นระ

ผู้เขียน : นระ

อัพเดท: 06 ส.ค. 2007 15.57 น. บทความนี้มีผู้ชม: 536903 ครั้ง

เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ความหมายของ โลจิสติกส์ ก็เปลี่ยนไปตามวิธีการดำเนินธุรกิจของโลก ในยุคศตวรรษที่ 20 ในทางการทหาร หมายถึง การวางแผนและบริหารจัดการเพื่อการเคลื่อนกองทัพ กำลังพล ยุทโธปกรณ์ และสิ่งอุปโภคต่าง ๆ ส่วนในด้านอุตสาหกรรมและธุรกิจ หมายถึง การวางแผนและควบคุมการเคลื่อนไหลของวัตถุดิบและผลผลิต รวมไปถึงการกระจายสินค้าสู่ตลาดจนถึงผู้บริโภค โดยมีการจัดองค์กรหรือกระบวนการผลิตอย่างเหมาะสมคุ้มค่า

โดย
ดร.นระ คมนามูล Ph.D.(London)
วุฒิวิศวกรสาขาวิศวกรรมโยธา


ตอนที่ 6 เลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้าเพื่อการสั่งสินค้าเข้า

เลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้าเพื่อการสั่งสินค้าเข้า

            ต่อไปจะกล่าวเรื่องเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้าเพื่อการสั่งสินค้าเข้าโดยเฉพาะ

วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต

(1)   ลูกค้าในประเทศไทยติดต่อขอซื้อสินค้าจากบริษัทผู้ขายที่ต่างประเทศ เมื่อตก

ลงทำสัญญาและเงื่อนไขในการซื้อขายเสร็จแล้ว

(2)   ลูกค้าในประเทศไทยยื่นคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตติดต่อธนาคารพาณิชย์

ที่ตนติดต่อไว้ และแจ้งเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ประสงค์ในคำขอนั้นตามที่ตกลงไว้กับผู้ขาย  ซึ่งสามารถยื่นคำขอที่ธนาคารสาขาได้ทั่วประเทศ ที่ทำหน้าที่เป็น Front office  ขณะที่ศูนย์ประมวลเอกสารสำคัญทั้งหมดมักจะอยู่ที่ธนาคารสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพ ฯ

(3)   เมื่อธนาคารอนุมัติแล้ว จะออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้ตามเงื่อนไขของลูกค้า

(ซึ่งมักประกอบด้วยรายการดังที่กล่าวไว้ข้างต้น)

(4)   ธนาคารในประเทศไทยผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต จัดส่งเอกสารเลตเตอร์

ออฟเครดิตให้แก่ธนาคารตัวแทนที่ต่างประเทศ 2 ฉบับ โดยส่งทางแอร์เมล์หรือทางโทรสาร และส่งให้ลูกค้า 1 ฉบับ กับเก็บไว้เป็นหลักฐานที่ธนาคาร

(5)   ธนาคารตัวแทนที่ต่างประเทศจะแจ้งและส่งเลตเตอร์ออฟเครดิตไปให้ผู้ขาย

สินค้าทราบ

(6)   ผู้ขายจัดการส่งสินค้าลงเรือ แล้วนำเอกสารที่เกี่ยวข้องตามเงื่อนไขในเลต

เตอร์ออฟเครดิต(พร้อมเอกสารประกอบคือ ใบตราส่ง ใบกำกับสินค้า และกรมธรรม์ประกันภัย และเงื่อนไขการซื้อขาย) มายื่นต่อธนาคารเพื่อรับเงินตามตั๋ว หรือให้รับรองการชำระเงินตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในตั๋ว

(7)   เมื่อธนาคารตัวแทนที่ต่างประเทศตรวจเอกสารครบถ้วนตามเงื่อนไขในเลต

เตอร์ออฟเครดิตแล้ว ก็จะจ่ายเงินให้ผู้ขายสินค้า แล้วคิดเงินเอาจากธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต กับส่งเอกสารในการขนส่งและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้แก่ธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต

(8)   ธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตได้รับเอกสารต่าง ๆ แล้วจะแจ้งให้ลูกค้าผู้

ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตทราบ เพื่อให้นำเงินมาชำระราคาสินค้าและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้ธนาคารหรือให้มารับรองตั๋วแลกเงินตามแต่กรณี สำหรับราคาสินค้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 ให้คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในสถาน ที่และในเวลาที่ใช้เงิน ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนอาจเปลี่ยนแปลง ลูกค้าอาจตกลงกับธนาคารขอกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินไว้ล่วงหน้าก็ได้

(9)   ลูกค้า (ผู้นำเข้าสินค้า) รับเอกสารแล้วนำไปรับสินค้าจากท่าเรือ

 

ในกรณีส่งสินค้าออก ขั้นตอนการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตก็เช่นเดียวกัน แต่กลับทางกัน คือ ทางลูกค้าในต่างประเทศ หรือผู้สั่งซื้อสินค้าจากไทย  จะเป็นผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ธนาคารในประเทศของเขา

 

ใบรับสินค้าเชื่อ หรือ ทรัสต์รีซีต (Trust Receipt ตัวย่อว่า T/R)

            กรณีสืบเนื่องมาจากลูกค้าได้รับแจ้งจากธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต ให้นำเงินไปชำระราคาสินค้าและค่าธรรมเนียมแก่ธนาคารแล้ว รับเอาเอกสารไปออกสินค้าแต่ลูกค้าไม่มีเงินชำระ  ลูกค้าจะมาติดต่อขอทำ “ทรัสต์รีซีต” กับธนาคารโดยมีข้อตกลงว่าลูกค้าขอรับเอกสารเพื่อนำไปออกสินค้าก่อน        ส่วนการชำระเงินนั้นขอผลัดไปตามกำหนดเวลาที่ตกลงกัน

            ทรัสต์รีซีต คือ ตราสารที่ลูกค้าทำไว้ต่อธนาคารโดยมีข้อตกลงดังนี้

(1)   ลูกค้าสัญญาจะออกสินค้าจากท่าเรือแล้วนำไปเข้าคลังสินค้าไว้ในนามของ

ธนาคารโดยให้ธนาคารเป็นผู้ทรงสิทธิในสินค้าเหล่านั้น

(2)   การนำสินค้าออกจากคลังสินค้าแต่ละครั้งต้องได้รับคำยินยอมจากธนาคาร

(3)   ลูกค้ารับรองว่าจะนำเงินที่ได้รับจากการขายสินค้ามาชำระให้ธนาคารตาม

กำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้

(4)   ลูกค้าจะต้องทำการประกันภัยสินค้าให้ธนาคารเป็นผู้รับประโยชน์

 

นอกจากความหมายดังกล่าวแล้ว  “ทรัสต์รีซีต”  มีคำจำกัดความตามพจนานุกรม

การธนาคารไว้ว่า คือตราสารที่ลูกค้าทำไว้ต่อธนาคารโดยอาศัยความเชื่อถือที่ธนาคารมีต่อลูกค้า และลูกค้าให้การรับรองว่าธนาคารมีกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้น และมีอำนาจที่จะเรียกกลับคืนมา หรือทำการจำหน่ายแทนได้ทุกโอกาส และในการจำหน่ายสินค้านั้น ลูกค้าจะกระทำไปเพื่อประโยชน์ของธนาคาร และจะนำเงินที่ขายสินค้านั้นมาชำระให้แก่ธนาคาร

            ดังนั้น  ทรัสต์รีซีตจึงทำขึ้นเพราะธนาคารเชื่อถือลูกค้าและเป็นการปล่อยสินเชื่ออย่างหนึ่ง และแม้ธนาคารจะมีสิทธิ์ตามสัญญาทรัสต์รีซีตดังกล่าวแล้วก็ตาม  แต่เมื่อลูก ค้าได้รับเอกสารไปออกสินค้าจากท่าเรือแล้ว ธนาคารไม่เคยมีส่วนรู้เห็นในสินค้านั้นเลย

 

คดีเกี่ยวกับเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ควรศึกษา

            ในกรณีที่ปรากฏว่าสินค้าที่ส่งมาถึงลูกค้าแตกต่างกับสินค้าที่สั่งไปมากมายจนลูกค้าไม่อาจรับสินค้านั้นไว้ได้  ต้องระลึกไว้ด้วยว่า “เครดิตย่อมแยกเด็ดขาดจากสัญญาซื้อขายหรือสัญญาอื่นซึ่งเป็นมูลฐานแห่งเครดิตนั้น ธนาคารย่อมไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผูกพันในสัญญานั้น ๆ ทุกกรณี ในการปฏิบัติเกี่ยวกับเครดิตประเภทมีเอกสารประกอบ ให้คู่กรณีทุกฝ่ายถือเอาความถูกต้องของเอกสาร ไม่ใช่ถือเอาความถูกต้องในสินค้า”  เมื่อลูกค้ารับเอกสารแล้วนำไปรับสินค้าจากท่าเรือ ธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบเมื่อแบบฟอร์มของเอกสารไม่สมบูรณ์ หรือข้อความตามเอกสารนั้นเป็นเท็จ และธนาคารไม่ต้องรับผิด ชอบเกี่ยวกับ ปริมาณ น้ำหนัก คุณภาพ สภาพ การบรรจุหีบห่อ การส่งมอบ มูลค่า หรือลักษณะสินค้าที่ระบุในเอกสาร หรือการกระทำหรือละเว้นการกระทำ ความสามารถในการชำระหนี้  การปฏิบัติตามสัญญาหรือฐานะของผู้ส่งสินค้า ผู้รับขน หรือผู้รับประกัน ภัยในสินค้า หรือบุคคลอื่นใดก็ตาม

            ดังนั้น ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตควรระบุด้วยว่า ให้สำนักงานตรวจสอบมาตรฐานสินค้าแห่งเมืองท่าต้นทางเป็นผู้รับรองคุณภาพของสินค้าที่สั่งซื้อก่อนส่งลงเรือ และควรทราบด้วยว่า อายุความในการฟ้องเรียกเงินตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต มีอายุความ 10 ปี

           

สรุป ธนาคารผู้เปิดเครดิตเพียงรับรองฐานะของผู้ซื้อและประกันต่อผู้ขายที่จะชำระราคาสินค้าให้ตามข้อสัญญาในเลตเตอร์ออฟเครดิตเท่านั้น     ธนาคารไม่ใช่ตัวแทนไปจัดซื้อสินค้าให้ผู้ซื้อ เมื่อมีการผิดสัญญาซื้อขายจึงไม่เกี่ยวพันธนาคาร ธนาคารจะรับผิดเฉพาะการจ่ายเงินให้ผู้ขายไปผิดจากคำสั่งของลูกค้าตามที่ปรากฏในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเท่านั้น นอกจากนี้แล้วธนาคารไม่ต้องรับผิด

 

สำหรับสาระน่ารู้เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออก สอบถามได้ผ่านเวปของ สสท. มี

·       INCO TERMS (International Commercial Terms)

·       การส่งสินค้าทางทะเล-ทางอากาศ

·       การนำสินค้าเข้าและการส่งสินค้าออก

·       เงื่อนไขการชำระค่าสินค้า และการชำระเงินผ่านธนาคาร

·       การประกันภัยขนส่งสินค้ากับการค้าระหว่างประเทศ

·       ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรากับการนำเข้าและส่งออก

·       พิธีการศุลกากรและการประเมินอากรสินค้าขาเข้า

·       มาตรการส่งเสริมการส่งออกทางด้านภาษี

·       กฎหมายศุลกากรของไทยที่ควรทราบ


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที