Daisy

ผู้เขียน : Daisy

อัพเดท: 17 ต.ค. 2022 21.51 น. บทความนี้มีผู้ชม: 310350 ครั้ง

รอบรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รู้ก่อน รักษาก่อน บทความที่จะมาเชิญชวนให้นักอ่านทุกคนหันมาดูแลสุขภาพเพื่อตัวเองและคนที่คุณรัก


นิ้วล็อค ไม่ต้องผ่า รักษาง่ายนิดเดียว

นิ้วล็อค

ในปัจจุบัน มีผู้ที่พบกับอาการโรคนิ้วล็อคเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากลักษณะการใช้ชีวิตในปัจจุบัน มีความเกี่ยวข้องกับการใช้นิ้วที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งการใช้งานสมาร์ตโฟน การใช้งานคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยกลุ่มคนเหล่านี้ มีโอกาสที่จะเกิดอาการนิ้วล็อคได้ง่าย เนื่องจากใช้นิ้วในการสัมผัสจอบนสมาร์ตโฟนมากเกินไป หรือพิมพ์ข้อความบนคอมพิวเตอร์เป็นเวลาต่อเนื่อง 


รู้จักโรคนิ้วล็อค (Trigger Finger)

โรคนิ้วล็อค (Trigger Finger) เป็นอาการที่เกิดบนมือของเรา โดยมีอาการขยับนิ้วไม่สะดวก เวลาขยับนิ้วมีการติดๆ ขัดๆ ไม่ได้ดั่งใจ รวมถึงมีอาการปวดเมื่อบริเวณฝ่ามือ แถวๆโคนนิ้วอีกด้วย


นิ้วล็อคเกิดจากสาเหตุใด

สาเหตุนิ้วล็อค

สาเหตุนิ้วล็อคเกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นและเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้วมือ บริเวณโคนนิ้วด้านในฝ่ามือ ทำให้สองสิ่งนี้เกิดการบวมขึ้นจนเป็น ความยืดหยุ่นลดลง ปลอกเอ็นเกิดการบีบเส้นเอ็น จึงทำให้เส้นเอ็นเคลื่อนตัวได้ไม่สะดวกเท่าทีควร ทำให้เกิดเป็นอาการนิ้วล็อค มือชาได้


อาการนิ้วล็อคมักเกิดจากการใช้งานที่มากเกินไป โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่มีงานอดิเรกที่ใช้นิ้วมือเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เช่น ช่างแกะสลัก เกมเมอร์ หรือกลุ่มคนที่ทำงาน เช่น แม่บ้าน คุณหมอ ชาวสวน พ่อครัว รวมไปถึงคนทำงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ 


โดยส่วนมาก อาการนิ้วล็อคจะเกิดขึ้นกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และกลุ่มของผู้ที่เป็นโรคประจำตัวเช่น เบาหวาน รูมาดอยด์ เก๊าท์ ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้สูงเช่นกัน

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดนิ้วล็อค

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคนิ้วล็อคนั้น มีหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นกิจวัตรประจำวัน การใช้งานที่หนักจนเกินไป จากการทำงาน ทั้งการพิมพ์งานไม่ว่าจะบนคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟน เล่นเกมหนักจนเกินไป อีกทั้งเพศยังมีส่วนที่สามารถทำให้เกิดโรคนิ้วล็อคได้ 


โดยเพศหญิงนั้นมีโอกาสเกิดโรคนิ้วล็อคมากกว่าเพศชาย เรื่องอายุที่มากขึ้น โอกาสเกิดโรคนิ้วล็อคก็มากขึ้น หรือแม้กระทั่งกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวบางโรคเช่น โรคเบาหวานเป็นต้น


โดยกลุ่มที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการนิ้วล็อคได้ง่าย แต่ถ้าหากท่านคิดว่าตนเองไม่อยู่ในกลุ่มใดใดเลยที่กล่าวมาข้างต้น แนะนำให้เข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจให้ละเอียดจะดีกว่า  


อาการของโรคนิ้วล็อคเป็นอย่างไร

โรคนิ้วล็อค สามารถแบ่งอาการออกได้ทั้งหมด 4 ระยะ ได้แก่

อาการนิ้วล็อค

อาการนิ้วล็อคระยะที่ 1

มีอาการปวด บริเวณฐานของนิ้วมือ แต่สามารถขยับนิ้วได้ปรกติ ยังไม่มีอาการติดขัดใดๆเกิดขึ้น

อาการนิ้วล็อคระยะที่ 2

เริ่มมีอาการติดขัดเวลาขยับนิ้วเพิ่มเข้ามา แต่ยังสามารถขยับนิ้วได้ด้วยตัวเอง

อาการนิ้วล็อคระยะที่ 3

การขยับนิ้วเป็นไปด้วยความยากลำบาก ไม่สามารถงอหรือเหยียดนิ้วได้สุดทาง แต่ยังสามารถใช้มืออีกข้างเพื่อกางนิ้วออกได้ 

อาการนิ้วล็อคระยะที่ 4

มีอาการเกร็งของนิ้วรุนแรงมาก ไม่สามารถเหยียดนิ้วออกได้ด้วยตนเองอีกต่อไป


กลุ่มเสี่ยงโรคนิ้วล็อค

 เสี่ยงนิ้วล็อค

กลุ่มเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอาการนิ้วล็อค

  • ช่วงอายุ โดยกลุ่มผู้สูงอายุมักบพอาการนิ้วล็อคได้มากกว่า
  • งานที่ทำ โดยงานเหล่านี้การจับและเกร็งมือบ่อยครั้ง เช่น หมอ แม่บ้าน ช่างแกะสลัก เนื่องจากเป็นประเภทงานที่ต้องอาศัยคงามละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก จึงอาจเกิดการเกร็งของนิ้วบ่อยครั้ง ทำให้สามารถเกิดอาการอักเสบได้ง่ายกว่าอาชีพอื่นๆ 
  • งานอดิเรก เช่น เล่นเกมที่กดบ่อยๆ หลายๆที่อาจจะทำงานอดิเรก ที่ต้องใช้ความละเอียด หรือต้องใช้ความไว ทำสิ่งเดิมๆซ้ำมากจนเกินไป อาจส่งผลให้สามารถเกิดนิ้วล็อคได้ง่าย
  • เพศ โดยเพศหญิงนั้น มีอาการนิ้วล็อคมากกว่าเพศชาย
  • โรคประจำตัว ในบางโรคนั้น สามารถทำให้เกิดอาการนิ้วล็อคได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคเก๊าต์

อาการนิ้วล็อคที่ควรพบแพทย์

หากท่านมีเกิดอาการนิ้วล็อค และมีอาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ก็ควรพบแพทย์ได้แล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอักเสบที่รุนแรงจนเกินไป โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการปวดร้อนบริเวณนิ้ว ควรเข้าพบแพทย์โดยด่วน เนื่องจากอาการนี้อาจเป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นถึงอาการติดเชื้อได้


วิธีรักษาโรคนิ้วล็อค

อาการนิ้วล็อคนั้น มีหลายระยะของความรุนแรง แต่ถึงจะเป็นแบบนั้น ก็อาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์โดยตรงเพียงอย่างเดียว ในบางระยะของความรุนแรง เราอาจจะสามารถใช่วิธีแก้นิ้วล็อคด้วยตัวเอง หรือบรรเทาอาการด้วยตัวเอง เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นได้อีกด้วย


ทั้งนี้ เราควรพิจารณาจากอาการเบื้องต้นของเรา โดยไม่ต้องฝืน เพราะหากเราฝืนทนเจ็บ และไม่เข้ารับการแก้ไขให้ทันท่วงที อาการเหล่านี้อาจทวีคูณผลเสียให้กับร่างกายได้ ดังนั้น ในระหว่างที่มีอาการ ควรสังเกตตัวเองอย่างถี่ถ้วน ว่าอยู่ในขั้นไหน และควรปฎิบัติตัวต่อไปอย่างไร


วิธีแก้นิ้วล็อคเบื้องต้น

แก้นิ้วล็อคเบื้องต้น

หากเกิดอาการนิ้วล็อคขั้นต้น (ระยะที่ 1 ถึง ระยะที่ 2) อาจจะยังสามารถใช้วิธีการรักษานิ้วล็อคด้วยตัวเองบรรเทาอาการได้เนื่องจาก สาเหตุอาจมาจากการใช้งานในชีวิตประจำวันที่มากเกินไป จนเกิดเป็นอาการนิ้วล็อค โดยสามารถทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ เพื่อแก้อาการนิ้วล็อคที่เกิดขึ้นได้ 

วิธีบริหารนิ้วมือคลายนิ้วล็อคด้วยตัวเอง

  1. ยกแขนระดับไหล่ ปลายนิ้วเหยียดตรงค้างไว้ ใช้มือหนึ่งข้างดันให้ข้อมือกระดกขึ้น-ลง จากนั้นนับ 1 ถึง 10 แล้วปล่อย ทำ 5 ถึง 10 ครั้งต่อเซต
  2. บริหารมือโดยกำ-แบมือ เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อนิ้ว และกำลังกล้ามเนื้อภายในมือ 6 ถึง 10 ครั้งต่อเซต  (หากเกิดอาการนิ้วล็อค ขยับไม่ได้แล้ว งดการทำท่านี้) 
  3. เมื่อเริ่มมีอาการปวดตัง ให้นำมือ แช่น้ำอุ่นไวเ ประมาณ 15 ถึง 20 นาทีทุกวัน 2เวลา เช้า - เย็น 

หากทำตามขั้นตอนข้างต้นแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้ เข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์และหาทางรักษาตามคำแนะนำต่อไป


การรักษานิ้วล็อคทางการแพทย์

รักษานิ้วล็อค

หากอาการนิ้วล็อคของท่า รุนแรงมากขึ้น หรือใช้การบริหารนิ้วมือคลายนิ้วล็อคด้วยตัวเอง แล้วยังไม่ได้ผล สิ่งที่ควรทำต่อไปคือการเ้ารับการรักษาจากแพทย์โดยตรง เนื่องจากหากปล่อยทิ้งไว้ อาจส่งผลร้ายต่อร่างกาย

เป็นอย่างมาก โดยวิธีการรักษาที่อาจเกิดขึ้นหากเข้าพบแพทย์ มีดังนี้

1. การทานยาต้านการอักเสบ

การทานยารักษานิ้วล็อค เป็นการทานยาแก้ปวดประเภท NSAID เพื่อลดอาการปวดของผู้ป่วยลงได้ หลังจากทานยาควรงดใช้นิ้ว แลพักผ่อนนิ้ว ไม่ควรใช้งานรุนแรง

2. การทำกายภาพบำบัด

การทำกายภาพนิ้วล็อค เป็นการออกกำลังนิ้วหรือมือโดยอาจมีอุปกรณ์ช่วยในการทำ เช่น เครื่องล็อคนิ้ว สามารถทำร่วมกับการประคบร้อนหรือเย็น สามารถนวดเบาๆเพื่อช่วยในกระบวนการได้

3. การฉีดยาแก้นิ้วล็อค

เป็นการฉีดยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช้สเตียรอยด์ สามารถบรรเทาอาการปวดของผู้ป่วยได้ในระยะเวลาสั้นๆแต่จะไม่สามารถ ลดอาการบวมของปลอกหุ้มเอ็นบริเวณนิ้วได้ โดยอาการสามารถกลับมาเกิดขึ้นได้อีกในระยะเวลาไม่นาน แต่ไม่ควรฉีดเกิน 2 ถึง 3 ครั้ง ต่อหนึ่งนิ้ว

4. การผ่านิ้วล็อค

การผ่านิ้วล็อค เป็นการตัดเส้นปลอกเอ็นที่หนาอยู่นั้น ให้เปิดกว้างออก เพื่อให้เส้นเอ็นสามารถเคลื่อนผ่านได้สะดวก


แนวทางการป้องกันอาการนิ้วล็อค

 ดูแลนิ้วล็อค

  • ควรให้เวลาพักกับนิ้วบ้าง ในการทำงานหรือใช้งานนิ้วเป็นระยะเวลานาน ควรมีการพักผ่อนนิ้วมือของเรา เพื่อลดอาการเมื่อยที่อาจส่งผลให้เกิดเป็นโรคนิ้วล็อค
  • ไม่ฝืนหนักจนเกินไป ในการยกถือของที่มีน้ำหนักมาก ควรหลีกเลี่ยงการยกโดยใช้นิ้วมือ ไปใช้ฝ่ามือแทน เผื่อลดการเกร็งบริเวณนิ้วโดยไม่จำเป็น โดยอาจมีกระประคองสิ่งของนั้นๆ หรือลดน้ำหนักเพื่อที่ร่างกายส่วนอื่นๆจะได้ไม่เสียหายด้วย
  • เน้นพอดีมี ไม่ควรใช้งานสิ่งของที่ขนาดเล็กหรือใหญ่กว่ามือมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ใช้งานไม่ถนัดมือและเกิดอาการเกร็งเพื่อที่จะให้สามารถใช้อุปกรณ์นั้นๆได้ โดยสามารถแก้ได้โดยการหุ้มด้ามจับด้วยวัสดุที่อ่อนนุ่ม ในเต็มมือ หรือเปลี่ยนไปใช้อันที่เล็กกว่าหากอุปกรณ์นั้นมีขนาดใหญ่จนเกินไป
  • วางมือเฉยๆ หลายคนอาจจะว่างจนต้องหาอะไรทำ ซึ่งการดีดนิ้วหรือสั่นนิ้วรัวๆ อาจเป็นหนึ่งในสิ่งที่หลายๆคนทำ เนื่องจากเคยทำจนชินมือ  แต่การทำแบบนั้น อาจทำให้ปลอกหุ้มเอ็นและเส้นเอ็นของเราอักเสบได้ง่าย ไม่ต่างจากการใช้งานบ่อยเลย

ข้อสรุป

นิ้วล็อค อาจเป็นโรคที่พบเห็นได้ทั่วไป แต่ถึงกระนั้น เราก็ไม่ควรนิ่งนอนใจปล่อยผ่านให้หายไปเอง เนื่องจากหากเราไม่เอาใจใส่ให้ดี โรคนิ้วล็อคอาจส่งผลต่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ดังนั้น เราควรเน้นป้องกันเพื่อไม่ให้อาการที่ไม่พึงประสงค์เหล่านี้เกิดขึ้น โดยหากดำเนินการตามบทความข้างต้น ท่านก็จะสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดโรคนิ้วล็อคได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที