Daisy

ผู้เขียน : Daisy

อัพเดท: 17 ต.ค. 2022 21.51 น. บทความนี้มีผู้ชม: 308677 ครั้ง

รอบรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รู้ก่อน รักษาก่อน บทความที่จะมาเชิญชวนให้นักอ่านทุกคนหันมาดูแลสุขภาพเพื่อตัวเองและคนที่คุณรัก


ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาเออร์โกทามีน (Ergotamine) ทางออกของปัญหาไมเกรน

ยา Ergotamine

คนที่เป็นไมเกรนบ่อย ๆ คงรู้ดีว่า แค่พาราเซตามอลนั้นไม่สามารถรักษาอาการปวดหัวที่แสนจะทรมานจากโรคนี้ได้ เพราะจำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวดเฉพาะทาง ซึ่งไม่สามารถใช้ยาสามัญประจำบ้านได้อย่างแน่นอน  

หลายคนคงจะคุ้นเคยดีกับชื่อยาเออร์โกทามีน หรือ Ergotamine แต่อาจจะไม่รู้ถึงคุณประโยชน์หรือโทษของมัน  วันนี้เราจะพาไปเจาะลึกกัน ว่ายาเออร์โกทามีนควรใช้อย่างไร มีข้อห้ามอะไร ห้ามใช้กับยาอะไรบ้าง?

ยาเออร์โกทามีน (Ergotamine)

เออร์โกทามีน

ยาเออร์โกทามีน (Ergotamine) เป็นยาในกลุ่มตระกูลเออร์กอต แอลคาลอยด์ (Ergot Alkaloid) สารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ที่ใช้รักษาเกี่ยวกับอาการปวดเฉียบพลัน ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะคุ้นเคยในชื่อมอร์ฟีน ออกฤกธิ์โดยตรงต่อระบบประสาทและหลอดเลือด โดยยาเออร์โกทามีนจะมีสารชนิดเดียวกันเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด จากการที่หลอดเลือดขยายตัวอย่างเฉียบพลันของไมเกรนได้

ในศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการใช้สารในตัวยานี้เป็นครั้งแรก เพื่อช่วยกระตุ้นการคลอดบุตร รวมถึงมีการใช้ป้องกันการตกเลือดหลังคลอดด้วย แต่สมัยนั้นยังไม่มีการกำหนดปริมาณยาที่ควรใช้อย่างแน่นอน จึงได้มีการยกเลิกไป ภายหลังอาเธอร์ สตอล (Arthur Stoll) นักชีวะเคมีได้สกัดสารในตัวยาในปริมาณที่เหมาะสมออกมาสำเร็จ จึงเริ่มจำหน่ายอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1921 ภายใต้ชื่อ Gynergen


ปัจจุบันมีการจำหน่ายตัวยาเออร์โกทามีน ภายใต้ชื่อทางการค้าหลายชื่อ โดยที่จำหน่ายในประเทศไทยก็จะมี คาร์เฟอร์ก็อต (Cafergot), เอวาไมเกรน (Avamigran), โทฟาโก้ (Tofago), หรือโพลิกอต-ซีเอฟ  (Poligot-CF) เป็นต้น
 

ยา Ergotamine รักษาไมเกรนได้อย่างไร

ยาแก้ไมเกรน

ยาเออร์โกทามีน (Ergotamine) ออกฤทธิ์โดยตรงกับระบบประสาทและหลอดเลือด โดบตัวยาจะไปทำปฏิกิริยากับสารสื่อประสาท (Serotonin) ) ชนิด 1B และ 1D (5-HT1B และ 5-HT1D) เมื่อทำปฏิกิริยาสำเร็จ ตัวยาจะทำให้หลอดเลือดที่กำลังขยายตัวหดลง ส่งผลให้อาการปวดหัวจากหลอดเลือดขยายตัวเฉียบพลันหายไป

ข้อควรระวังก่อนใช้ยา Ergotamine

- แจ้งแพทย์หากมีประวัติแพ้ยาชนิดนี้

- แจ้งโรคประจำตัวเช่น หอบหืด ความดัน โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด

- แจ้งรายชื่อยาที่รับประทานเป็นประจำ

- แจ้งรายชื่อวิตามินหรืออาหารเสริมที่ทานประจำ

- หากเป็นหวัดไม่ควรใช้ยาชนิดนี้

 

แนะนำวิธีใช้ยา Ergotamine ที่ถูกต้อง

อ่านฉลากก่อนใช้ยา

หากจำเป็นต้องใช้ยาเออร์โกทามีน ควรศึกษาจากคำเตือนก่อนใช้ยาหรือปรึกษาแพทย์เท่านั้น โดยทั่วไปแล้ว การรักษาโดยใช้ยาเออร์โกทามีนที่ถูกต้องมักมีดังนี้

- ใช้เฉพาะเวลามีอาการ

- ห้ามใช้ติดต่อกันทุกวัน

- รับประทาน 1-2 เม็ด ในครั้งแรกเมื่อมีอาการ

- หากอาการยังไม่ดีขึ้น ให้รับประมาณอีก 1 เม็ดในครึ่งชั่วโมง แต่ห้ามเกินวันละ 6 เม็ด

- ห้ามรับประทานเกิน 10 เม็ด ต่อสัปดาห์

 

อันตรายจากการใช้ยา Ergotamine ร่วมกับยาบางชนิด

ผลข้างเคียง Ergotamine

นอกเหนือจากการระวังการใช้ยาเออร์โกทามีนอย่างเดียวแล้ว การรับประทานยาร่วมกับยาชนิดอื่นก็ส่งผลเสียได้ อย่างเช่น ภาวะเออร์โกทิสซึ่ม (Ergotism)

โดยสภาวะนี้มักเกิดจากการที่หลอดเลือดแดงส่วนปลายเกิดการหดตัวการการรับประทานยาประเภทเออร์โกทามีนเกินขนาด ผู้ป่วยมักมีอาการมือเท้าทั้งสองข้างเย็นเขียว ด้านชา ไม่สามารถจับชีพจรได้ ซึ่งเกิดจากการที่เลือดไม่ไปเลี้ยงมือเท้าเฉียบพลัน ในขั้นรุนแรงจะทำให้เกิดอาการเนื้อเยื่อตาย หัวใจเต้นช้า และความดันโลหิตลดลง

กลุ่มยาที่ห้ามใช้ร่วมกับ Ergotamine

ยาบางชนิดเมื่อใช้ร่วมกับยาเออร์โกทามีนจะทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์เช่น ทำให้ฤทธิ์ยาเสื่อม ทำให้ยาออกฤทธิ์เกินขนาด ซึ่งอาจทำให้จำเป็นต้องตัดแขนตัดขา หรืออาจส่งผลแก่ชีวิตได้ กลุ่มยาต่อไปนี้คือกลุ่มยาที่ไม่ควรใช้ร่วมกับยาเออร์โกทามีนโดยเด็ดขาด

1. ยาต้านเชื้อรากลุ่ม Azoles

ยาต้านเชื้อรากลุ่ม Azoles เป็นยาที่ใช้ต้านเชื้อราได้หลายชนิด มีฤทธิ์กว้าง เช่น fluconazole, Itraconazole, ketoconazole, voriconazole

2. ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Macrolides

ยารักษาการติดเชื้อทางระบบหายใจ ใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่แพ้กลุ่มยาเพนินซิลิน (Penicillin) เช่น Azithromycin, Clarithromycin, Medicamycin, Roxithromycin เป็นต้น 

3. ยาต้านเชื้อไวรัสกลุ่ม Protease Inbihitors

ยายับยั้งการสร้างโปรตีนของไวรัส ใช้ในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือผู้ป่วยโรคเอดส์ เช่น Darunavir, Indinavir, Nelfinavir, Ritonavir เป็นต้น

4. ยารักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด

สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ยาเหล่านี้เองก็ห้ามใช้ร่วมกับยาเออร์โกทามีน โดยมีตั้งแต่ Ace-inhibitors, Angiotensin II receptor blockers, Beta-Blocker, Diuretics

5. กลุ่มยาต้านเศร้า

ในยาต้านเศร้าบางชนิดก็มีฤทธิ์เพิ่มเซโรโทนินในระบบประสาท เช่น fluoxetine, fluvoxamine เป็นต้น

6. ยารักษาโรคไมเกรนกลุ่ม Triptans

ยารักษาไมเกรนชนิดนี้หากใช้คู่กับยาเออร์โกทามีนจะทำให้ออกฤทธิ์มากไปจนเกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้ ยาชนิดนี้จะมีทั้งชนิดพ่น ชนิดฉีด ชนิดอม และชนิดเม็ด ซึ่งใช้รักษาไปตามอาการ

ใครบ้างที่ห้ามใช้ยา Ergotamine

แม้จะมีประโยชน์มาก แต่ก็มีคนบางกลุ่มที่ไม่ควรใช้ยาเออร์โกทามีนด้วยเช่นกัน ได้แก่


- ผู้ที่มีประวัติแพ้ยา ergotamine หรือสารรักษาตระกูล ergot alkaloid

- ผู้ที่มีประวัติหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน

- ผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจ

- ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่อาการยังไม่เสถียร

- ผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสเลือด

- ผู้ป่วยที่สภาวะการทำงานของตับและไตบกพร่อง

- สตรีมีครรภ์ในทุกไตรมาส


ทั้งนี้ทั้งนั้นหากจะซื้อยารักษาตนเอง เราควรจะระมัดระวังเสมอ ทางที่ดีที่สุดคือควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดจากยา Ergotamine

หากเกิดอาการไม่พึงประสงค์เหล่านี้ควรพบแพทย์ทันที

- ใจสั่น หายใจไม่ออก

- ปลายมือปลายเท้าชา

- คลื่นไส้อาเจียน

- เจ็บแน่นหน้าอก

- เป็นผื่นลมพิษ

- มือเท้าอ่อนแรง

- ชีพจรเต้นผิดจังหวะ

- ชัก มึนงงสับสน

วิธีเก็บรักษายาเออร์โกทามีน

- เก็บในที่แห้ง พ้นแสง

- ไม่ควรเก็บในที่อากาศร้อนหรือชื้น

- เก็บให้พ้นมือเด็ก

ทางเลือกอื่นในการรักษาโรคไมเกรน

การรักษาโรคไมเกรนไม่จำเป็นต้องกินยาอย่างเดียวแต่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ได้ด้วย วันนี้เรารวบรวมวิธีการรักาาอื่น ๆ มาให้แล้ว มีอะไรบ้าง ไปดูกัน!
 

1. การบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนเบื้องต้น

รักษาไมเกรน ไม่ใช้ยา

- นอนพักในที่มืดและสงบ

- ทำกิจกรรมให้ผ่อนคลาย

- ประคบเย็นบริเวณที่ปวด

- หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดไมเกรน เช่น แสงจ้า อากาศร้อน เสียงดัง หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์
 

2. การรักษาไมเกรนทางการแพทย์

ยารักษาไมเกรน

- กดจุดรักษาไมเกรน : เป็นวิธีที่เพิ่งค้นพบไม่นานนัก แต่เป็นการรักษาเบื้องต้นได้ดี โดยแพทย์ผู้รักษาจะกดลงบริเวณระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ข้างละ 5 นาที
 

- ฝังเข็ม : การฝังเข็มได้รับความนิยมมาอย่างช้านาน แต่จำเป็นจะต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เนื่องจากมีความละเอียดอ่อนอย่างมาก

- ฉีดโบท็อก : ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เมื่อโบท็อกซ์ก็สามารถรักษาไมเกรนได้ เนื่องจากสามารถเข้าไปยับยั้งปลายประสาทที่เป็นตัวกลางในการส่งสัญญาณความเจ็บปวดที่สมองได้ แม้โบท็อกซ์จะไม่สามารถรักษาได้ทันที แต่จะออกฤทธิ์ได้นาน 3-4 เดือน ตามปริมาณแล้วจึงค่อย ๆ เสื่อมประสิทธิภาพตามเวลา ถึงอย่างนั้นก็ดูจะคุ้มค่าเพราะได้ทั้งหน้าตาที่อ่อนเยาว์ทั้งอาการปวดหัวที่หายไป เรียกได้ว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวเลยทีเดียว!

ข้อสรุป

การรักษาไมเกรนด้วยการกินยาเออร์โกทามีนควรรับประทานตามแพทย์สั่งเท่านั้น ถ้าหากว่ารับประทานที่ผิดวิธีหรือต่อเนื่องนานเกินไป อาจส่งผลในระยะยาวได้ ค่ารักษาหรือสิ่งอื่น ๆ ที่ตามมาอาจจะไม่คุ้มค่ากับการคลายปวดแค่ช่วงเวลาสั้น ๆ

 

ขอบคุณเนื้อหาจาก https://www.migrainethailand.com/

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที