วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 15 พ.ย. 2022 13.57 น. บทความนี้มีผู้ชม: 122100 ครั้ง

การออกแบบสอบถาม คืออะไร ทำอย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ


สมมติฐานการวิจัย (Research Hypothesis) คืออะไร มีความจำเป็นอย่างไรบ้าง

สมมติฐานการวิจัย (Research Hypothesis) กระบวนการที่สำคัญสำหรับการวิจัยทุกประเภท

กระบวนการต่าง ๆ ภายใต้การวิจัยนับได้ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก สมมติฐานการวิจัยก็เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากเป็นการคาดการณ์ความสัมพันธ์หรือความแตกต่างของตัวแปรอย่างมีหลักการ ร่วมกับทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และประสบการณ์ที่จะช่วยให้ผู้ทำการวิจัยสามารถตอบคำถามในหัวข้อวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 

สมมติฐานการวิจัยเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่ถูกตั้งขึ้นชั่วคราว สำหรับเป็นแนวทางในการค้นคว้าเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ทำการวิจัยสามารถกำหนดขอบเขตการวิจัย เช่น วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล หรือการออกแบบสอบถาม เพื่อทดสอบสมมุติฐานการวิจัยได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น


ประเภทของสมมติฐาน

สมมติฐานการวิจัย (Research Hypothesis)

สมมติฐานของการวิจัย หนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญในการวิจัยตลาด

สมมติฐานการวิจัย คือ สมมติฐานที่อยู่ในลักษณะข้อความเฉพาะตัวที่สอดคล้องกับหัวข้อการวิจัย สมมติฐานการวิจัยเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญของการวิจัยตลาด เนื่องจากจะเป็นตัวกำหนดส่วนต่างๆ ภายในงานวิจัย ไม่ว่าจะเป็น การสุ่มตัวอย่าง ประเภทของแบบสอบถาม หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

สมมติฐานการวิจัยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ

สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis)

 สมมติฐานทางสถิติ มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับโครงสร้างทางคณิตศาสตร์

สมมติฐานทางสถิติ คือ สมมติฐานที่มีรูปแบบของโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ มักจะเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนพารามิเตอร์และระเบียบวิธีทางสถิติ เนื่องจากเป็นรูปแบบที่นำมาทดสอบโดยใช้วิธีการทางสถิติ ที่จะช่วยทราบได้ว่าค่าสถิติที่นำมาวิเคราะห์นั้น ให้ผลยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐานที่ได้ทำการกำหนดไว้ 

สมมติฐานทางสถิติสามารถแบ่งออกได้เป็น  2 รูปแบบ คือ

  • สมมติฐานไร้นัยสำคัญ (Null Hypothesis) : มักจะเขียนในรูปของสมการที่แสดงให้เห็นว่าไม่มีความแตกต่างหรือไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เช่น H0 : m1 = m2 
  • สมมติฐานทางเลือก (Alternative hypotheses) : เป็นสมมติฐานที่เขียนให้สอดคล้องกับสมมติฐานทางการวิจัย มักเขียนในรูปของสมการที่แสดงให้เห็นว่ามีความแตกต่างหรือมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เช่น H1 : m1 m2 (ไม่มีทิศทาง) หรือ  H1 : m1 > m2 (มีทิศทาง)

วิธีการตั้งสมมติฐานการวิจัย

การตั้งสมมติฐานงานวิจัยจะต้องมีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับจุดมุ่งหมาย ซึ่งการตั้งสมมติฐานจะเป็นแบบมีทิศทางหรือไม่มีทิศทางก็ได้ ขึ้นอยู่กับจำนวนข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา เมื่อตั้งสมมติฐานทางการวิจัยเรียบร้อยแล้ว ผู้ทำการวิจัยจะต้องตั้งสมมติฐานทางสถิติ 2 รูปแบบ ทั้งแบบเป็นกลางและทางเลือกควบคู่กัน สมมติฐานแบบทางเลือกจะมีลักษณะสอดคล้องกับสมมติฐานทางการวิจัยที่ตั้งไว้เสมอ
 


แหล่งที่มาของสมมติฐานการวิจัย

แหล่งที่มาของสมมติฐานงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับ และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย


แหล่งที่มาของสมมติฐานการวิจัยที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เช่น

  • ทฤษฎีและแนวคิดจากศาสตร์แต่ละแขนงที่ได้รับการยอมรับจากผู้คนโดยทั่วไป
  • ผลงานวิจัยที่เคยมีผู้ทำการวิจัยมาแล้ว
  • การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 
  • การศึกษาจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ 
  • การสังเกตพฤติกรรม และความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ในการวิจัย

หลักการตั้งสมมติฐานการวิจัยที่ดี

การตั้งสมมติฐานการวิจัยมีหลักการอย่างไรบ้าง เพื่อให้สมมติฐานนั้นๆ สมบูรณ์มากที่สุด

สำหรับหลักการตั้งสมมติฐานการวิจัยที่ดี สามารถแบ่งคุณสมบัติออกได้เป็น 5 ข้อหลัก ๆ ได้แก่เป็นสมมติฐานการวิจัยที่รัดกุมเฉพาะเจาะจง มีขอบเขตที่ไม่กว้างหรือแคบเกินไป

  1. มีความสอดคล้องกับหัวข้อหรือจุดมุ่งหมายของการวิจัย
  2. สมเหตุสมผลตามทฤษฎีและความรู้พื้นฐานที่ผู้คนในปัจจุบันให้การยอมรับ
  3. เป็นสมมติฐานการวิจัยที่มีข้อมูลหรือหลักฐานที่จะนำมาสนับสนุน ซึ่งสามารถทำการทดสอบได้
  4. สมมติฐานการวิจัยแต่ละข้อควรตอบคำถามเพียงประเด็นเดียว

การตั้งสมมุติฐานการวิจัยมีความจำเป็นอย่างไร

สำหรับผู้ที่มีความสงสัยว่าการตั้งสมมุติฐานการวิจัยมีความจำเป็นอย่างไร สมมติฐานนับได้ว่าเป็นตัวกลางที่จะช่วยเชื่อมโยงระหว่างหัวข้อการวิจัยและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ซึ่งความสำคัญของสมมติฐานการวิจัย สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ข้อที่สำคัญ ได้แก่

  1. สมมติฐานจะช่วยให้ผู้วิจัยสามารถกำหนดขอบเขตของการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการช่วยทำให้ประเด็นของปัญหาการวิจัยชัดเจนขึ้น เช่น รูปแบบการสำรวจ และมาตรวัดผลการวิจัย เป็นต้น
     
  2. เป็นตัวช่วยการออกแบบการวิจัยที่มีความเหมาะสมกับปัญหาเฉพาะทาง ไม่ว่าจะเป็น รูปแบบการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง และวิธีการรวบรวมข้อมูล ซึ่งในปัจจุบันแบบสอบถาม ออนไลน์ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
     
  3. สมมติฐานการวิจัยจะช่วยกำหนดขอบเขตในการศึกษาข้อมูล และความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ได้อย่างตรงจุด ทำให้ผู้ทำการวิจัยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน สามารถแก้ปัญหาการวิจัยได้ รวมถึงช่วยประหยัดเวลาได้เป็นอย่างมาก

 


ประโยชน์ในการตั้งสมมติฐานการวิจัย

การตั้งสมมติฐานงานวิจัยมีประโยชน์ต่อการทำวิจัยในด้านใดบ้าง

การตั้งสมมติฐานการวิจัยมีประโยชน์ที่ครอบคลุมการทำวิจัยหลากหลายด้าน ดังนี้


ตัวอย่างสมมติฐานการวิจัย

ตัวอย่างที่ 1

ปัญหาวิจัย

ปัญหาอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของธุรกิจโยเกิร์ตแบบถ้วย ที่มีแนวโน้มการแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค เฉพาะกลุ่มในวัยรุ่นเพศหญิงธุรกิจต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องทำการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อหาตัวอย่างกลุ่มเป้าหมายอาหารที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตได้มากขึ้น

หัวข้อวิจัย

พฤติกรรมการบริโภคโยเกิร์ตแบบถ้วย กรณีศึกษาผู้บริโภคหญิงวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร

สมมติฐานการวิจัย

  • สมมติฐานที่ 1 ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้บริโภคหญิงวัยรุ่นมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคโยเกิร์ตแบบถ้วย
  • สมมติฐานที่ 2 รูปแบบการส่งเสริมการขายมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคโยเกิร์ตแบบถ้วย

ตัวอย่างที่ 2

ปัญหาวิจัย

ปัญหาที่ธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทยต้องเผชิญความท้าทายในเรื่องภาวะการจับจ่ายใช้สอยและการรับประทานอาหารนอกบ้านของคนไทยที่ลดลง ส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้น รวมถึงต้นทุนการจัดการร้านอาหารที่สูงขึ้นต่อเนื่อง และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

หัวข้อวิจัย

ประเภทของร้านอาหาร คุณภาพของอาหาร คุณภาพการบริการ และสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารสำหรับมื้อค่ำของประชากรในกรุงเทพมหานคร

สมมติฐานการวิจัย

  • สมมติฐานที่ 1 ประเภทของร้านอาหารที่แตกต่างกันส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารสำหรับมื้อค่ำของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน
  • สมมติฐานที่ 2 คุณภาพของอาหารส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารสำหรับมื้อค่ำของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
  • สมมติฐานที่ 3 คุณภาพการบริการส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารสำหรับมื้อค่ำของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
  • สมมติฐานที่ 4 สื่อสังคมออนไลน์ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารสำหรับมื้อค่ำของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

ตัวอย่างที่ 3

ปัญหาวิจัย

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับประทานอาหารในยุคปัจจุบันต้องการความรวดเร็ว และมีรูปแบบที่ง่ายต่อการใช้ชีวิตมากขึ้น รวมถึงการบริโภคอาหารนอกบ้านมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจร้านอาหารต่าง ๆ ต้องมีการจัดการร้านอาหารที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป

หัวข้อวิจัย

การตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารยกยอริมคลองจังหวัดสมุทรสาคร

สมมติฐานการวิจัย

 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที