ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม เพื่อการเคลื่อนไหวอย่างไร้อุปสรรค
มนุษย์เป็นสิ่งมีชิวิตที่ต้องมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา จะเป็นการเดิน การวิ่ง หรือการทำกิจกรรมต่างๆที่ใช้ขาเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการดำเนินชีวิตประจำวัน ข้อเข่าเสื่อมเป็นอุปสรรคในการใช้ขา มันจะทำให้เรามีอาการเจ็บปวด และบริเวณข้อเข่ามีความฝืดเคืองขยับได้ยาก ดังนั้นการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม เพื่อรักษาอาการเข่าเสื่อมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องรีบพิจารณา อาจจะมีหลายคนที่ยังมีความกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัดเข่า วันนี้เรามาหาคำตอบให้กับทุกคำถามที่เกี่ยวกับ “การผ่าตัดข้อเข้าเสื่อม” กัน
การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม
ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม (Knee Arthroplasty) คือ การผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ให้กับผู้ป่วยที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมรุนแรง ซึ่งไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการอื่นๆ โดยอาการหนักๆสำหรับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมก็จะมี เข่าโก่ง ไม่สามารถเหยียด หรืองอขาได้สุด เป็นผลให้การใช้ชีวิตประจำวัน โดยการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม หรือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ศัลยแพทย์จะทำการตัดเฉพาะผิวข้อเข่าที่มีความสึกหรอและเสียหายออกเพียงประมาณ 1 เซนติเมตรทั้งฝั่งกระดูกต้นขา และกระดูกหน้าแข้ง หลังจากนั้นจะมีการเตรียมผิวกระดูกให้พอดีสำหรับการฝังข้อเทียม
ข้อเข่าเทียมคืออะไร
ข้อเข่าเทียม (Knee Replacement) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษาอาการข้อเข่าเสื่อม โดยต้องทำการผ่าตัดเพื่อใส่ข้อเข่าเทียมเข้าไป เพื่อให้ข้อเข่าสามารถกลับมาทำงานได้เป็นปกติ โดยเฉลี่ยแล้วข้อเข่าเทียมจะเริ่มหลวมอยู่ที่ประมาณ 20 ปีเป็นต้นไป ดังนั้นก็คลายกังวลได้เลย การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมไม่จำเป็นต้องทำหลายรอบ โดยข้อเข่าเทียมนั้นก็มีวัสดุในการทำที่หลากหลาย โดยวัสดุที่ใช้ในการทำข้อเข่าเทียม จะมีดังนี้
ข้อเข่าเทียม ทำมาจากวัสดุอะไร
ข้อเข่าเทียมนั้นจะใช้วัสดุทำมาจากโลหะผสมไทเทเนียม (titanium) และโคบอลต์โครเมียม (cobalt chromium) ส่วนตรงกลางที่รองรับการเคลื่อนไหวของข้อเทียม เป็นวัสดุที่ทำมาจากพลาสติกโพลีเอทีลีน (polyethylene) ซึ่งทุกวัสดุที่เถูกเลือกสรรมา นั้นสามารถมั่นใจได้เลยว่าเป็นอุปกรณ์ที่ปลอดภัยต่อร่างกาย มีความคงทนแข็งแรง และมีอายุการใช้งานยาวนานมาก แต่อายุการใช้งานก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัสดุข้อเข่าเทียมเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการผ่าตัด การจัดวางข้อเข่าเทียมของศัลยแพทย์ กิจกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ไปจนถึงน้ำหนักตัวอีกด้วย
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมมีกี่แบบ
โดยการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม หรือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมนั้นสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 แบบ โดยแบ่งความแตกต่างจากลักษณะของการผ่าตัด มีรายละเอียด ดังนี้
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบทั้งหมด
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด (Total Knee Replacement) เป็นการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าทุกส่วน ตั้งแต่กระดูกส่วนปลายต้นขา (Femur) และส่วนบนของกระดูกหน้าแข้ง (Tibia) ทั้งด้านในและนอก (Medial and lateral compartment) เป็นการผ่าตัดที่เหมาะกับข้อเข่าที่มีความเสียหายมาก นอกจากนี้แล้วการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมดยังสามารถช่วยรักษาอาการอักเสบของข้อเข่า ช่วยทำให้ข้อเข่าที่งอผิดรูป กลับมาตรงได้ดังเดิม และป้องกันการเสื่อมของข้อเข่าที่อาจเกิดในอนาคตได้ โดยการผ่าตัดประเภทนี้จะเหมาะกับผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเฉพาะส่วน
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเฉพาะส่วน (Unicompartmental Knee Replacement) เป็นการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเพียงบางส่วนเท่านั้น โดยการผ่าตัดตัดผิวข้อเข่าที่เสียหายออกจากนั้นจึงแทนที่ด้วยผิวโลหะ แผ่นโพลีเอทีลีน เป็นการผ่าตัดที่เหมาะกับข้อเข่าที่ยังมีความเสียหายไม่มาก เพราะโรคข้อเข่าเสื่อมสำหรับผู้ป่วยบางราย อาการเสียหายจะจำกัดอยู่บริเวณบางส่วน ซึ่งมักจะเกิดที่บริเวณด้านในของข้อเข่า มีผู้ป่วยจำนวนน้อยที่การเสื่อมของข้อเข่าจะเริ่มที่ผิวกระดูกด้านนอก การผ่าตัดข้อเข่าเทียมเฉพาะส่วนโดยเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ดีไว้ จะเป็นการผ่าตัดที่เล็กกว่าการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด ทำให้ขนาดเเผลเล็กกว่า และฟื้นตัวได้เร็วกว่า
ใครที่ควรเข้ารับการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม
สำหรับผู้ที่ควรเข้ารับการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม ควรจะเป็นผู้ที่มีมีอาการปวดข้อเข้ามากจนทนไม่ไหว ข้อโก่งผิดรูป ข้อติดขัด เคลื่อนไหวได้ลดลง หรืออาการข้อเข้าเสื่อมมีความรุนแรง จนเป็นอุปสรรคต่อการปฏบัติกิจวัตรประจำวัน
การตรวจวินิจฉัยข้อเข่าเสื่อม
ก่อนการเลือกวิธีที่รักษาข้อเข่าเสื่อมที่เหมาะที่สุด ศัลยแพทย์จะต้องทำการวินิจฉัยผู้ป่วยเป็นอย่างแรก เพื่อเก็บข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจเลือกวิธีรักษา โดยข้อมูลของผู้ป่วยที่ศัลยแพทย์จะต้องมี ดังนี้
-
สอบถามประวัติสุขภาพเบื้องต้นของผู้ป่วยก่อน ความรุนแรงของอาการปวดข้อ โรคประจำตัว พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงความสามารถในการขยับข้อ
-
การตรวจร่างกายเพื่อตรวจดูการทำงานของข้อเข่าว่าสามารถขยับได้มากน้อยแค่ไหน อาการทางกายภาพที่สามารถตรวจสอบได้ ความแข็งแรงของ กล้ามเนื้อ และเอ็นรอบเข่า น้ำหนักตัวไปจนถึงอาการแทรกซ้อนอื่นๆที่อาจมีผลกับข้อเข่า
-
การเอกซเรย์เพื่อดูสภาพของกระดูกข้ออย่างละเอียด
-
ตรวจน้ำในไขข้อ หรือตรวจเลือด เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุอื่น ที่อาจทำให้มีอาการปวดข้อเข่าได้ เช่น โรคเก๊าท์
-
ในบางกรณีอาจมีการ MRI เพื่อดูสภาพของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อรอบข้อด้วย
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม
เพื่อให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างราบรื่น การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดก็เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การผ่าตัดประสบความสำเร็จ รวมไปถึงการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมเช่นกัน โดยการเตรียมตัวร่างกายก่อนผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม มีดังนี้
ก่อนเข้าผ่าตัด ผู้ป่วยควรเตรียมตัวเองให้พร้อมสำหรับการผ่าตัด รวมไปถึงการจัดสภาพแวดล้อมให้พร้อมอำนวยความสะดวกหลังการผ่าตัดด้วย
-
คอยดูแลสุขภาพตนเองให้ดีก่อนเริ่มเข้ารับการผ่าตัด เช่น ไม่ให้มีการติดเชื้อตามบาดแผลบนร่างกาย หรือบริเวณช่องปาก หากมีควรรีบทำการรักษา
-
การรับประทานอาหารเสริม หรือสมุนไพรต่างๆ ที่ทานเพื่อบำรุงร่างกาย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่ามีอาหารเสริมที่ทานอยู่มีผลกระทบหรือไม่ หากมีแล้วก็ต้องหยุดรับประทานก่อนการผ่าตัด
-
งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
-
งดสูบบุหรี่
-
งดน้ำ งดอาหารก่อนเวลาผ่าตัดตามเวลาที่แพทย์ได้แจ้งไว้
-
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ก่อนวันผ่าตัด
การจัดเตรียมสถานที่ให้พร้อมสำหรับหลังผ่าตัด
นอกจากการเตรียมตัวเองข้างต้น การจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยเพื่อพร้อมอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดเองก็เป็นเรื่องจำเป็นไม่แพ้กัน เนื่องจากหลังจากผ่าตัดแล้ว ผู้ป่วยจะไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เพราะยังไม่สามารถขยับได้มากนัก เนื่องจากกำฃังพักฟื้น ดังนั้นสิ่งที่ต้องจัดเตรียม จะมีดังนี้
-
จัดทางเดินบริเวณที่อยู่อาศัยให้สะอาด ไม่มีของวางเกะกะซึ่งอาจเสี่ยงต่อการสะดุดล้ม
-
ตรวจสอบความคงทนของราวบันได ไม่มีผุพังหรือโยกคลอน
-
ควรติดตั้งราวจับตามขอบในห้องน้ำ และบริเวณชักโครกเพื่อช่วยในการพยุงตัวและการลุก
-
มีเก้าอี้พลาสติกในห้องน้ำเวลาอาบน้ำ
-
หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันไดในระยะแรก พยายามจัดห้องให้ผู้ป่วยอยู่เพียงแค่ชั้นเดียว ไม่ต้องเดินขึ้นลงบันได
ขั้นตอนการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม
การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม ศัลยแพทย์จะมีขั้นตอนการผ่าตัดคร่าวๆ ดังนี้
-
ผ่าเปิดแผลบริเวณข้อเข่า โดยความใหญ่บาดแผลจะอยู่ที่ประมาณ 8-10 เซนติเมตร จากนั้นผ่าผิวกระดูกส่วนที่เสื่อมสภาพออก ความหนาขึ้นอยู่กับบริเวณกระดูก หากเป็นกระดูกส่วนต้นขา ความหนาจะไม่เกิน 9-10 มิลลิเมตร กระดูกส่วนหน้าแข้งความหนาจะไม่เกิน 10 มิลลิเมตร และผิวกระดูกส่วนสะบ้าความหนาจะไม่เกิน 8 มิลลิเมตร เพื่อฝังวัสดุข้อเข่าเทียมเข้าไปแทนที่ข้อเข่าที่มีปัญหา
-
แพทย์จะต้องทำการปรับแต่งความตึงของเส้นเอ็นรอบๆข้อเข่าเพื่อให้ข้อเข่าหลังผ่าตัดมีความตึงที่พอดี ข้อเข่าอยู่ในแนวที่ตรง และไม่เกิดความโก่งงอ เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้ใช้งานข้อเข่าได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานที่สุดเท่าที่ทำได้
โดยขั้นตอนในการผ่าตัดทั้งหมดนี้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 75 นาที หลังจากการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมแล้ว ผู้ป่วยจะสามารถขยับข้อเข่าได้ทันที และสามารถใช้งานข้อเข่าได้ในวันแรกหลังการผ่าตัด
ผู้ป่วยสามารถยืนเดินได้หลังผ่าตัดภายใน 1 วัน และสามารถกลับบ้านได้ภายใน 3-5 วัน เทคโนโลยีทางการแพทย์ยังส่งผลให้การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเป็นการผ่าตัดที่มีความปลอดภัยสูง มีภาวะแทรกซ้อนต่ำอีกด้วย
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหลังผ่าตัด
ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดแบบไหน ก็อาจมีภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดได้ แม้แต่การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมเช่นกัน หลังการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมมีความเป็นไป แต่โอกาสที่เกิดค่อนข้างน้อยที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าที่เป็นอันตรายกับผู้ป่วย ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดหลังจากการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม จะมีอาการดังต่อไปนี้
-
เลือดคั่งบริเวณที่ผ่า สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเพื่อนำก้อนเลือดออก
-
แผลแยก แผลฉีก
-
ข้อเข่าไม่มั่นคง
-
การติดเชื้อ มีความเป็นไปได้อยู่ประมาณ 2% สามารถลดความเสี่ยงได้ คือ คอยระมัดระวังเรื่องความสะอาดหลังการผ่าตัด
-
ภาวะเส้นเลือดดำอุดตัน เกิดจากลิ่มเลือดไปติดที่กล้ามเนื้อหัวใจ และปอด ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจ และระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว พบได้ในคนผิวขาวมากกว่าผิวเหลือง แต่สามารถป้องกันได้โดยเริ่มขยับขาสองข้างให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ เพื่อให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ลดโอกาสการเกิดการอุดตัน รวมถึงการใช้ยาเพื่อป้องกันการอุดตันโดยส่วนใหญ่มักจะเริ่มให้ยาวันที่ 1-2 หลังการผ่าตัดยาวประมาณ 1-2 สัปดาห์
หากผู้ป่วยสามารถเดินด้วยเครื่องช่วยพยุงได้ดี มั่นคง สามารถกลับบ้านได้ตามดุลพินิจของแพทย์ มักเป็นระยะเวลา 5-10 วันหลังผ่าตัด
การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม
เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวหลังจากผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมได้เร็วที่สุด การดูแลตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยหลักการดูแลตัวเองหลังจากผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม จะสรุปวิธีได้ ดังนี้
-
ประคบเย็นบริเวณแผลผ่าตัด
-
ใช้หมอนหนุนขาข้างที่ทำการผ่าตัดให้สูงไว้ คอยยกปลายเท้าให้สูงขึ้นเพื่อลดอาการบวม และพยายามขยับปลายเท้าขึ้นลงเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต
-
คอยทำกายภาพบำบัดตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอ
-
ในระหว่างเข้าห้องน้ำ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอุบัติเหตุสามารถเกิดได้ง่ายขณะเข้าห้องน้ำ
-
พยายามฝึกการเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน เพราะหากไม่ได้ใช้ขาเลย อาจจะทำให้กล้ามเนื้อขาลีบลงได้
-
การเดิน หรือการขับรถ ซึ่งต้องใช้ขา ควรเริ่มหลังจากทำการพักฟื้นอย่างเต็มที่ และได้รับการอนุมัติจากแพทย์แล้ว
การเลือกโรงพยาบาล เพื่อผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม
การเลือกโรงพยาบาลเพื่อผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม จำเป็นต้องโรงพยาบาลที่มีความพร้อมในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่มีฝีมือ อุปกรณ์ที่ครบถ้วน และถ้าให้ดี ควรเป็นโรงพยาบาลที่มีประสบการณ์ในการรักษาอาการข้อเข่าเสื่อม แต่ก็ต้องดูราคาสำหรับการผ่าตัดของแต่ละโรงพยาบาลด้วยว่างบประมาณที่เราเตรียมไว้ มีเพียงพอหรือไม่
FAQs การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม
ข้อเข่าเทียม มีอายุการใช้งานยาวนานเท่าไหร่
อายุการใช้งานข้อเข่าเทียมภายใน 10 ปี : 2-5%, 20 ปี : 10-15% และ มากกว่า 20 ปี : 80%
ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม กี่วันถึงจะเดินได้
2 - 6 เดือนหลังการผ่าตัด ถึงจะสามารถเดินได้เป็นปกติโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือช่วย
ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม ต้องพักฟื้นกี่วัน
หากมีการทำกายภาพ และพักผ่อนอย่างเหมาะสมก็สามารถออกจากโรงพยาบาลได้ใน 5-10 วัน
สรุป
หลายคนอาจจะกลัวการผ่าตัด จนทำให้ยอมทนต่อาการเจ็บปวดจากข้อเข้าเสื่อม แต่นั่นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะอาการข้อเข่าเสื่อมนั้นส่งผลต่อกิจวัตรประจำวันของเราเป็นอย่างมาก ดังนั้นอย่าได้พยายามทนต่ออาการข้อเข่าเสื่อม และไม่ไปพบแพทย์ เพราะอาการข้อเข่าเสื่อมนั้นสามารถรักษาได้
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที