ประจำเดือนในผู้หญิงนั้นนอกจากจะเป็นระบบร่างกายตามธรรมชาติในวัยเจริญพันธุ์แล้ว ยังสามารถบ่งบอกความผิดปกติต่าง ๆ ของร่างกาย และอาจรวมไปถึงเป็นการบ่งบอกถึงโรคร้ายแรงได้อีกด้วย ซึ่งเราไม่ควรที่จะมองข้ามอาการประจำเดือนมาไม่ปกติต่าง ๆ
การที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือ ประจำเดือนมาผิดปกติ นั้นมีอยู่หลายอาการด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมาน้อยผิดปกติ ประจำเดือนมาเร็วผิดปกติ และประจำเดือนมาถี่ผิดปกติ
ซึ่งอาการประจำเดือนมาไม่ปกติมักจะเกิดจากสาเหตุมากมาย เช่น ความผิดปกติของระดับฮอร์โมน เกิดปัญหาการตกไข่จากความเครียด การใช้ยาบางประเภท หรือเกิดภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ
ตามปกติทั่วไปแล้วประจำเดือนจะมีรอบเดือนห่างกันประมาณ 28-30 วัน ซึ่งจะไม่มาเร็วกว่า 21 วัน และไม่มาช้าเกินกว่า 35 วัน โดยกินระยะเวลาการมีประจำเดือนประมาณ 3-5 วันต่อเดือน อีกทั้งปริมาณประจำเดือนที่มีในแต่ละวันไม่ควรที่จะเกินกว่า 80 ซีซี
โดยเราสามารถตรวจสอบอาการประจำเดือนมาไม่ปกติได้จากเกณฑ์รอบเดือนปกติในหัวข้อนี้ และถ้าหากว่าการมีประจำเดือนของเราไม่ตรงตามที่กล่าวไปข้างต้นก็ควรที่จะหาสาเหตุของความผิดปกตินี้ เพื่อที่จะทำการรักษาหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างทันท่วงที
อาการประจำเดือนมาไม่ปกติต่าง ๆ จะเกิดขึ้นมาได้นั้นล้วนแต่มีเหตุมีผลในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการเกิดจากพฤติกรรม ความผิดปกติของร่างกาย หรือการใช้ยาในบางประเภท โดยสาเหตุประจำเดือนมาไม่ปกติที่มีอยู่ไม่น้อยนี้เราจะมาอธิบายให้ดูเป็นข้อ ๆ กัน
ความสมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสเตอโรน (Progesterone) ในผู้หญิงนั้นจะส่งผลโดยตรงต่อการมีประจำเดือน ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลก็คือการมีน้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยเกินไป จึงส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมน 2 ชนิดนี้
ภาวะไข่ไม่ตกนอกจากจะมีสาเหตุมาจากความเครียดแล้ว ยังอาจมีสาเหตุมาจากภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรังได้อีกด้วย ซึ่งในภาวะนี้เกิดจากการที่ร่างกายสูญเสียกลไกควบคุมการเจริญเติบโตของไข่ จึงทำให้ขั้นตอนการโตของไข่หยุดชะงัก และเมื่อไข่ไม่ตกก็ส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ
การใช้ยาคุมกำเนิดก็อาจส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้เช่นกัน เนื่องจากตัวยามีการออกฤทธิ์ยับยั้งไม่ให้ร่างกายเกิดการตกไข่ด้วยการควบคุมฮอร์โมน ซึ่งอาการประจำเดือนมาไม่ปกติจะเกิดขึ้นหลังจากที่มีการหยุดยาในช่วงเดือนแรก ๆ
เมื่อมีการเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน ในระยะแรก ๆ จะมีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือมากะปริบกะปรอย เนื่องจากระดับฮอร์โมนที่ลดลง จึงส่งผลให้ไข่มีการตกที่ไม่สม่ำเสมอ ซึ่งวัยหมดประจำเดือนจะมีช่วงอายุประมาณ 45-55 ปี
เมื่อมีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือประจำเดือนขาดดังนี้ ควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที
เมื่อเกิดอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ แพทย์จะมีวิธีการตรวจเพื่อวินิจฉัยอยู่ 2 วิธีด้วยกัน ดังนี้
1. ทำการตรวจภายใน
2. ทำการอัลตราซาวด์
ถ้าหากพบความผิดปกติที่บริเวณมดลูกหรือรังไข่ในการตรวจเบื้องต้น ก็จะมีการทำอัลตราซาวด์ทั้งทางหน้าท้องและทางช่องคลอด เพื่อหาโรคและวินิจฉัยได้แม่นยำยิ่งขึ้น
การที่ประจำเดือนมาไม่ปกตินอกจากจะทำให้เกิดภาวะต่าง ๆ ที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว ยังสามารถที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ด้วยเช่นเดียวกัน
ในผู้ที่มีประจำเดือนมาไม่ปกติ โดยการมีปริมาณประจำเดือนในแต่ละครั้งที่มาก หรือประจำเดือนมาถี่เกินไป ก็อาจทำให้เกิดภาวะขาดธาตุเหล็ก หรือโรคโลหิตจางได้
ในผู้ที่มีประจำเดือนมาไม่ปกติ โดยการที่ประจำเดือนมาถี่เกินไป ก็อาจทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ เนื่องจากการตกไข่ในแต่ละครั้งจำเป็นที่จะต้องใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งนอกจากฮอร์โมนชนิดนี้จะมีส่วนในการทำไข่ตกแล้ว ยังช่วยให้กระดูกแข็งแรงอีกด้วย จึงส่งผลโดยตรงต่อกระดูกเช่นกัน
ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่เนื่องจากการตกไข่ในแต่ละครั้งจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนชนิดนี้เช่นกัน จึงอาจทำให้ปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ไม่เพียงพอสำหรับลดความเสี่ยงในโรคดังกล่าว
ในผู้ที่มีปริมาณประจำเดือนที่มากผิดปกติ ก็อาจทำให้เกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ เนื่องจากมีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ที่สูงผิดปกติ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวขึ้น ส่งผลให้กลายเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกในที่สุด
ในภาวะนี้จะมีความเกี่ยวกับความผิดปกติของการตกไข่ ความผิดปกติของการสร้างไข่ หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งอาจสามารถพบได้ในผู้ที่มีปริมาณประจำเดือนมากผิดปกติ และผู้ที่มีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติในรูปแบบต่าง ๆ
ประจำเดือนมาไม่ปกติอย่างปล่อยทิ้งไว้หรือเพิกเฉย ควรรีบรักษาในทันที โดยวิธีในการรักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติมีดังนี้
การใช้ยาปรับฮอร์โมนในการรักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกตินั้น จะเป็นการใช้กลุ่มยาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) โดยยาจะมีทั้งรูปแบบฉีด และยาสำหรับรับประทาน
ซึ่งยาปรับฮอร์โมนจะช่วยในผู้ที่มีอาการประจำเดือนมามาก และทดแทนฮอร์โมนในช่วงวัยหมดประจำเดือน แต่การใช้ยาชนิดนี้ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เท่านั้น
ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่อ้วนจนเกินไป และไม่ผอมจนเกินไป เนื่องจากน้ำหนักตัวจะส่งผลต่อความสมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสเตอโรน (Progesterone) ในร่างกาย จึงทำให้เกิดอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ
หมั่นดูแลสุขภาพจิตใจให้ดีอยู่เสมอ ด้วยการนั่งสมาธิ หรือการทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ เพื่อไม่ให้จิตใจเกิดความเครียด เนื่องจากความเครียดจะทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนโกนาโดโทรฟิน (Gonadotrophin) ถูกรบกวน และส่งผลต่อการควบคุมระบบสืบพันธุ์ จนอาจเกิดอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ
ควรหมั่นคอยเช็กอาการต่าง ๆ ของร่างกายอยู่เสมอ เมื่อสังเกตเห็นว่าเกิดอาการประจำเดือนมาไม่ปกติก็อย่างเพิกเฉย เพราะอาจบ่งบอกถึงโรคร้ายหรือภาวะแทรกซ้อนได้มากมาย ดังนั้นจึงควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อที่จะได้เข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที