วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 15 พ.ย. 2022 13.57 น. บทความนี้มีผู้ชม: 122179 ครั้ง

การออกแบบสอบถาม คืออะไร ทำอย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ


วิจัยตลาด (market research) คืออะไร ทำไมต้องมีการทำวิจัยตลาด ประเภทการของการวิจัยตลาดมีกี่ประเภท มีกี่แบบ

วิจัยตลาด (market research)

วิจัยตลาด หรือ market research เป็นส่วนหนึ่งของการตลาด รวมถึงการทำโฆษณา ที่ปรากฎแทบจะทุกที่ ทั้งในมือถือ โทรทัศน์ ป้ายตามท้องถนน คุณก็จะต้องเจอการโฆษณาอยู่เสมอๆ

หากคุณอยากทำธุรกิจ อยากคนมารู้จักกับแบรนด์ของคุณ การทำการตลาดสามารถพาให้แบรนด์ของคุณไปเจอลูกค้าใหม่ๆ วิจัยตลาดจะทำให้คุณสามารถเข้าใจว่าลูกค้าความต้องการของลูกค้า เพื่อให้คุณผลิตออกมาได้ตรงกับความต้องการมากที่สุด

ถึงแม้ว่าวิจัยตลาดอาจใช้เวลาในการสืบค้น การวิเคราะห์ และทรัพยากรหลากหลายอย่าง เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล แต่วิจัยตลาดช่วยให้คุณเข้าใจลูกค้ามากขึ้น ทำสินค้าออกได้ตรงกับความต้องการของตลาด จะทำให้คุณมีจุดแข็งในการแข่งขันกับคู่แข่ง มีโอกาสที่ธุรกิจของคุณจะเติบโตได้ไว และก้าวหน้าอย่างมั่นคงในอนาคตแน่นอน


วิจัยตลาด (market research) คืออะไร

วิจัยตลาด คือ การวางแผนในการทำสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งต้องมีการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และทำความเข้าใจถึงกลุ่มเป้าหมาย

หัวข้อที่แบรนด์ส่วนใหญ่นำมาวิเคราะห์ในการวิจัยทางการตลาด ตัวอย่างเช่น ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกและตัดสินใจซื้อของลูกค้า เหตุผลอะไรบ้างที่ทำให้ลูกค้าซื้อและไม่ซื้อสินค้าและบริการแต่ละอย่าง ลูกค้าซื้อสินค้าและบริการที่ไหนและซื้ออย่างไร ขนาดของการตลาด เทรนด์ธุรกิจในช่วงขณะนั้น คู่แข่งของเราเป็นใคร เป็นต้น

หากคุณสามารถทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้ การเก็บข้อมูลวิจัยตลาดได้ถูกต้อง จะสามารถทำนายว่าตลาดจะไปในทิศทางไหน แบบไหนจะไปได้ดีในอนาคต เป็นโอกาสที่แบรนด์ของคุณจะพัฒนา และปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการได้ดีขึ้นอีกด้วย

วิจัยตลาด (market research) คืออะไร


ประเภทการของการวิจัยตลาด

1. การวิจัยผู้บริโภค (Consumer Research)

การวิจัยผู้บริโภคเป็นการทำการวิจัยลักษณะของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ในแบบเฉพาะเจาะจง เน้นการศึกษาเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ศาสนา รายได้ และรวมทั้งความเชื่อ ทัศนคติ พฤติกรรมการซื้อและการใช้สินค้าชองผู้บริโภคด้วย

2. การวิจัยเหตุจูงใจ (Motivational Research)

การวิจัยเหตุจูงใจ คือ การกระตุ้นให้บุคคลปฏิบัติ แสดงทัศนคติของผู้บริโภค พฤติกรรมด้วยความเต็มใจ สร้างพลังผลักดันภายในใจของเขาที่จะเร่งเร้าหรือกระตุ้นให้บุคคล แสดงพฤติกรรมบางอย่าง ซึ่งอาจเป็นการปรับปรุง สร้างสรรค์ หรือทําสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิมเพื่อให้ได้การประเมินค่าแรงจูงใจ

3. การวิจัยความพึงพอใจลูกค้า (Customer Satisfaction Research)

การวิจัยความพึงพอใจลูกค้า สามารถทำได้โดยใช้แบบสอบถาม หรือการสัมภาษณ์ ในการรวบรวมข้อมูล และความต้องการของลูกค้า ทำความเข้าใจว่าลูกค้าพึงพอใจสินค้าและบริการของคุณ เพื่อนำข้อมูลไปพัฒนาผลิตภัณฑ์และนำเสนอการบริการต่างๆ รวมถึงการตั้งราคาที่เหมาะสม ซึ่งก่อให้เกิดความพึงพอใจและความจงรักภักดี เชื่อมั่นต่อสินค้าในอนาคต

4. การวิเคราะห์ตลาด (Market Analysis)

การวิเคราะห์ตลาด เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจมีข้อมูลที่จำเป็นและสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจได้ ช่วยให้เข้าใจแนวโน้มการตลาดในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ, คู่แข่ง, แนวโน้มของตลาดอย่างต่อเนื่อง

รวมถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้า เพื่อดูว่าหากคุณจะปล่อยสินค้าหรือบริการออกสู่ตลาด จะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้หรือไม่

5. การวิจัยแบรนด์ (Branding Research)

การวิจัยแบรนด์ สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบทั้งการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การทำแบบสอบถาม และการสำรวจ การวิจัยแบรนด์ยังเกี่ยวกับความภักดีต่อแบรนด์ การเข้าถึงลูกค้า เพื่อนำมาปรับปรุงภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ของคุณ

การวิจัยแบรนด์ (Branding Research)

6. การวิเคราะห์คู่แข่ง (Competitor Analysis)

การวิเคราะห์คู่แข่ง การพิจารณาธุรกิจคู่แข่ง เพื่อนำไปพัฒนาธุรกิจของคุณ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการวางแผน การสร้างกลยุทธ์ ทำความข้าใจถึงจุดเด่น จุดด้อย การแก้ปัญหาในสถานการณ์ รวมไปถึงการใช้นวัตกรรมต่างๆ หากคุณพยายามศึกษาวิเคราะห์ คุณจะได้ข้อมูลไปพัฒนาให้กับสินค้าและบริการของคุณได้นั้นเอง

7. การวิจัยการจําหน่าย (Distribution Research)

การวิจัยการจําหน่าย ก่อนที่ผู้ผลิตจะผลิตสินค้าออกมานั้น จะต้องคำนึงถึงว่าสินค้าจะทำ จะได้มีประโยชน์อย่างไรในกลุ่มผู้บริโภค ถ้าผู้ผลิตทราบว่าสินค้าที่ผลิตขึ้นมาแล้วจะไปขายที่ไหน หาช่องทางการจัดจำหน่ายให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ก็สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ตรงจุด

8. การวิเคราะห์การขาย (Sales Analysis)

การวิเคราะห์การขาย คือ การสำรวจ การประเมินความพึงพอใจสินค้าหรือบริการที่ลูกค้าได้รับ นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าตรงเป้าหมายของกลุ่มลูกค้าว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้น หรือมีความผิดพลาดที่ต้องปรับแก้ไขอย่างไรบ้าง เพื่อนำไปพัฒนาสินค้าและบริการของคุณให้ดีขึ้นต่อไปในอนาคต

9. การวิจัยโฆษณาและส่งเสริมการขาย (Advertising and Sales Promotion Research)

การวิจัยโฆษณาและส่งเสริมการขาย เป็นการศึกษาการตลาดให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย โดยจะใช้ทั้งการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างมีระเบียบแบบแผนหรือมีหลักเกณฑ์ การประมวล และการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อนำมาวางแผนในการทำการตลาด วางแผนการโฆษณา  มุ่งหวังผลให้ผู้บริโภคเกิดพฤติกรรมในการซื้อสินค้าและบริการของคุณ

10. การวิจัยผลิตภัณฑ์ (Product Research)

การวิจัยผลิตภัณฑ์ เป็นการวิจัยเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ในการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดของสินค้าและบริการต่างๆ อย่างมีระบบแบบแผน เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว จะนำไปพัฒนาเป็นเทคนิคหรือวิธีการที่ใช้แก้ปัญหาและทดลอง รวมถึงพัฒนาและปรับปรุงใช้จนได้ผลออกมาเป็นสินค้าและบริการ

การวิจัยผลิตภัณฑ์ (Product Research)


ประเภทของวิธีการเก็บข้อมูลการวิจัยตลาด

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)

การวิจัยเชิงปริมาณ Quantitative Research จะเหมาะกับงานวิจัยที่ต้องการวัดค่าของตัวแปรออกมาเป็นตัวเลข สามารถนำการวิจัยขั้นทุติยภูมิมาปรับใช้ทำต่อได้

ข้อดีคือสามารถควบคุมตัวแปรที่ศึกษาได้ เป็นการวิเคราะห์ Analysis ตัวแปรว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่ ตัวแปรใดเป็นตัวแปรอิสระ ตัวแปรใดเป็นตัวแปรตาม และต้องวางแผน จัดเตรียมเครื่องมือรวบรวมข้อมูลให้ออกมามีคุณภาพ

ข้อเสียของการวิจัยเชิงปริมาณ สามารถเกิดความคลาดเคลื่อนตามมาได้ หรืออาจไม่ออกมาตามสมมติฐาน (Hypothesis)ที่คุณตั้งเป้าไว้ จึงต้องควบคุมตัวแปรให้ดีและเหมาะสม

การวิจัยทั้งเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

การวิจัยเชิงคุณภาพ Qualitative Research เป็นการวิจัยจากสังคมตามสภาพแวดล้อมตามความจริง เช่น การสนทนา การสัมภาษณ์ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ตลอดจนค่านิยมหรืออุดมการณ์ของบุคคล

ข้อดีของการวิจัยในรูปแบบนี้จะเน้นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง ส่วนข้อเสีย คือ อาจจะต้องใช้เวลานานในการศึกษาติดตามระยะยาว เพราะไม่เน้นการใช้สถิติตัวเลขในการวิเคราะห์ข้อมูล แต่จะใช้การสังเกต และการสัมภาษณ์เป็นวิธีหลัก

// Focus Group และ in-depth Interview

การสังเกตุการณ์ (Observation)

การสังเกตการณ์ เป็นการวิจัยขั้นปฐมภูมิโดยการใช้ประสาทสัมผัส เช่น ตา หู ในการติดตามเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด เหมาะกับการศึกษาเหตุการณ์ พฤติกรรม อาจเป็นในรูปแบบของบุคคล สิ่งแวดล้อม หรือวัตถุต่างๆ

การเก็บข้อมูล หรือ Data collection เป็นกระบวนการรวบรวมและการวัดข้อมูลเกี่ยวกับตัวแปรที่เราสนใจให้เป็นระบบที่ทำให้ได้ข้อมูลนำไปใช้ต่อได้ เพื่อให้เข้าใจลักษณะธรรมชาติและความเกี่ยวข้อง

ข้อดี คือได้เข้าใจถึงพฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง แต่ข้อเสีย คือใช้เวลานานการสังเกตุการณ์ในระยะเวลานานกว่าจะเข้าใจถึงปัญหา


 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที