Daisy

ผู้เขียน : Daisy

อัพเดท: 17 ต.ค. 2022 21.51 น. บทความนี้มีผู้ชม: 289802 ครั้ง

รอบรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รู้ก่อน รักษาก่อน บทความที่จะมาเชิญชวนให้นักอ่านทุกคนหันมาดูแลสุขภาพเพื่อตัวเองและคนที่คุณรัก


อยากตรวจหัวใจ ต้องทำอย่างไรบ้าง?

หัวใจ เป็นอวัยวะที่สำคัญมาก ๆ ของร่างกาย และตลอดของการมีชีวิตอยู่ หัวใจจะไม่เคยหยุดพักเลยแม้แต่นิดเดียว แต่เพราะหัวใจต้องทำงานตลอดเวลา การเกิดความผิดปกติขึ้นก็ถือว่าไม่ใช่เรื่่องแปลกอะไร ดังนั้นการตรวจหัวใจจึงเป็นการเช็คว่าหัวใจเรายังสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นหรือไม่ หากมีตรงไหนที่บกพร่อง หรือมีความผิดปกติเกิดขึ้นก็จะสามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างท่วงที 
 
ตรวจหัวใจ
 

การตรวจหัวใจ 

โรคหัวใจ (Heart Disease) คือโรคที่หัวใจของเรามีการทำงานที่ผิดปกติไป ในบางรายมีส่งสัญญาณเตือนถึงอาการของโรค เช่น เหนื่อยง่าย เจ็บแน่นหน้าอก หน้ามืด เป็นลม แต่ในบางรายไม่มีการแสดงสัญญาณเตือนใด ๆ รู้ตัวอีกทีก็เกิดโรคขึ้นแล้ว เราจะทราบได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคหัวใจหรือยัง ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจสุขภาพและการตรวจหัวใจ เพื่อคอยเช็คถึงประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจเรานั่นเอง สำหรับการตรวจหัวใจก็มีหลายวิธี ทั้งนี้แพทย์จะทำการซักประวัติคนไข้เบื้องต้นก่อนและพิจารณาว่าต้องรับการตรวจหัวใจด้วยวิธีใดค่ะ
 

ตรวจหัวใจ ช่วยวินิจฉัยโรคใดได้บ้าง

โรคหัวใจ เป็นชื่อโรคที่เรียกได้แบบกว้าง ๆ ที่ฟังแล้วก็สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ แต่อย่างไรก็ตามโรคหัวใจสามารถแบ่งชนิดโรคได้อีกหลายโรค ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดผิดปกติของหัวใจ ดังนั้นการตรวจหัวใจก็จะสามารถช่วยวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ ดังนี้

เพราะหลอดเลือดเป็นเสมือนท่อน้ำที่ต้องคอยลำเลียงเลือดไปยังหัวใจและส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่อหลอดเลือดหัวใจเกิดความบกพร่อง จึงทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี และอวัยวะต่าง ๆ ที่มีหลอดเลือดลำเลียงก็จะได้รับเลือดไม่เพียงพอ ซึ่งทำให้หัวใจและหลอดเลือดหัวใจเกิดความเสียหาย โดยส่วนมากมักจะพบภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบจากการสะสมของไขมัน เมื่อไขมันพอกตัวหนาขึ้นที่หลอดเลือดก็ส่งผลให้การลำเลียงเลือดไม่สะดวก ก่อให้เกิดโรคตามมา โดยผู้ที่มีความเสี่ยงคือผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ผู้ป่วยโรคความดันสูง เบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น ดังนั้นการตรวจหัวใจสามารถหาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบได้

เป็นความผิดปกติของการนำไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งก่อให้หัวใจมีจังหวะการเต้นที่ผิดปกติไป เช่น หัวใจเต้นช้าผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หรือหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลให้การสูบฉีดเลือดไม่มีประสิทธิภาพ โดยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถเกิดได้ด้วยโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น หรือเกิดได้จากพฤติกรรมที่ไม่เหามะสม ไม่ว่าจะการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน สารเสพติด หรือภาวะเครียด การตรวจหัวใจจะสามารถเช็คอัตราการเต้นหัวใจ และคลื่นไฟฟ้าหัวใจว่ายังทำงานปกติหรือไม่

เป็นโรคที่กล้ามเนื้อหัวใจมีความผิดปกติ สามารถแบ่งชนิดของความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจดังนี้

  1. กล้ามเนื้อหัวใจหนา โดยอาจเกิดจากพันธุกรรมหรือจากอายุที่มากขึ้นหรือพัฒนาจากโรคความดันโลหิตที่สูงขึ้น
  2. กล้ามเนื้อหัวใจถูกบีบรัด สาเหตุของโรคอาจเกิดได้โดยไม่ทราบสาเหตุ หรือเกิดจากอาการป่วยของโรคอื่น ๆ
  3. กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม สาเหตุของโรคเกิดจากการไหลเวียนเลือดเข้าหัวใจน้อยลง พันธุกรรม หรือการติดเชื้อ หรือการได้รับยาบางชนิด ซึ่งทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายโตขึ้น ผนังหัวใจบางลง และการบีบตัวของหัวใจแย่ลง

ตามชื่อของโรคที่หัวใจมีความผิดปกติตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อในครรภ์ หรือได้รับถ่ายทอดพันธุกรรม หรือพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่เหมาะสมของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ 

สาเหตุอาจเกิดมาจากความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด หรือเป็นภาวะแทรกซ้อนจากชนิดอื่น เช่น การติดเชื้อที่ไปสู่หัวใจ เยื่อบุหัวใจอักเสบ เป็นต้น

สาเหตุจากการติดเชื้อ หรือการได้รับพิษจากสารเคมีที่เข้าสู่หัวใจ ก่อให้เกิดส่วนต่าง ๆ ของหัวใจเกิดการอักเสบ

 

การตรวจหัวใจ มีอะไรบ้าง

การตรวจหัวใจนั้นแพทย์สามารถแบ่งการตรวจได้เป็นขั้นตอน เริ่มที่การตรวจหัวใจแบบพื้นฐาน และการตรวจหัวใจโดยใช้เครื่องมือพิเศษ
 
สำหรับการตรวจหัวใจขั้นพื้นฐาน แพทย์จะซักประวัติสุขภาพของผู้ป่วยและบุคคลในครอบครัวในเบื้องต้น ว่ามีใครในครอบครัวมีประวัติการเป็นโรคหัวใจหรือไม่ และสอบถามถึงพฤติกรรมของผู้ป่วย ว่ามีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์หรือไม่ จากนั้นแพทย์จะตรวจร่างกายเบื้องต้นทั่วไป เช่น น้ำหนักส่วนสูง แล้วคำนวณว่ามีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือไม่ วัดอัตราการเต้นและความสม่ำเสมอของหัวใจ และการฟังเสียงการเต้นหัวใจว่ามีเสียงที่ผิดปกติหรือไม่ 
 
เมื่อผ่านการตรวจหัวใจขั้นพื้นฐาน และพบว่าต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติม แพทย์จะส่งตรวจหัวใจโดยใช้เครื่องมือพิเศษ ซึ่งรายละเอียดจะกล่าวในหัวข้อถัดไปค่ะ
 

1. การตรวจหัวใจแบบพื้นฐาน 

เมื่อคนไข้สงสัยว่าตนเองอาจมีความผิดปกติทางหัวใจ และอยากเข้ารับการตรวจหัวใจ แพทย์จะทำการตรวจหัวใจแบบพื้นฐานให้เบื้องต้น และเมื่อพบความผิดปกติใด ๆ จึงจะส่งตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษเพื่อให้การวินิจฉัยได้แม่นยำยิ่งขึ้น ในการตรวจหัวใจขั้นพื้นฐานมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
 
ตรวจโรคหัวใจ
 

การตรวจร่างกายทั่วไป

แพทย์จะให้ผู้ป่วยชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูงเพื่อนำมาคำนวณค่า BMI ว่ามีน้ำหนักตามเกณฑ์หรือไม่ และทำการซักประวัติของผู้ป่วยทั้งด้านสุขภาพ เช่น อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะการหายใจลำบาก มีอาการเหนื่อยง่าย หัวใจเต้นผิดปกติ หน้ามืดเป็นลมบ้างหรือไม่ สอบถามประวัติการป่วยของคนในครอบครัว ว่ามีใครเคยเป็นโรคหัวใจบ้างหรือไม่ และสอบถามถึงพฤติกรรมของตัวผู้ป่วย เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ เสพสารเสพติดอื่น ๆ หรือการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย เป็นต้น

การตรวจระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด

แพทย์จะเจาะเลือดเราเพื่อนำไปตรวจวัดระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือด เพราะสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจบางชนิดมาจากการที่ระดับไขมันในร่างกายสูง จนทำให้ไขมันไปพอกที่หลอดเลือดได้ และระดับน้ำตาลที่มากเกินไปก็ส่งผลให้เกิดโรคอ้วน และส่งผลไปยังโรคอื่น ๆ อีกมากมาย

การเอกซเรย์ปอดและหัวใจ

การเอกซเรย์ปอดและหัวใจสามารถตรวจลักษณะโครงสร้างเพื่อดูความผิดปกติของปอดและหัวใจได้ ในกรณีเช่น มะเร็ง วัณโรค น้ำท่วมปอด หัวใจมีรูปร่างหรือขนาดที่ผิดปกติ หัวใจล้มเหลว เป็นต้น
 

2. การตรวจหัวใจด้วยการใช้เครื่องมือพิเศษ

เมื่อแพทย์ได้ทำการตรวจหัวใจเบื้องต้น และพบว่าควรรับการตรวจหัวใจเพิ่มเติมอย่างละเอียด แพทย์จะส่งตรวจหัวใจด้วยวิธีต่าง ๆ โดยมีเครื่องตรวจหัวใจที่หลากหลาย ซึ่งสามารถวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจได้ ดังนี้
 

การตรวจหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมอง 

การตรวจหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมอง (Carotid Doppler) คือ การตรวจสภาพของผนังหลอดเลือด ทั้งความหนาของผนังหลอดเลือด คราบหินปูนที่เกาะบริเวณหลอดเลือด และการไหลเวียนเลือดในหลอดเลือดว่ายังทำงานปกติได้หรือไม่ หรือเกิดการตีบตันหรือไม่ด้วยเครื่องมือคลื่นความถี่สูง หรือ ultrasound ซึ่งการตรวจนี้สามารถบ่งบอกได้ถึงภาวะการตีบของหลอดเลือดใหญ่บริเวณคอ ทิศทางการไหลเวียนเลือดและอัตราเร็วของการไหลเวียนเลือด เพื่อนำไปประกอบการวินิจฉัยโรคได้
 
โดยการตรวจหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมองนั้นสามารถเข้ารับการตรวจได้เลย เพราะเป็นเพียงแค่การใช้คลื่นอัลตราซาวด์กับบริเวณที่รับการตรวจเท่านั้น ไม่มีการเก็บตัวอย่างหรือสอดใส่เครื่องใด ๆ ในร่างกายจึงไม่จำเป็นต้องงดอาหาร เพียงแค่งดทาแป้งบริเวณคอ และงดใส่เครื่องประดับก่อนเข้ารับการตรวจเท่านั้น
 
ตรวจเช็คโรคหัวใจ
 
 

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG 

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG หรือ ECG เป็นการตรวจหัวใจที่สามารถบอกถึงความผิดปกติของหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้าเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ และอื่น ๆ โดยการจับสัญญาณกระแสไฟฟ้าในขณะหัวใจบีบตัว และคลายตัวเพื่อสูบฉีดเลือด โดยเครื่องมือที่แปะบริเวณหน้าอก หรือแผ่นอิเล็ดโทรด เมื่อจับสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ก็จะถูกพิมพ์ออกมาในรูปแบบกราฟ ซึ่งแพทย์จะนำกราฟที่ได้นี้มาอ่านค่าเพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคหัวใจ หากรูปแบบกราฟมีความสม่ำเสมอ ถือว่าหัวใจยังทำงานปกติ แต่หากมีบางจุดที่ไม่สม่ำเสมอแปลว่าหัวใจอาจเกิดความผิดปกติ ควรทำการตรวจหัวใจซ้ำ 
 
ตรวจหัวใจ ผู้สูงอายุ
 
 

การตรวจสุขภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน EST

การตรวจหัวใจวิ่งสายพาน EST (Exercise Stress Test) เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งคล้ายกับ EKG แต่ EST จะให้ผู้ป่วยวิ่งบนสายพานในขณะที่มีแผ่นจับสัญญานไฟฟ้าหัวใจแปะอยู่บริเวณหน้าอก เมื่อเริ่มวิ่งจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องมีเลือดไหลเวียนในระบบมากขึ้น หากมีความผิดปกติที่ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ปกติ ก็จะแสดงออกมาให้เห็นได้จากคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติไป และแพทย์จะสังเกตผู้ป่วยขณะวิ่งบนสายพานว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ เช่น อาการเจ็บหน้าอก หายใจไม่สะดวก และนำผลนี้มาพิจารณาร่วมกับคลื่นไฟฟ้าที่เครื่องมือจับสัญญาณได้ เพื่อวินิจฉัยโรคหัวใจ
 
การตรวจหัวใจวิ่งสายพาน EST สามารถบอกถึงโรคทางหัวใจได้ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือโรคหัวใจเต้นผิดปกติ รวมถึงบอกถึงประสิทธิภาพของหัวใจในนักกีฬาได้ว่าสามารถออกกำลังกายได้แค่ไหนถึงจะปลอดภัย 
 
ตรวจหัวใจ โรค
 
 

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง 

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) หรือที่เรียกกันว่า ตรวจหัวใจ echo คือการตรวจคลื่นหัวใจด้วยการใช้คลื่นสะท้อนความถี่สูง แพทย์จะทำการแปะแผ่นอิเล็กโทรดบริเวณหน้าอกของผู้ป่วย จากนั้นจะทาเจลเย็น และใช้เครื่องมือตรวจวางบริเวณหน้าอก แพทย์อาจให้ผู้ป่วยหายใจออก หรือกลั้นหายใจ เพื่อดูถึงลักษณะหัวใจได้ชัดเจนมากขึ้น
 
โดยภาพที่สามารถเห็นจากการตรวจหัวใจ echo จะเป็นภาพของห้องหัวใจ ซึ่งสามารถดูถึงลักษณะต่าง ๆ ของหัวใจ ไม่ว่าจะเป็น ขนาดและรูปร่างของหัวใจ ความหนาของเนื้อเยื่อหัวใจ การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ การทำงานของลิ้นหัวใจว่ามีการไหลของเลือดที่ผิดปกติหรือไม่ ซึ่งการตรวจหัวใจ echo สามารถบอกถึงโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคที่เกี่ยวข้องกับลิ้นหัวใจผิดปกติ ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ 
 
ตรวจหัวใจ ราคา
 
 

การตรวจหัวใจแบบ CT Calcium Scoring

การตรวจหัวใจแบบ CT Calcium scoring (coronary) เป็นการตรวจหัวใจที่สามารถบอกได้ถึงความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในระยะแรกหรือโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้ โดยการตรวจระดับปริมาณแคลเซียมหรือหินปูนที่สะสมภายในหลอดเลือดหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ หรือลิ้นหัวใจ ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ผลจะออกมาเป็นค่าตัวเลข หากพบว่ามีค่าสูง ก็จะแสดงถึงโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจมาก
 
ตรวจหัวใจ ที่ไหนดี
 
 

ใครที่ควรเข้ารับการตรวจหัวใจ

เพราะโรคหัวใจไม่ใช่โรคไกลตัว ดังนั้นหากพบอาการผิดปกติ หรือมีปัจจัยเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจหัวใจ ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจหัวใจมีดังนี้

 

ตรวจหัวใจ ที่ไหนดี

หากพบว่าตนเองอยู่ในกลุ่มที่ควรเข้ารับการตรวจหัวใจ แต่ไม่รู้ว่าควรไปตรวจหัวใจ ที่ไหนดี สามารถพิจารณาจากเกณฑ์ดังนี้

 

ข้อสรุป

อย่างที่ได้ทราบกันแล้วว่าหัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญมาก ๆ ของร่างกาย จึงจำเป็นต้องรับการดูแลเป็นอย่างดี และเพื่อไม่ให้หัวใจเกิดความผิดปกติจนเกินที่จะแก้ไข ควรตรวจหัวใจเมื่อพบว่าตนเองมีปัจจัยเสี่ยงทันทีแม้ว่าอาการที่แสดงออกจะเล็กน้อย หรือไม่มีอาการบ่งชี้ก็ตาม เพราะหากเกิดอาการโรคหัวใจจึงสามารถรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที 
 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที