Daisy

ผู้เขียน : Daisy

อัพเดท: 17 ต.ค. 2022 21.51 น. บทความนี้มีผู้ชม: 286542 ครั้ง

รอบรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รู้ก่อน รักษาก่อน บทความที่จะมาเชิญชวนให้นักอ่านทุกคนหันมาดูแลสุขภาพเพื่อตัวเองและคนที่คุณรัก


ยาแก้ปวดเข่า ตัวช่วยบรรเทาอาการปวดเข่าเบื้องต้นที่แพทย์มักนิยมใช้

ยาแก้ปวดเข่า บรรเทาอาการปวดเข่าเบื้องต้น

หากจะกล่าวถึงอาการปวดเข่าเพียงอย่างเดียวก็อาจจะบอกได้ยากว่าการปวดเข่าของผู้ป่วยนั้นมีต้นตอจากอะไร เพราะอาการปวดเข่ามีหลากหลายแบบ ไม่ว่าจะปวดเข่าจากอุบัติเหตุ ข้ออักเสบ หรือเกิดจากข้อเข่าเสื่อม หรือเกิดจากโรคอื่น ๆ และอาการปวดเข่าเหล่านี้จะมีวิธีรักษาที่แตกต่างกัน 
 

โดยเบื้องต้นแพทย์มักจะจ่ายยาแก้ปวดเข่าให้ผู้ป่วยก่อนเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่า หากอาการปวดเข่าไม่รุนแรงการใช้ยาแก้ปวดเข่าก็สามารถรักษาได้ แต่หากอาการปวดเข่ารุนแรงมาก การใช้ยาแก้ปวดเข่าเพียงอย่างเดียวอาจไม่ตอบโจทย์ผู้ป่วยอีกต่อไป แพทย์ก็จะตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาต้นตอของอาการปวดเข่าเพื่อจะได้ทำการรักษาอย่างถูกวิธี


รู้จักยาแก้ปวดเข่า

ผู้ป่วยที่อาจเป็นโรคข้ออักเสบ โรคข้อเข่าเสื่อม โรคเก๊าท์ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้ออื่น ๆ รวมถึงอาการบาดเจ็บเฉียบพลันบริเวณข้อมักจะมีอาการปวดข้อ ปวดเข่า ในบางรายอาจปวดแค่เฉพาะเวลาขยับข้อและในบางรายอาจปวดแม้แต่ตอนที่ไม่ได้ขยับข้อก็ได้เช่นกัน ซึ่งอาการปวดเหล่านี้มักทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลง และหากอาการรุนแรงมากผู้ป่วยอาจสูญเสียความสามารถในการเดินหรือการขยับข้อได้เลย


ยาแก้ปวดเข่า เป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการปวด อักเสบของเข่าหรือบริเวณข้ออื่น ๆ โดยตัวยาแก้ปวดเข่ามีหลากหลายรูปแบบ หลากหลายยี่ห้อ และมีวิธีใช้งานที่แตกต่างกันไปตามลักษณะอาการปวดและความรุนแรงของอาการปวด โดยจะขอกล่าวถึงประเภทของยาแก้ปวดเข่าอย่างละเอียดในหัวข้อถัดไป


ใครบ้างที่ควรใช้ยาแก้ปวดเข่า

อาการปวดเข่าแบบไหนควรใช้ยาแก้ปวดเข่าในการรักษา


ผู้ป่วยที่ควรใช้ยาแก้ปวดเข่าในการบรรเทาอาการปวดอักเสบข้อเข่ามีดังนี้
 


โดยการใช้ยาแก้ปวดเข่าเป็นการรักษาและบรรเทาอาการปวดเข่าในขั้นแรกที่แพทย์ทำการรักษา โดยปกติแล้วหากอาการปวดเข่าไม่รุนแรง การใช้ยาแก้ปวดเข่า ข้ออักเสบก็สามารถรักษาอาการปวดได้ดี


ยากินแก้ปวดเข่า มีอะไรบ้าง

ยาแก้ปวดเข่า ข้ออักเสบชนิดรับประทานสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มยา โดยแต่ละกลุ่มยามีตัวยาและการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกัน สามารถรักษา ลดอาการปวดเข่าที่แตกต่างกันไป มีรายละเอียดดังนี้
 

ยากินแก้ปวดเข่า

1. กลุ่มยาแก้ปวด

ยาแก้ปวดเข่ากลุ่มแรกคือกลุ่มยาแก้ปวดชนิดไม่เสพติด เช่น พาราเซตามอล ซึ่งเป็นยาสามัญประจำบ้าน มีฤทธิ์ระงับอาการปวดระดับต่ำ สามารถบรรเทาอาการปวดได้ระดับรุนแรงเล็กน้อยจนถึงปานกลางได้ อีกทั้งยังมีฤทธิ์ลดไข้ ไม่ทำให้เกิดการเสพติด และสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไปโดยไม่ต้องจ่ายยาโดยเภสัชกร จึงเป็นตัวเลือกต้น ๆ ในการใช้บรรเทาอาการปวด 


โดยตัวยามีการออกฤทธิ์เปลี่ยนแปลงการรับความรู้สึกเจ็บปวดของร่างกาย จึงทำให้สามารถลดอาการเจ็บปวดใด ๆ ภายในร่างกายได้ แต่ตัวยาแก้ปวดเป็นพิษต่อตับ หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้สารพิษที่สะสมในตับมากจนไม่สามารถกำจัดได้ และทำให้เซลล์ตับเสียหายในที่สุด จึงควรระวังไม่ใช้ยาแก้ปวดมากหรือบ่อยเกิดความจำเป็น หากอาการปวดไม่ดีขึ้นแปลว่าการใช้ยาแก้ปวดไม่ได้ผล ควรเปลี่ยนไปใช้ยากลุ่มอื่นในการรักษาต่อไป

2. กลุ่มยาแก้อักเสบ

กลุ่มยาแก้ปวดเข่าที่นิยมใช้รักษาอาการปวดข้อเข่าคือกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์  (Non-steroidal antiinflammatory หรือ NSAIDs) ซึ่งตัวยาจะออกฤทธิ์แตกต่างจากกลุ่มยาแก้ปวดอย่างพาราเซตามอล โดยตัวยาแก้อักเสบจะออกฤทธิ์ระงับอาการปวดที่ระบบประสาทส่วนกลาง ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไซโคลออกซิจีเนส (Cyclooxygenase) ทำให้การผลิตสารพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandins) ลดลง ส่งผลให้อาการปวดอักเสบลดลงได้นั่นเอง


กลุ่มยาแก้อักเสบนี้มีฤทธิ์ระงับอาการปวดอักเสบได้ระดับรุนแรงปานกลางจนถึงระดับรุนแรงมากได้ จึงสามารถบรรเทาอาการปวดเข่าจากการอักเสบบริเวณข้อที่มักจะมีอาการปวดรุนแรงได้ และตัวยาแก้อักเสบมักใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะรุนแรง หรือปวดประจำเดือนอีกด้วย


กลุ่มยาแก้อักเสบที่นิยมนำมาใช้รักษาอาการปวดอักเสบได้แก่ ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) แอสไพริน (Aspirin) ไดโคลฟีแนค (Diclofenac) นาพรอกเชน (Naproxen) อินโดเมธาซิน (Indomethacin) เป็นต้น


แต่อย่างไรก็ตาม ยาแก้อักเสบมีผลข้างเคียงค่อนข้างมากไม่ว่าจะระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร สามารถสะสมพิษที่ตับ มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาทส่วนกลาง ระบบผิวหนังได้ นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางชนิดห้ามใช้ยาแก้ปวดเข่าจากกลุ่มนี้ เนื่องจากมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายสูง ตัวยากลุ่มนี้จึงมักจะจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น

3. กลุ่มยารักษาข้อเข่าเสื่อม

ยากลุ่มนี้จะเป็นยาที่ใช้ชะลออาการเสื่อมของข้อเข่าโดยเฉพาะ โดยตัวยาจะไปช่วยรักษาคงสภาพของผิวข้อเข่าไม่ให้เกิดอาการเสื่อมเพิ่มขึ้น แต่ตัวยากลุ่มนี้ไม่สามารถรักษาอาการข้อเข่าเสื่อมให้กลับมาเป็นปกติได้ ทำได้เพียงการประคองอาการเท่านั้น โดยตัวยาที่นิยมใช้คือ กลูโคซามีน (Glucosamine)


และอีกหนึ่งตัวยาที่มีการใช้บรรเทาอาการปวดข้อเข่าอักเสบจากโรคเก๊าท์โดยเฉพาะคือ โคลชิซิน (Chlchicine) เนื่องจากตัวยามีฤทธิ์ลดการก่อตัวของผลึกจากกรดยูริค ทำให้อาการปวดข้อจากโรคเก๊าท์บรรเทาลงไปได้นั่นเอง


อย่างไรก็ตามกลุ่มยาทั้ง 3 ชนิดมีฤทธิ์เพียงบรรเทาและชะลออาการเสื่อมของข้อเข่าเท่านั้น ไม่สามารถรักษาอาการเสื่อมของข้อเข่าให้กลับมาเป็นปกติได้ และเมื่ออาการเสื่อมของข้อเข่ายังอยู่จึงทำให้ไม่สามารถหายปวดเข่าได้สนิท จึงจำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวดเข่าเพื่อระงับอาการปวดต่อไป


แต่การใช้ยาระงับอาการปวดด้วยกลุ่มยาแก้ปวดหรือยาแก้อักเสบติดต่อกันนาน ๆ ก็เป็นผลเสียต่อร่างกาย ดังนั้นหากอาการปวดเข่าเรื้อรังจึงควรรับการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ควบคู่กันไปเพื่อให้อาการเสื่อมของเข่าชะลอลงและหายปวดเข่าได้สนิท


ยาทาแก้ปวดเข่า ยาสำหรับใช้ภายนอก มีอะไรบ้าง

สเปรย์แก้ปวดเข่า

ปวดเข่าสามารถใช้ยาทาแก้ปวดเข่า ข้ออักเสบแทนการรับประทานยาได้หรือไม่? เป็นไปได้ก็ไม่ค่อยมีใครที่อยากจะรับประทานยา หากอาการปวดเข่าที่ไม่รุนแรงมากผู้ป่วยสามารถเลือกใช้ยาทาแก้ปวดเข่าแทนได้เช่นกัน แต่ยาทามีฤทธิ์ลดอาการปวดบริเวณผิวหนังชั้นนอกเท่านั้น ไม่สามารถรักษา ลดอาการปวดภายในข้อที่เกิดจากการเสื่อมของข้อ หรือการอักเสบของข้อได้

สำหรับยาทาแก้ปวดเข่า หรือยาใช้เฉพาะที่ หรือยาใช้ภายนอกนั้นมี 2 รูปแบบให้เลือกใช้ ได้แก่

1. ครีมหรือเจลแก้ปวดเข่า

รูปแบบของยาทาแก้ปวดเข่าที่นิยมใช้และมีวางจำหน่ายมากมายหลายยี่ห้อคือยาแก้ปวดเข่ารูปแบบครีมหรือเจล โดยตัวยาที่มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดที่ร่างกายจะดูดซึมจากยาทามีปริมาณน้อยกว่าการใช้ยาแบบรับประทาน จึงทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาน้อยมาก 

การใช้งานครีมหรือเจลแก้ปวดเข่านั้นจะใช้ทาบริเวณที่มีอาการปวด สามารถบรรเทาอาการปวดได้ทันที ตัวยาทาแก้ปวดเข่ามี 2 รูปแบบ และมีวิธีใช้งานที่แตกต่างกันดังนี้

การนวดบรรเทาอาการปวดด้วยยานวดแก้ปวดเข่าสามารถทำได้หากอาการปวด บาดเจ็บเกิดขึ้นมาสักระยะหนึ่งแล้ว เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น แต่ไม่ควรนวดในช่วงที่เพิ่งเกิดอาการบาดเจ็บใหม่ ๆ เพราะจะทำให้เกิดอาการปวดเข่ามากกว่าเดิม

2. สเปรย์แก้ปวดเข่า

สเปรย์แก้ปวดเข่ามีคุณสมบัติ ตัวยาและการออกฤทธิ์ที่เหมือนกับยาทาแก้ปวดเข่าชนิดครีมหรือเจล แต่รูปแบบสเปรย์ทำให้การใช้งานที่ง่ายขึ้น ไม่เหนียวเหนอะหนะ โดยสามารถฉีดพ่นสเปรย์แก้ปวดเข่าบริเวณที่เกิดอาการปวดหรือบาดเจ็บ ก็จะช่วยระงับอาการปวดได้ชั่วคราว 


ทำไมกินยาแก้ปวดเข่าแล้วอาการไม่ดีขึ้น

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วว่ายาแก้ปวดเข่าทั้งรูปแบบรับประทานและรูปแบบทามีฤทธิ์เพียงบรรเทาอาการปวด และชะลออาการเสื่อมของข้อเข่าเท่านั้น ไม่ได้มีผลในการรักษาสภาพข้อให้ดีขึ้นแต่อย่างใด 
 

ดังนั้นหากผู้ป่วยรับประทานยาหรือทายาแล้วอาการดีขึ้นและหยุดยาไปแต่สภาพข้อเข่าก็ยังมีการเสื่อมเช่นเดิมผู้ป่วยก็จะกลับมามีอาการปวดเข่าอีกครั้ง เหมือนกับการรักษาโรคไม่หายสักที ปวดเรื้อรัง จนเหมือนกับต้องรับประทานยาตลอด ไม่สามารถหยุดยาได้เพราะเมื่อหยุดยาไปแล้วอาการปวดก็จะกลับมา
 

หากผู้ป่วยที่รับประทานยาแก้ปวดเข่าไปสักระยะแล้วอาการปวดเข่าไม่หายสนิท หรือยังมีอาการปวดเข่าเช่นเดิมแพทย์จะตรวจสภาพผิวข้อเข่าผู้ป่วยเพิ่มเติม และหากระยะของโรคข้อเข่าเสื่อมรุนแรงมากการใช้ยารักษาอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ แพทย์จะพิจารณารักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ควบคู่กันไปด้วย โดยวิธีรักษาอาการปวดเข่าแบบอื่น ๆ จะกล่าวในหัวข้อถัดไป


ยาสมุนไพรแก้ปวดเข่าได้จริงไหม

หลาย ๆ คนคงมีความคิดว่าหากเป็นไปได้ก็ไม่อยากใช้ยาเคมีในการรักษาอาการปวดเข่า สามารถใช้ยาสมุนไพรรักษาอาการปวดเข่าแทนได้หรือไม่? 
 

ในปัจจุบันการใช้ยาสมุนไพรแก้ปวดเข่ายังไม่เป็นที่ยอมรับทางการแพทย์ เป็นเพียงวิธีทางเลือกเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามมีสมุนไพรหลายชนิดที่มีสารสำคัญช่วยลดอาการปวดอักเสบได้ เช่น ขมิ้นชันที่มีสารเคอร์คูมินอยด์ ซึ่งสามารถยับยั้งการหลั่งสารก่อให้เกิดการอักเสบ หรือขิงที่สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างสารพรอสตาแกลนดิน โดยมีรูปแบบการออกฤทธิ์ที่คล้ายกับยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ จึงทำให้อาการอักเสบลดลงได้
 

แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีสมุนไพรใดที่สามารถรักษาให้สภาพผิวข้อเข่ากลับมาเป็นปกติหรือเสื่อมน้อยลงได้เช่นเดียวกับยาแผนปัจจุบัน หากต้องการรักษาให้หายขาดจำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ นอกจากการใช้ยาเพียงอย่างเดียว


ทางเลือกอื่นในการรักษาอาการปวดเข่า

การรับประทานยาแก้ปวดเข่าหรือการทายาแก้ปวดเข่าเพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถบรรเทาหรือลดอาการปวดเข่าได้ดีพอ หากอาการปวดเข่านั้นไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยยาแก้ปวดเพียงอย่างเดียว ควรจะรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ดังนี้

1. ปรับพฤติกรรมร่วมกับทานยา

 ปรับพฤติกรรมลดอาการปวดเข่า

การปรับพฤติกรรมการใช้งานข้อเข่านั่นสำคัญอย่างมาก ถึงแม้ว่าจะรับประทานยาแก้ปวดเข่าดีแค่ไหนก็ตามแต่หากยังคงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บเหมือนเดิมก็ไม่สามารถรักษาอาการปวดได้หายขาด แถมอาการยังสามารถทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย

เพื่อให้สภาพข้อเข่าคงสภาพเช่นเดิม ไม่รุนแรงไปมากกว่านี้ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การนั่งคุกเข่า การนั่งพับเพียบ การกระโดด หรือการกระทำใด ๆ ที่ไปเพิ่มแรงกดหรือแรกกระแทกที่ข้อเข่า นอกจากนี้ผู้ป่วยควรบริหารกล้ามเนื้อบริเวณข้อเข่าให้แข็งแรง เมื่อกล้ามเนื้อรอบหัวเข่าแข็งแรงจะช่วยพยุงข้อเข่าลดการกระแทกและเสียดสีของข้อได้

2. ประคบเย็นบรรเทาอาการปวด

 ประคบเย็นลดอาการปวดเข่า

หากเกิดการบาดเจ็บบริเวณเข่าสามารถใช้การประคบเย็นบริเวณเข่าลดอาการปวดเข่าได้ทันที โดยความเย็นจะช่วยให้หลอดเลือดบริเวณที่ประคบหดตัว เลือดไหลเวียนน้อยลง จึงทำให้อาการปวดลดลงได้ 
 

หลักการประคบเย็นคือจะต้องประคบเย็นในช่วงที่เพิ่งเกิดอาการบาดเจ็บใหม่ ๆ สามารถใช้ได้ทั้งเจลเย็นหรือผ้าขนหนูห่อน้ำแข็งประคบได้เช่นกัน ใช้เวลาประคบประมาณ 20-30 นาที และประคบวันละ 2-3 ครั้งเป็นเวลา 1-3 วันที่เกิดการบาดเจ็บ

3. การทำกายภาพบำบัด

การทำกายภาพบำบัดลดอาการปวดเข่า


การทำกายภาพบำบัดเป็นอีกทางเลือกในการรักษาอาการปวดเข่าได้นอกจากการใช้ยาแก้ปวดเข่า โดยจุดประสงค์ของการทำกายภาพบำบัดเพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณข้อเข่าแข็งแรงขึ้น ซึ่งมีประโยชน์กับผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมอย่างมาก กล้ามเนื้อรอบหัวเข่าที่แข็งแรงจะช่วยพยุงข้อเข่าลดการเสียดสี จึงทำให้อาการปวดเข่าลดลงนั่นเอง

4. การฉีดยาแก้ปวดเข่า

ฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่า ลดอาการปวดเข่า

ยาฉีดแก้ปวดเข่าจะเป็นการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เข้าที่ข้อเข่าโดยตรง สามารถลดอาการปวดบวม และการอักเสบบริเวณข้อเข่าได้อย่างรวดเร็ว แพทย์จะพิจารณาฉีดยาแก้ปวดเข้าให้ผู้ป่วยที่มีระยะการเสื่อมของข้อเข่าระดับปานกลาง และการใช้ยารับประทานไม่สามารถระงับอาการปวดเข่าได้ 


แต่อย่างไรก็ตามการฉีดยาแก้ปวดเข่าเป็นเพียงการลด ระงับอาการปวดเท่านั้น ไม่สามารถรักษาฟื้นฟูสภาพผิวข้อเข่าที่เสื่อมไปแล้วได้ และตัวยามีฤทธิ์ลดอาการปวดได้ประมาณ 1-3 เดือนเท่านั้น ที่สำคัญไม่สามารถใช้รักษาอาการปวดระยะยาวได้เพราะสเตียรอยด์จะไปทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อ


การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถลดอาการปวดข้อเข่าได้ดี สามารถให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้น โดยน้ำเลี้ยงข้อเข่าเทียมที่ฉีดเข้าไปจะทำหน้าที่หล่อลื่นหัวเข่า ลดการเสียดสีของผิวข้อ ทำให้ผู้ป่วยสามารถขยับข้อได้ไหลลื่นโดยไม่เกิดอาการเจ็บปวด 


แพทย์จะพิจารณาให้ผู้ป่วยฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่านี้เมื่ออาการเสื่อมของข้อเข่าอยู่ในระยะกลางจนถึงรุนแรง ไม่สามารถใช้การรับประทานยาหรือการกายภาพบำบัดลดอาการปวดได้อีกต่อไป ผู้ป่วยมีข้อห้ามใช้สเตียรอยด์ รวมถึงผู้ป่วยที่อยากจะยืดเวลาการผ่าตัดข้อเข่าออกไป นอกจากนี้การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่าในผู้ป่วยที่เพิ่งผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าก็จะทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้งานข้อเข่าได้เร็วขึ้นอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามการฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่าก็เป็นเพียงวิธีช่วยให้ข้อเข่ากลับมาใช้งานได้ดีขึ้น แต่ไม่ได้มีผลในการช่วยให้ผิวข้อเข่ากลับมาเป็นปกติแต่อย่างใด

5. การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเสื่อม

หากอาการปวดเข่าของผู้ป่วยรุนแรงมากจนยาแก้ปวดเข่าไม่สามารถช่วยได้แล้ว และแพทย์ทำการตรวจและวินิจฉัยว่าข้อเข่าเสื่อมรุนแรงแล้ว วิธีที่ช่วยให้ผู้ป่วยหายขาดจากอาการปวดเข่าจะมีเพียงแต่การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมออกแล้วใส่ข้อเข่าเทียมเข้ามาแทนเท่านั้น
 

การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมในปัจจุบันมี 2 รูปแบบ คือ
 

  1. ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าทั้งหมด โดยแพทย์จะนำข้อเข่าที่เสื่อมของผู้ป่วยออกทั้งหมดและแทนที่ด้วยข้อเข่าเทียม ช่วยแก้ไขปัญหาข้อเข่าเสื่อม รูปข้อเข่าผิดปกติให้กลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม โดยวิธีนี้จะใช้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยมีระดับการเสื่อมของข้อเข่ารุนแรงมากจนไม่เหลือผิวข้อเข่าส่วนดีแล้ว
     
  2. ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเฉพาะส่วน ในผู้ป่วยที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมรุนแรง แต่ยังมีผิวข้อเข่าส่วนที่ดีอยู่ แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเอาเฉพาะข้อเข่าที่เสื่อมสภาพออกไปและคงสภาพข้อเข่าเดิมที่ยังดีอยู่เอาไว้ การผ่าตัดแบบนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บจากการผ่าตัดน้อยลง ระยะพักฟื้นสั้นกว่าการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าทั้งหมด

ข้อสรุป

ผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าสามารถใช้ยาทาแก้ปวดเข่าเฉพาะที่หรือทานยาแก้ปวดเบื้องต้นก่อนได้ แต่เมื่อใดที่อาการปวดไม่ดีขึ้นควรเข้ามาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและวินิจฉัยอาการปวดเข่าว่าแท้จริงเกิดจากอะไร
 

ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการรักษาด้วยการจ่ายยาแก้ปวดเข่ากลุ่มแก้อักเสบ แต่หากอาการปวดเข่ารุนแรงขึ้นจนการทานยาเหมือนจะไม่ได้ช่วยอะไร แพทย์ก็จะมีทางเลือกในการรักษาอาการปวดเข่าอื่น ๆ เช่น การกายภาพบำบัด การฉีดยาที่ข้อเข่าโดยตรง การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่า และวิธีสุดท้ายคือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าใหม่หากการรักษาวิธีอื่นไม่ได้ผล
 

อาการปวดเข่าไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาการปวดเข่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโดยตรง หากอาการรุนแรงขึ้นผู้ป่วยอาจมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว หรือไม่อาจเคลื่อนไหวได้อีกต่อไป

 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที