Daisy

ผู้เขียน : Daisy

อัพเดท: 17 ต.ค. 2022 21.51 น. บทความนี้มีผู้ชม: 289746 ครั้ง

รอบรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รู้ก่อน รักษาก่อน บทความที่จะมาเชิญชวนให้นักอ่านทุกคนหันมาดูแลสุขภาพเพื่อตัวเองและคนที่คุณรัก


ปวดหัวข้างเดียว สัญญาณเตือนโรคที่ควรใส่ใจ

อาการปวดหัวข้างเดียวมีหลายประเภท การจะวินิจฉัยประเภทว่าการปวดศีรษะข้างเดียวนั้นเกิดจากอะไรต้องดูจากอาการ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ หากมีอาการรุนแรงควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย

ปวดหัวข้างเดียวแบบนี้ต้องทำอย่างไร

ปวดหัวข้างเดียวแทบจะเป็นอาการสามัญประจำบ้าน หลายๆ คนต้องเคยเป็นมาก่อน ซึ่งแต่ละคนก็มีอาการแตกต่างกันไป มีทั้งปวดแบบจี๊ดๆ ปวดแบบตุ๊บๆ ปวดกระบอกตา ปวดหลังหู หรือบางคนอาจมีอาการคลื่นไส้ร่วมเดียว แต่ปวดแล้วต้องทำอย่างไร วันนี้เรารวบรวมข้อมูลและประเภทของอาการปวดศีรษะข้างเดียวมาให้แล้ว เพื่อที่จะช่วยให้คนที่มีอาการดูแลตัวเองได้ในเบื้องต้น

ปวดหัวข้างเดียว

ปวดหัวข้างเดียว เป็นไมเกรนจริงหรือ?

การปวดหัวข้างเดียวนั้นไม่จำเป็นต้องเกิดจากการเป็นไมเกรนอย่างเดียว เนื่องจากการปวดมักมีอาการแตกต่างกันไป ทางที่ดีควรสังเกตอาการว่าเราปวดแบบไหน แล้วจึงรักษาตามอาการ

ปวดหัวข้างเดียวเกิดจากอะไร

สาเหตุของการปวดหัวข้างเดียวมีได้หลายแบบไม่ว่าจะเป็น การพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด ผลข้างเคียงจากโรคหรือยารักษา อุบัติเหตุ หรือแม้กระทั่งการจ้องหน้าจอมากเกินไป ทำให้กลไกทางร่างกายปรับสมดุลไม่ถูก โดยส่วนมากมักจะแบ่งเป็น 4 กลุ่มอาการใหญ่ๆ ดังนี้

1. อาการปวดข้างเดียวจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว (Tension Headaches)

อาการปวดจากการกล้ามเนื้อเกร็งตัว มีลักษณะการปวดคล้ายกับศีรษะถูกบีบรัด ผู้ป่วยมักจะรู้สึกตื้อๆ มึนงง  ในบางรายหากกดบริเวณศีรษะก็จะรู้สึกปวดกว่าเดิมด้วย สาเหตุมักมาจากการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณ คอ บ่า ไหล่ ลามไปยังบริเวณท้ายทอยจนถึงขมับ

ในบางรายที่มีอาการปวดรุนแรงอาจจะมีอาการไวต่อแสงและเสียงคล้ายกับไมเกรน อาการปวดจากกล้ามเนื้อเกร็งตัวเกิดได้ทั้งสองฝั่ง หรืออาจเกิดพร้อมกันได้เช่นกัน เป็นอาการปวดที่พบได้บ่อยที่สุด

2. อาการปวดหัวข้างเดียวจากไมเกรน (Migraine)

อาการจะคล้ายกับการปวดจากกล้ามเนื้อเกร็งตัวเพียงแต่รุนแรงกว่า อาการแรกเริ่มคือการปวดกระบอกตา ใบหน้า ขึ้นไปยังขมับ เวลาปวดจะปวดหัวตุ๊บๆ เป็นจังหวะเหมือนการเต้นของชีพจร ซึ่งผู้ป่วยมักมีอาการปวดต่อเนื่องตั้งแต่ 4-72 ชั่วโมง รวมถึงอาการร่วมอื่นๆ เช่น น้ำตาไหล ตาบวม ลืมตาไม่ได้ ตาพร่ามัว ไวต่อแสงเสียง คัดจมูก 

ในบางรายอาจมองเห็นแสงวูบวาบและคลื่นไส้อาเจียน สาเหตุของไมเกรน เกิดจากสารเคมีในสมองผิดปกติชั่วขณะ ซึ่งส่งผลให้หลอดเลือดในเยื่อหุ้มสมองเกิดการหดหรือขยายตัวเพราะถูกกระตุ้นมากกว่าปกติ อาการปวดสามารถเกิดได้ทั้งสองข้าง แต่จะพบอาการปวดหัวข้างเดียวได้มากกว่า พบได้บ่อยรองจากการปวดหัวจากการเกร็งกล้ามเนื้อ

3. อาการปวดหัวข้างเดียวแบบคลัสเตอร์ (Cluster Headaches)

อาการปวดแบบคลัสเตอร์มักรุนแรง แต่จะเกิดเป็นระยะ 1-8 รอบต่อวัน ระยะเวลาของอาการปวดแต่ละรอบขึ้นอยู่กับผู้ป่วย โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่รอบละ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง สามารถปวดได้ทั้งแบบวันเดียวหรือปวดติดต่อกันหลายวัน กินเวลานานเป็นเดือนได้ หากเป็นติดต่อกันจะสังเกตได้ว่าจะปวดในช่วงเวลาเดียวกันของวันต่อเนื่องกันทุกวัน 

สาเหตุและอาการของการปวดแบบคลัสเตอร์คล้ายกับไมเกรน แต่การปวดคลัสเตอร์จะส่งผลระยะยาวมากกว่า ซึ่งสามารถมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยได้ เช่น กระสับกระส่าย ตาแดง เป็นต้น อย่างไรก็ตามการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ถือเป็นการปวดหัวที่พบได้น้อยที่สุด 

4. อาการปวดหัวข้างเดียวจากต้อหินเฉียบพลัน (Acute Angle Closure Glaucoma)

อาการปวดจากต้อหินเฉียบพลันมักเป็นการปวดบริเวณกระบอกตาลามไปขมับ เกิดจากความดันในลูกตาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ตามัว มักมีอาการน้ำตาไหลและคลื่นไส้ร่วมด้วย สาเหตุของการปวดชนิดนี้มักมาจากการใช้สายตามากเกินไป การรับประทานยาต้านเศร้าบางชนิด การเพ่งสายตาอ่านหนังสือหรือหน้าจอ แนวโน้มการเกิดต้อหินเฉียบพลันนั้นเพิ่มสูงขึ้นทุกปี

อาการปวดหัวข้างเดียว

อาการปวดหัวข้างเดียวนั้นมีหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็เป็นตัวบอกได้ว่ามีอะไรที่ควรระวังเป็นพิเศษ เพราะอาการปวดหัวข้างเดียวอาจเป็นสัญญาณเตือนที่ร่างกายอยากบอกอะไรเราก็ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการวินิจฉัยที่แม่นยำที่สุดก็คือการพบแพทย์ โดยอาการหลักๆ จะสังเกตได้ตามนี้

ปวดหัวข้างเดียวจากความเครียด

ปวดหัวข้างเดียว ปวดตุ๊บๆ

ส่วนมากมักเกิดจากอาการกล้ามเนื้อเกร็งเฉียบพลันหรือไมเกรน เป็นอาการที่ไม่ค่อยร้ายแรงเท่าไหร่นัก 

ปวดหัวข้างเดียวบริเวณหลังหู

อาจเกิดจากปลายประสาทอักเสบจากการกดทับ เช่น ใส่หูฟังแบบครอบเป็นเวลานาน การขาดวิตามิน ไปจนถึงการเป็นเบาหวาน เป็นงูสวัด หรือเกิดความผิดปกติในสมอง หากอาการรุนแรงควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย

ปวดหัวข้างเดียวบริเวณกระบอกตา

การปวดกระบอกตาเกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งไมเกรน ต้อหินเฉียบพลัน ไซนัส โดยส่วนมากอาการปวดหัวข้างเดียวบริเวณกระบอกตามักเป็นอาการแรกเริ่มของการปวดหัวข้างเดียวหลายๆ ประเภท จึงจำเป็นต้องดูอาการอื่นๆ ร่วมด้วย

ปวดหัวคิ้วข้างเดียว

ปวดหัวคิ้วข้างเดียวเป็นการปวดแบบกล้ามเนื้อปวดเกร็ง อาจเกิดจากความเครียด การเพ่งสายตาเนื่องจากสายตาสั้นแล้วไม่ได้สวมแว่นสายตา หูอักเสบ หรือไซนัสเองก็เป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการนี้เช่นกัน 

ปวดหัวข้างเดียวบริเวณท้ายทอย

ปวดหัวข้างเดียวบริเวณท้ายทอย ส่วนมากมักเกิดจากการใช้กล้ามเนื้อบริเวณรอบศีรษะมากไป เป็นการปวดศีรษะรูปแบบกล้ามเนื้อปวดเกร็งชนิดหนึ่ง

ประเภทของการปวดหัวข้างเดียว

ปวดหัวมากทำยังไงดี

1. ปวดหัวข้างเดียวจากโรคไมเกรน

โดยมากผู้ป่วยมักมีอาการปวดบริเวณหัวครึ่งซีก เกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งการพักผ่อนไม่เพียงพอ การนอนหลับมากเกินไป ความเครียด การดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากไป รวมถึงการสูบบุหรี่และการถูกกระตุ้นจากแสงสีเสียง 

2. ปวดหัวข้างเดียวจากความเครียด

การปวดหัวข้างเดียวจากความเครียดมีอาการคล้ายคลึงกับไมเกรน แต่ไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน อาการทางสายตา หรือเข้าใจได้ง่ายๆ ว่าไม่มีอาการเกี่ยวกับระบบประสาทมาเกี่ยวข้องด้วย

3. ปวดหัวข้างเดียวจากโรคอื่นๆ

การปวดหัวข้างเดียวนอกจากการปวดหัวจากการปวดเกร็งกล้ามเนื้อ ไมเกรน คลัสเตอร์ และต้อหินเฉียบพลันแล้ว ยังสามารถเกิดจากโรคเกี่ยวกับสมองได้ด้วย อาการก็จะมีแขนขาอ่อนแรง อาเจียน พูดไม่ชัด เป็นต้น สภาพแวดล้อมก็มีผลอย่างมากต่ออาการปวดหัว ไม่ว่าจะมลพิษทางแสงสีเสียง หรือทางกลิ่น ล้วนเป็นตัวกระตุ้นชั้นดีที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดหัวได้

ปวดหัวข้างซ้ายข้างขวาต่างกันอย่างไร

ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดถึงสาเหตุการปวดหัวข้างใดข้างหนึ่ง แต่ส่วนมากแพทย์มักจะลงความเห็นกันที่ไมเกรน เว้นแต่ผู้ป่วยเคยได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะหรือสมองมาก่อน การวินิจฉัยก็จะต่างออกไป ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตและปัญหาสุขภาพก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการปวดหัวข้างเดียวได้เช่นกัน

ไม่กินกาแฟแล้วปวดหัว

ปวดหัวข้างเดียวอันตรายไหม เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

โดยปกติแล้วการปวดหัวข้างเดียวมักไม่ได้อันตราย ยกเว้นมีอาการหรือเคยประสบปัญหาต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที

อย่างไรก็ตาม หากไม่มั่นใจ ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและทำการตรวจรักษาอย่างถูกวิธี

การวินิจฉัยอาการปวดหัวข้างเดียว

ส่วนมากแพทย์ผู้รักษาจะทำการซักประวัติของผู้ป่วยก่อนการรักษา ทั้งการใช้ชีวิต โรคประจำตัว หรือพฤติกรรมก่อนที่จะเข้ารับการรักษา รวมถึงอาการของผู้ป่วย เพื่อประเมินการรักษาในขั้นต่อไป

แนวทางการรักษาอาการปวดหัวข้างเดียว

การรักษาอาการปวดหัวข้างเดียวขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์หรือกระทั่งตัวผู้ป่วยเอง ซึ่งจะมีทั้งแบบเบื้องต้นและแบบที่ใช้ในทางการแพทย์

วิธีบรรเทาปวดหัวข้างเดียวเบื้องต้น

พักสายตาแก้ปวดหัว

วิธีรักษาปวดหัวข้างเดียวทางการแพทย์

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหัวข้างเดียว

ปวดหัวเพราะแสงจ้า

ข้อสรุป

การปวดหัวข้างเดียวเกิดได้ในคนทุกวัย ซึ่งอาการจะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ทำให้เกิด หากไม่แน่ใจเรื่องอาการควรปรึกษาแพทย์ ให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นคนวินิจฉัยจะดีที่สุด เพราะหากรับประทานยาผิด ไม่ตรงกับอาการป่วยที่เราเป็น จะยิ่งทำให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ป่วยเอง

 

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลบางส่วนจาก https://www.migrainethailand.com/

 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที