ตรวจไมเกรน ตรวจได้ด้วยตนเอง ไมเกรนอาการปวดศีรษะเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ผู้คนในยุคปัจจุบันนิยมเป็นกันมาก วิธีตรวจไมเกรนและสัญญาณเตือนของไมเกรน คือ หากมีอาการปวดศีรษะ โดยมักจะปวดศีรษะข้างเดียว หรือเริ่มปวดจากข้างเดียวก่อนแล้วจึงปวดทั้ง 2 ข้าง หรือบางครั้งอาจปวดทั้ง 2 ข้างขึ้นมาพร้อม ๆ กัน แต่ละครั้งที่ปวดมักจะปวดย้ายข้างไปมาหรือสลับตำแหน่งที่ปวด
เราสามารถตรวจไมเกรนด้วยตัวเองได้หากมีอาการปวดศีรษะตุบ ๆ เป็นระยะ ๆ และในขณะปวดมีอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียนร่วมด้วย หากมีอาการเหล่านี้แสดงว่าเรามีโอกาสที่จะเกิดโรคไมเกรนได้
อาการสัญญาณเตือนไมเกรน ผู้ที่สงสัยว่าตนเองเข้าข่ายของการเป็นไมเกรน สามารถตรวจโรคไมเกรนได้ด้วยตนเอง โดยสัญญาณเตือนของไมเกรน มักจะมีอาการบอกล่วงหน้าประมาณ
1 – 2 วันก่อนที่จะเป็น เริ่มจากอาการปวดตึงตามต้นคอ หรืออารมณ์แปรปรวน สายตาพร่ามัวหรือมองเห็นแสงกระพริบ
จากนั้นจะมีอาการปวดศีรษะเป็นระยะ ๆ ส่วนมากมักจะปวดรุนแรงถึงปานกลาง อาการปวดจะค่อย ๆ ปวดมากขึ้นจนกระทั่งปวดรุนแรงเต็มที่แล้วจะค่อย ๆ บรรเทาอาการปวดลดลงจนหายปวด ตำแหน่งปวดไมเกรน อาจปวดร้าวมาที่กระบอกตาหรือท้ายทอย หรือปวดหัวข้างเดียว บางคนอาจมีอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียนร่วมด้วย
การตรวจวินิจฉัยโรคไมเกรน ไมเกรนเป็นโรคที่วินิจฉัยได้โดยการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด และอาศัยเกณฑ์การวินิจฉัยของสมาคมปวดศีรษะนานาชาติ อาการปวดศีรษะไมเกรนเป็นอาการปวดศีรษะแบบปฐมภูมิ (Primary headache)
ซึ่งในการตรวจวินิจฉัยโรคไมเกรน จะวินิจฉัยจากอาการปวดศีรษะต่อเนื่องนานหลายวัน ปวดหัวข้างเดียว ปวดหัวตุบ ๆ ปวดค่อนข้างมากหรือปวดจนทำงานไม่ไหว ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดและเส้นประสาทในสมองแต่ไม่ได้เกิดจากโรค
ดังนั้นการเจาะเลือด เอกซเรย์ หรือการตรวจวินิจฉัยสมองจึงไม่มีความจำเป็น แต่อาจจะตรวจเพื่อช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคปวดศีรษะอื่นที่มีอาการคล้ายคลึงกับไมเกรน และเราสามารถตรวจไมเกรนได้ด้วยตนเอง ด้วยการประเมินแบบ ID migraine คือการประเมินตัวเองเบื้องต้น หากเรามีอาการ 2 ใน 3 ข้อขึ้นไป ให้ประเมินไว้ก่อนเลยว่าเราอาจจะเป็นโรคไมเกรน
ทางการแพทย์ได้มีเกณฑ์การวินิจฉัยและวิธีตรวจโรคไมเกรน ได้จากวิธีการดังนี้
อาการปวดไมเกรนที่ควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์คือ เมื่อมีอาการปวดศีรษะบริเวณขมับต่อเนื่องนานวันละ 4–5 ชั่วโมง เป็นเวลาหลายวันติดกัน ปวดจนไม่สามารถทำงานได้ มีอาการปวดร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน อาการกลัวแสง หรืออาการกลัวเสียง ซึ่งหนักไปจนถึงปวดศีรษะทั้งสองข้าง
แม้ว่าจะมีอาการไม่รุนแรง แต่หากอาการดังกล่าวเกิดขึ้นถี่ หรือมีระยะเวลายาวนานก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์ ซึ่งแพทย์จะทำการวินิจฉัยจากลักษณะจำเพราะของอาการปวดศีรษะ และอาการที่เกิดร่วมด้วย รวมถึงความผิดปกติของการทำงานของสมอง ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะเรื้อรังควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด
การบันทึกอาการปวดหัวเพื่อการวินิจฉัย เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและตรวจไมเกรน ที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งยังช่วยให้เรารู้เท่าทันอาการของโรค และสามารถปรับตัว หรือปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตเพื่อรับมือกับโรคให้ดีขึ้นได้ด้วย
การบันทึกอาการปวดศีรษะไมเกรนควรบันทึก อาการที่เกิดขึ้น ระดับความรุนแรงของอาการ และความถี่ในการเกิดอาการ การแบ่งระดับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นออกเป็น 4 ระดับ ตั้งแต่ 0 - 3 โดยวัดจากผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย
ระดับ 0 วันที่ไม่มีอาการปวดศีรษะไมเกรน ระดับ 1 อาการปวดศีรษะไมเกรนกำเริบในระดับเบา ระดับ 2 อาการปวดศีรษะไมเกรนในระดับปานกลาง และดับ 3 อาการปวดศีรษะไมเกรนในระดับรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก
นอกจากการบันทึกอาการปวดศีรษะแล้วควรบันทึกสถานการณ์ที่กระตุ้นให้ไมเกรนกำเริบ อาหารที่เป็นสิ่งเร้าไมเกรน ยาที่ใช้ การนอนหลับ และรอบเดือน หากมีการบันทึกสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยหาสาเหตุได้ง่ายขึ้น
แนวทางการรักษาหลังจากการตรวจไมเกรนพบ มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ
1.การรักษาด้วยยา
ซึ่งประกอบด้วย 2 กลุ่มหลัก คือ ยาระงับปวด และยาเพื่อป้องกัน โดยยาระงับปวดจะแนะนำให้รับประทานเป็นครั้งคราวเท่าที่จำเป็นเพื่อให้บรรเทาจากอาการปวด พออาการดีขึ้นให้หยุดใช้ ส่วนยาเพื่อป้องกันให้รับประทานต่อเนื่องทุกวันตามที่แพทย์สั่ง
2.การรักษาที่ไม่ใช้ยา
การรักษาที่ไม่ใช้ยา ได้แก่ การประคบเย็น การนวด กดจุด การทำกายภาพบำบัดเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และการโบท็อกไมเกรน
ปัจจุบันการฉีดโบท็อกไมเกรนเป็นหนึ่งในวิธีที่แพทย์นำมาใช้ในการรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน โบท็อกสามารถเข้าไปยับยั้งปลายประสาท Acetyl Choline ตัวกลางในการส่งสัญญาณความเจ็บปวดไปยังสมองที่ต่อกับกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งอยู่คลายตัวลง
จึงช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะให้น้อยลงได้ และยังช่วยลดความรุนแรงและความถี่ของอาการปวดศีรษะได้ โดยมีงานวิจัยระบุว่าสามารถลดอาการปวดลงได้ 60 – 70% ถึงแม้จะรักษาไม่หายขาด แต่ก็สามารถบรรเทาและลดความถี่ของอาการไมเกรนลงได้
การวินิจฉัยตรวจโรคไมเกรนแล้วไม่เข้าข่ายแต่มีอาการคล้ายคลึงไมเกรน แพทย์อาจจะทำการเจาะเลือด ตรวจความดัน ระดับน้ำตาลในเลือด การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงการเอกซเรย์หรือการตรวจวินิจฉัยสมองเพื่อช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคปวดศีรษะอื่นที่มีอาการคล้ายคลึงกับไมเกรน เช่นโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมอง อันจะส่งผลให้เกิดโรคเส้นเลือดสมองตีบและเส้นเลือดในสมองแตกได้
การตรวจไมเกรนด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า MRI เป็นการตรวจที่ใช้คลื่นวิทยุร่วมกับคลื่นสนามแม่เหล็ก สร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าโดยไม่ต้องใช้รังสีเอกซเรย์ ภาพถ่ายที่ได้จะมีความคมชัดสูงกว่าการเอกซเรย์ แพทย์จะเห็นสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจน และมีความแม่นยำสูง
ทั้งนี้ เครื่อง MRI จะแสดงภาพระบบอวัยวะครั้งละระบบ เช่น การตรวจสมอง จะแสดงภาพของเนื้อเยื่อสมอง และอวัยวะอื่น ๆ บริเวณสมอง หากมีอาการปวดหัวอยู่บ่อย ๆ ควรพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยอย่างตรงจุด
ตรวจไมเกรนที่ไหนดี ศูนย์รักษาไมเกรน การตรวจไมเกรนมีอยู่หลายวิธี ทั้งการประเมินตนเอง ประเมินจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การ MRI หลักในการพิจารณาเลือกตรวจไมเกรน คือ
ไมเกรน เกิดจากความผิดปกติชั่วคราวของระดับสารเคมีในสมอง แม้จะมีวิธีตรวจไมเกรนทั้งการประเมินตนเอง ประเมินโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการตรวจไมเกรน แต่สิ่งสำคัญที่สุด หากเรามีความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ รู้เท่าทันและไม่ตื่นตระหนกเกินไป จะเราให้เราสามารถรับมือกับโรคที่จะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน
ฉะนั้นหากมีอาการปวดศีรษะ ไม่ว่าจะมาจากสาเหตุของไมเกรนหรือไม่ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจโรคและรับรักษาอย่างถูกต้องจะดีที่สุด
ขอบคุณเนื้อหาจาก https://www.migrainethailand.com/
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที