Daisy

ผู้เขียน : Daisy

อัพเดท: 17 ต.ค. 2022 21.51 น. บทความนี้มีผู้ชม: 308210 ครั้ง

รอบรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รู้ก่อน รักษาก่อน บทความที่จะมาเชิญชวนให้นักอ่านทุกคนหันมาดูแลสุขภาพเพื่อตัวเองและคนที่คุณรัก


ตรวจไขมันในเลือด (Lipid Profile) รู้ตัวเร็ว ดูแลตนเองได้ง่ายกว่า!

ตรวจไขมันในเลือด

ไขมัน เป็นหนึ่งในสารอาหารตามโภชนาการที่ให้ค่าพลังงานสูงที่สุด และมีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกาย เช่น การดูดซึมสารอาหารประเภทละลายในไขมัน (วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินเค) การรักษาสมดุลของผิวหนัง การให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย การรองรับและป้องกันอวัยวะภายใน เป็นต้น
 

อย่างไรก็ตามไขมันที่มากเกินความจำเป็นก็มีโทษเช่นกัน เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดโรคอันตรายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน และอื่น ๆ อีกมากมาย
 

นอกจากนี้ความอันตรายของไขมันที่มีมากเกินในร่างกายนั้นเราไม่สามารถทราบได้เลยจนกว่าร่างกายจะแสดงสัญญาณของโรคอันตรายเสียแล้ว ดังนั้นเพื่อไม่ให้สายเกินแก้ ตรวจไขมันในเลือดจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง หากพบว่าไขมันในเลือดสูงก่อนก็สามารถดูแลตนเอง ปรับพฤติกรรม รวมไปถึงการรักษาที่ง่ายกว่า


ภาวะไขมันในเลือดสูง

เลือดเป็นของเหลวที่ไหลเวียนอยู่ภายในร่างกาย โดยเปรียบเสมือนแม่น้ำที่คอยลำเลียงสารอาหารต่าง ๆ ไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย และมีหลอดเลือดเป็นเส้นทางให้เลือดไหลเวียนผ่าน ไขมันซึ่งเป็นหนึ่งในสารอาหารจึงสามารถพบได้ในเลือดเช่นกัน แต่เมื่อใดที่ปริมาณไขมันในเลือดสูงก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้หลอดเลือดเกิดการอุดตันได้

ไขมันอุดตันในหลอดเลือดอันตรายอย่างไร ? อย่างที่ได้กล่าวไว้ว่าเลือดจะต้องคอยลำเลียงสารอาหารและอื่น ๆ ส่งไปตามอวัยวะต่าง ๆ หากหลอดเลือดที่เป็นเส้นทางเกิดการอุดตัน ก็จะทำให้เลือดไหลเวียนผ่านไปยากขึ้น อวัยวะภายในร่างกายก็จะมีเลือดไปไหลเวียนน้อยลง และได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ ก่อให้เกิดโรคตามมาได้


ยิ่งไปกว่านั้นหากการอุดตันของหลอดเลือดมากจนปิดกั้นทางเดินของเลือดจนเกือบหมด ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักเพราะการเพิ่มความดันเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ และหากการเพิ่มความดันสูงมากจนหลอดเลือดรับไม่ไหวจนแตก ก็จะทำให้เกิดอันตรายขึ้น และถ้าจุดที่หลอดเลือดแดงแตกนั้นเป็นจุดสำคัญก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว


ไขมันในเลือดสูงเกิดจากสาเหตุใด ?

โดยสาเหตุของการที่มีไขมันในเลือดสูงนั้นเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน ลักษณะการดำเนินชีวิต รวมถึงสภาพร่างกายตั้งแต่ต้น และยิ่งในปัจจุบันที่มีลักษณะสังคมและการดำเนินชีวิตแบบแข่งขันสูง หลายคนมักจะไม่มีเวลาดูแลตนเอง ขาดการออกกำลังกาย และรับประทานอาหารจานด่วนที่มักจะมีไขมันสูง ทำให้ร่างกายมีปริมาณไขมันที่มากและเกิดการสะสมไขมันโดยไม่รู้ตัว


อาการของผู้ที่เข้าข่ายไขมันในเลือดสูง

หายใจลำบาก ใจสั่น แน่นหน้าอก วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด หมดสติ อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะไขมันในเลือดสูง ซึ่งไม่ควรละเลยเป็นอันขาดยิ่งถ้าปล่อยไว้นาน อาการของก็อาจรุนแรงขึ้น รู้ตัวอีกก็สายไปเสียแล้ว ดังนั้นหากพบอาการเหล่านี้ควรเข้ารับการตรวจไขมันในเลือดโดยด่วน


การตรวจไขมันในเลือด (Lipid Profile)

ตรวจระดับไขมันในเลือด

การตรวจไขมันในเลือด หรือการตรวจระดับไขมันในเลือด (Lipid Profile) เป็นการตรวจองค์ประกอบในเลือดว่ามีปริมาณไขมันชนิดต่าง ๆ อยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือไม่ หากพบถึงปริมาณไขมันที่สูงกว่าเกณฑ์ก็จะได้ทราบและสามารถหาวิธีรักษา แก้ไข ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ทันท่วงที

นอกจากนี้การตรวจไขมันในเลือดยังเป็นตัวชี้วัดถึงโรคอันตรายที่มีสาเหตุจากไขมันในเลือดสูง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดตีบตัน โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน และโรคอื่น ๆ ได้อีกด้วย


การตรวจไขมันในเลือด ตรวจอะไรบ้าง

ไขมันในเลือดมี 4 ชนิด

การตรวจไขมันในเลือด โรงพยาบาลนั้นจะวัดปริมาณไขมัน 4 ชนิดที่สำคัญและมีผลอย่างยิ่งต่อการเกิดโรค ดังนี้

1. คอเลสเตอรอล (Cholesterol)

คอเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นสารคล้ายไขมัน (ไม่ใช่ไขมันที่แท้จริงเพราะมีค่าพลังงานเท่ากับ 0 แคลอรี) ที่เป็นองค์ประกอบของเนื้อเยื่อผนังเซลล์ทั้งร่างกาย เป็นวัตถุดิบสำหรับสร้างน้ำดีในตับไว้ใช้ย่อยอาหารประเภทไขมันและวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน เป็นสารตั้งต้นในการสร้างวิตามินดีในร่างกาย เป็นฉนวนหุ้มใยประสาท และเป็นประโยชน์อื่น ๆ อีกมาก


แต่อย่างไรก็ตามหากร่างกายมีคอเลสเตอรอลมากเกินไปก็เป็นอันตรายได้เช่นกัน เพราะคอเลสเตอรอลเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้หลอดเลือดอุดตัน เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้สะดวกเช่นเดิม และหากการอุดตันหลอดเลือดมากขึ้นก็อาจนำไปสู่ภาวะขาดเลือด และก่อโรคหลอดเลือดแดงแข็ง โรคหลอดเลือดหัวใจได้

 

คอเลสเตอรอลนี้ร่างกายสามารถสร้างขึ้นมาเองได้ ยิ่งถ้าเกิดความเครียด วิตกกังวล หรือเป็นโรคบางชนิด ก็จะทำให้ร่างกายสร้างคอเลสเตอรอลออกมามากเกินความจำเป็น และยังสามารถได้รับจากอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน หนังสัตว์ สัตว์ทะเล ไข่ นม น้ำตาล ไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ เป็นต้น 


เพราะเหตุนี้การตรวจคอเลสเตอรอลจึงจำเป็นสำหรับการตรวจไขมันในเลือดอย่างมาก ยิ่งค่าคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ก็ยิ่งมีโอกาสเกิดภาวะไขมันอุดตันในหลอดเลือดมาก

2. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันที่แท้จริง (มีค่าพลังงานเท่ากับ 9 แคลอรีต่อกรัม) โดยไตรกลีเซอไรด์นี้สามารถได้รับจากอาหารทุกชนิดที่รับประทานกลายเป็นพลังงานส่วนเกิน (หมายถึงรับประทานอาหารมาก และเผาผลาญพลังงานไม่หมด) โดยที่ร่างกายจะแปรเปลี่ยนพลังงานส่วนเกินนี้ไปเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์และสะสมไว้ นอกจากนี้ยังสามารถได้รับไตรกลีเซอไรด์จากอาหารประเภทไขมันสูงโดยตรง


โดยปกติแล้วร่างกายแปรเปลี่ยนพลังงานส่วนเกินในร่างกายในรูปแบบไขมันไตรกลีเซอไรด์ก็เพื่อสะสมพลังงานไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน หากร่างกายขาดพลังงานมากก็จะดึงพลังงานสะสมในรูปไตรกลีเซอไรด์นี้มาเผาผลาญให้พลังงานได้ 


แต่อย่างไรก็ตามร่างกายสามารถดึงไตรกลีเซอไรด์มาใช้ได้ค่อนข้างยาก จึงทำให้ส่วนใหญ่ถูกสะสมตามเนื้อเยื่อภายในอวัยวะในร่างกาย และก่อให้เกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ ไขมันเกาะตับ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น การตรวจไตรกลีเซอไรด์เป็นอีกหนึ่งการตรวจไขมันในเลือดที่จำเป็น เพราะค่าไตรกลีเซอไรด์สูงเท่าไหร่ โอกาสเกิดโรคอันตรายก็ยิ่งมากเท่านั้น

3. ไขมันชนิดเลว (Low Density Lipoprotein: LDL)

เพราะคอเลสเตอรอลไม่สามารถลอยตัวในเลือดเองได้จึงจำเป็นต้องมีตัวนำพาอย่างไลโคโปรตีน (ประกอบไปด้วยโปรตีนและไขมัน) ในการนำพาคอเลสเตอรอลให้ลอยอยู่ในเลือดและลำเลียงไปได้ ไขมันชนิดเลว (Low Density Lipoprotein: LDL) เป็นไลโคโปรตีนความหนาแน่นต่ำที่ประกอบไปด้วยไขมันมากกว่าโปรตีน ซึ่งจะเป็นตัวนำพาให้คอเลสเตอรอลจากตับไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย ส่งผลให้ค่าคอเลสเตอรอลในร่างกายสูงขึ้น 


เมื่อคอเลสเตอรอลจำนวนมากถูกลำเลียงออกไปผ่านหลอดเลือด ก็อาจทำให้เกิดการเกาะตัวที่ผนังหลอดเลือด เกิดการอุดตันในเส้นเลือด และทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดีนั่นเอง ไขมันชนิดเลว LDL นี้สามารถได้รับจากอาหารที่มีไขมันชนิดอิ่มตัวสูง คอเลสเตอรอลสูง ไขมันทรานส์อย่าง น้ำมันสัตว์ ครีมเทียม มาการีน กะทิ เป็นต้น

4. ไขมันชนิดดี (High Density Lipoprotein: HDL)

ไขมันชนิดดี (High Density Lipoprotein: HDL) เป็นไลโคโปรตนที่มีความหนาแน่นสูง (มีองค์ประกอบของโปรตีนมากกว่าไขมัน) ทำหน้าที่ในการนำพาคอเลสเตอรอลที่กระจายอยู่ในร่างกายกลับไปที่ตับเพื่อย่อยและใช้เป็นวัตถุดิบในการสร้างน้ำดีต่อไป ทำให้ค่าคอเลสเตอรอลในร่างกายลดลง นอกจากนี้ ไขมันชนิดดี HDL ยังช่วยลดไขมันเลว LDL ที่อยู่ในกระแสเลือด เพื่อลดการสะสมและอุดตันในหลอดเลือดได้อีกด้วย ไขมันชนิดดี HDL นี้สามารถได้รับจากอาหารที่ประกอบไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัว อย่างเนื้อปลากรดไขมันสูง ไข่ อะโวคาโด ดาร์กช็อคโกแลต ชีส เป็นต้น


ใครที่ควรเข้ารับการตรวจไขมันในเลือด

ไขมันในเลือดสูงเป็นภัยเงียบที่อันตรายอย่างมาก ดังนั้นในการตรวจสุขภาพควรจะตรวจไขมันในเลือดด้วย โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง ดังนี้


  • ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวมีประวัติโรคไขมันอุดตันในหลอดเลือด โรคหัวใจ ภาวะไขมันในเลือดสูง
  • ผู้ที่เป็นโรคทางพันธุกรรมบางชนิดที่สามารถส่งผลให้ระดับไขมันในเลือดสูง
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอออล์เป็นประจำ ขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงบ่อย
  • ผู้ที่เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน
  • ผู้ที่มีอาการที่อาจเป็นสัญญาณของไขมันในเลือดสูง เช่น แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ เป็นต้น

การเตรียมตัวก่อนตรวจไขมันในเลือด

หากคุณเป็นผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจไขมันในเลือด อาจมีข้อสงสัยอย่าวเช่น ตรวจไขมันในเลือด เตรียมตัวอย่างไร ตรวจไขมันในเลือด ต้องงดอาหารไหม ตรวจไขมันในเลือด งดอาหารกี่ชั่วโมง ในหัวข้อนี้จะมาแนะนำวิธีการเตรียมตัวก่อนเข้าตรวจไขมันในเลือด ดังนี้


  • ก่อนเข้ารับการตรวจไขมันในเลือด 3 สัปดาห์สามารถรับประทานอาหารตามปกติได้
  • ก่อนเข้ารับการตรวจไขมันในเลือด 1 วันควรดื่มน้ำเปล่าบ่อย ๆ และงดดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์
  • กรณีในรายการตรวจไขมันในเลือดมีการตรวจ triglyceride ด้วย 12 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจไขมันในเลือด งดอาหารทุกชนิด (สามารถดื่มน้ำเปล่าได้) 
  • กรณีตรวจคอเลสเตอรอลอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร สามารถเจาะเลืออดเพื่อตรวจไขมันในเลือดได้เลย
  • ในวันตรวจไขมันในเลือด ควรใส่เสื้อแขนสั้น หรือเสื้อที่โปรงสบายสามารถถกแขนเสื้อเพื่อเจาะเลือดได้ง่าย ๆ 

ขั้นตอนการตรวจไขมันในเลือด

วิธีตรวจไขมันในเลือด

วิธีตรวจไขมันในเลือดนั้นจะเป็นการเก็บตัวอย่างเลือดจากผู้ป่วย โดยมีวิธีเก็บอยู่ 2 วิธีคือการเจาะเลือดจากปลายนิ้ว (สำหรับการตรวจคัดกรอง) และการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำ

ขั้นตอนการเก็บตัวอย่างเลือดจากผู้ป่วย แพทย์จะทำความสะอาดฆ่าเชื้อบริเวณแขน (กรณีเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำ) หรือบริเวณปลายนิ้ว (สำหรับการเจาะเลือดตรวจคัดกรอง) จากนั้นจะใช้เข็มเจาะเลือดและดูดเลือดตัวอย่างออกมาจำนวนหนึ่ง และนำไปตรวจระดับไขมันในเลือดด้วยเครื่องตรวจระดับไขมันในเลือด


ผลตรวจระดับไขมันในเลือด

เมื่อได้ผลตรวจไขมันในเลือดมาแล้วหลายคนอาจไม่เข้าใจว่าจะต้องดูอย่างไร ระดับไขมันในเลือดเท่าไหร่จึงจะเรียกว่าไขมันในเลือดสูง ในหัวข้อนี้จะทำให้การอ่านค่าไขมันในเลือดเข้าใจได้ง่ายขึ้น 

ชนิดไขมันในเลือด

ระดับไขมันเกณฑ์ปกติ

ระดับไขมันสูงกว่าเกณฑ์

ระดับไขมันสูงระดับอันตรายต่อสุขภาพ

Total Cholesterol

< 200 Ml/dL.

200-239 Ml/dL.

240 Ml/dL.

Triglycerides

< 150 Ml/dL.

150-199 Ml/dL.

200-499 Ml/dL.

Low-density lipoprotein (LDL)

60-130 Ml/dL.

130-159 Ml/dL.

160-189 Ml/dL.

High-density lipoprotein (HDL) *

60  Ml/dL.

35-45 Ml/dL.

<35 Ml/dL.

 

*ค่าไขมันดี HDL สูงยิ่งดี มีความเสี่ยงต่อไขมันในเลือดสูงน้อย


วิธีรักษาหากมีภาวะไขมันในเลือดสูง

การรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง

ถ้าผลตรวจไขมันในเลือดบ่งบอกถึงระดับไขมันในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ แพทย์จะทำการพิจารณาอีกว่าค่าระดับไขมันสูงกว่าเกณฑ์มากหรือไม่ หากค่าระดับไขมันสูงกว่าเกณฑ์ไม่มากแพทย์อาจแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินกิจวัตรประจำวันและการรับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัยขึ้น เพื่อลดระดับไขมันในเลือดให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ


แต่หากค่าระดับไขมันสูงกว่าเกณฑ์มาก ๆ จนอาจเกิดอันตรายต่อร่างกาย หรือลองปรับพฤติกรรมดารดำเนินชีวิตประจำวันและการรับประทานอาหารไปแล้วแต่ไม่ได้ผล แพทย์อาจต้องให้รับการรักษาด้วยยาเพื่อลดโอกาสการเกิดโรคอันตรายที่มีสาเหตุจากไขมันมากเกินได้ โดยยาที่ใช้รักษาภาวะไขมันในเลือดสูงมีดังนี้



การใช้ยารักษาภาวะไขมันในเลือดสูงนั้นจะต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์เท่านั้น แพทย์จะจ่ายยาให้ผู้ป่วยตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจากชนิดไขมันที่มากเกิน ความรุนแรงของภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นต้น


วิธีดูแลตัวเองเมื่อมีภาวะไขมันในเลือดสูง

เพื่อให้การรักษาภาวะไขมันในเลือดสูงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรดูแลตนเองนอกจากการใช้ยา ดังนี้

  • รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และต้องใช้ยาเฉพาะแพทย์สั่งเท่านั้น ห้ามซื้อยาใช้เองเด็ดขาด
  • งดอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะพวกอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง และไขมันทรานส์
  • เลือกวิธีการปรุงอาหารอื่น ๆ แทนการทอดด้วยน้ำมัน เช่น การนึ่ง ต้ม ตุ๋น อบ เป็นต้น
  • รับประทานอาหารที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง อาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันดี HDL อย่างปลา อะโวคาโด เป็นต้น
  • ออกกำลังกายเป็นประจำในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อเผาผลาญพลังงานส่วนเกิน ป้องกันการสะสมพลังงานในรูปไตรกลีเซอไรด์
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ตามเกณฑ์
  • ตรวจไขมันในเลือดด้วยตัวเองตลอดช่วงการปรับพฤติกรรมทุก 1 เดือนต่อครั้ง

ข้อสรุป

ไขมันในเลือดสูง เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดโรคอันตรายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดตีบตัน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อเป็นการป้องกันสุขภาพตนเองจึงควรตรวจไขมันในเลือด หากพบความเสี่ยงได้เร็วก็จะสามารถแก้ปัญหาหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ง่ายกว่าการปล่อยปะละเลยจนเกิดโรคอันตรายที่อาจสายเกินแก้


 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที