี้

 

  • ตรวจหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogogram) เพื่อดูความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจ
  • ประเมิน Volume Status ดูภาวะโป่งพองของหลอดเลือด
  • เจาะเลือด ตรวจดูค่าปฏิกิริยาการอักเสบของร่างกาย
  • ตรวจอวัยวะที่อาจเกิดการอักเสบ

แนวทางการรักษาภาวะมิสซี (MIS-C)

ภาวะ MIS-C เป็นภาวะที่พบใหม่ ดังนั้นในปัจจุบันจึงยังไม่มีวิธีรักษาที่เจาะจง การรักษาภาวะมิสซีจึงเป็นการรักษาตามอาการ ดังนี้

การรักษาภาวะ MIS-C แบบประคับประคองอาการ

การรักษาแบบประคับประคองอาการ (Palliative care) หรือ การรักษาตามอาการ (Supportive care) จะมุ่งเน้นการบรรเทาอาการเจ็บปวดจากอาการที่เกิดโดยภาวะมิสซีเป็นหลัก โดยสามารถทำให้ผู้ป่วยภาวะมิสซีมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การรักษารูปแบบนี้มักใช้กับโรคที่ยังไม่มีวิธีรักษาที่เจาะจง และใช้กับโรคที่ไม่มีทางรักษาให้หายสนิท

การรักษาภาวะ MIS-C ด้วยการให้ยากลุ่มต้านการอักเสบ

จากอาการของภาวะมิสซีที่ทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย ดังนั้นการรักษาภาวะมิสซีจึงมักใช้ยาต้านการอักเสบ ยาอิมมูโนกลอบูลิน (Human normal immunoglobulin, intravenous: IVIG) ที่ใช้ในผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง และใช้ยาสเตียรอยด์ เนื่องจากยากลุ่มนี้สามารถลดอาการอักเสบของผู้ป่วยภาวะมิสซีได้


สิ่งสำคัญในการรักษาภาวะมิสซี คือการลดการอักเสบและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น โดยแพทย์จำเป็นต้องติดตามอาการเด็กที่มีภาวะมิสซีอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี


วิธีป้องกัน MIS-C ภาวะลองโควิดในเด็ก

 การป้องกันภาวะ MIS-C

การป้องกันภาวะ MIS-C ที่ได้ผลดีที่สุดคือการไม่ติดเชื้อโควิด-19 เพราะภาวะมิสซีจะมีโอกาสเกิดขึ้นก็ตามเมื่อเคยติดเชื้อโควิด-19 ดังนั้นผู้ปกครองควรดูแลลูกหลานของตนอย่างใกล้ชิด หลีกเลี่ยงการสัมผัสและการเข้าใกล้ผู้คนโดยเว้นระยะห่างประมาณ 1.5-2 เมตรขึ้นไป สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้งหลังสัมผัสสิ่งของต่าง ๆ รับประทานอาการที่มีประโยชน์ และการเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพื่อป้องกันการติดโรคโควิดมากขึ้น


คำถามที่พบบ่อย

หลังติดโควิด พบภาวะ MIS-C ในเด็กได้เมื่อไหร่

ตอบ ในเด็กที่เคยติดเชื้อโควิด-19 และได้รับการรักษาจนหายแล้ว อาจพบภาวะ MIS-C หรือลองโควิดในเด็กได้หลังรักษาโรคโควิด-19 ไปแล้วประมาณ 2-6 สัปดาห์ โดยสามารพบในเด็กอายุ 8-11 ปี และพบได้ในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง โดยภาวะมิซซีมักพบในประเทศฝั่งยุโรป อเมริกา และอินเดีย

ภาวะ MIS-C เป็นโรคติดเชื้อหรือไม่

ตอบ ถึงโรคโควิด-19 ที่เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะ MIS-C จะเป็นโรคระบาดติดเชื้อ แต่ภาวะ MIS-C เป็นอาการผิดปกติของร่างกายที่พบหลังจากรักษาโรคโควิด-19 จนหายไปแล้ว และไม่มีเชื้อที่สามารถแพร่ระบาดได้ ภาวะ MIS-C จึงไม่เป็นโรคติดเชื้อ 


ข้อสรุป

ภาวะ MIS-C คือภาวะการอักเสบทั่วร่างกายที่เกิดขึ้นหลังจากรักษาโรคโควิดจนหายไปแล้ว โดยภาวะมิสซีจะเกิดขึ้นในเด็ก เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้ระบบร่างกายทำงานผิดปกติ และเป็นอันตรายอย่างมาก หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที และอาการแทรกซ้อนรุนแรงขึ้นอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

ดังนั้นผู้ปกครองที่เคยมีลูกหลายติดโควิด-19 ควรเฝ้าระวัง สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากลูกหลายของคุณมีความเสี่ยที่จะเกิดภาวะมิสซีอย่าได้ปล่อยปะละเลย ให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาทันที


 

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที