ผู้เขียน :

อัพเดท: . น. บทความนี้มีผู้ชม: ครั้ง


Loyalty Program - พาส่อง 5 ธุรกิจระดับโลกที่ใช้ Loyalty Program เจ๋ง ๆ

 customer loyalty program

เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยซื้อชานมไข่มุกและได้บัตรสะสมแต้มแถม หากซื้อครบ 10 แก้วจะได้รับแก้วฟรี 1 แก้ว หรือเมื่อใช้จ่ายถึงยอดที่กำหนด ก็สามารถนำใบเสร็จไปแลกของสมนาคุณได้ เราคงคุ้นเคยกันดี ถูกแล้ว นั่นคือ Loyalty Program รูปแบบหนึ่งนั่นเอง
 

Loyalty program หรืออีกชื่อก็คือ customer loyalty program กลยุทธ์คลาสสิคที่แบรนด์ระดับโลกยังใช้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกันว่ากลยุทธ์นี้คืออะไร ดียังไง ทำไมแบรนด์ใหญ่ทั่วโลกถึงให้การยอมรับ แล้วloyalty program เจ๋ง ๆ มีอะไรบ้าง


Loyalty program คืออะไร

Customer Loyalty Program หรือที่ทุกคนเรียกว่า Loyalty Program เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ธุรกิจทั่วโลกให้การยอมรับ เพื่อตอบแทนความภักดีของลูกค้า ประเภทของ loyalty program นั้นมีมากถึง 7 ประเภท ซึ่งจะแบ่งตามการใช้งานต่อไปนี้
 


ประโยชน์ของ Loyalty Program

ทั้งนี้สามารถอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับ Loyalty Program แบบจัดเต็มได้ที่บทความ Loyalty Program ของ Rocket ได้เลย

 

loyalty bonus

ตัวอย่าง 5 ธุรกิจที่ใช้ Loyalty Program เจ๋ง ๆ

ธุรกิจใหญ่ ๆ มักมีการทำ loyalty program อยู่แล้วซึ่งบางแบรนด์อาจจะเริ่มที่ loyalty id หรือ loyalty card ในการสะสม loyalty bonus โดยจะใช้ควบคู่ไปกับฟีเจอร์ CRM (Customer Relationship Management) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าโดยตรงในที่เดียว วันนี้เรารวบรวมตัวอย่างธุรกิจที่ใช้ loyalty program เจ๋ง ๆ มาให้คุณได้ศึกษาแล้ว

Starbucks

starbucks loyalty program

Loyalty Program ที่ Starbucks เลือกใช้คือ Starbucks Rewards เป็นการใช้หลักการสะสมแต้มจากการใช้จ่ายเพื่อแลกรับของสมนาคุณ เนื่องจากเป็นแบรนด์เครื่องดื่ม การที่ Starbucks เลือกใช้โปรแกรมนี้จึงเหมาะกับธุรกิจมากทีเดียว เพราะอย่างไรการดื่มกาแฟก็เป็นสิ่งที่ลูกค้าทำทุกวัน สิทธิประโยชน์นี้จึงคุ้มค่ามากที่สุด 

Amazon Prime

Amazon Prime Loyalty Program

Loyalty Program ที่ Amazon เลือกใช้คือ Amazon Prime ซึ่งเป็นการใช้สิทธิพิเศษตามค่าธรรมเนียมควบคู่ไปกับโปรแกรมความร่วมมือจากพันธมิตร เพราะ Amazon เป็นเว็บไซต์ขายของออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา จึงจำเป็นต้องมีพาร์ทเนอร์ควบคู่ไปด้วย โดยลูกค้าที่มียอดค่าใช้จ่ายถึงจะมีสามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ของ Amazon ได้ เช่น ดูหนังผ่าน Prime Video หรือบริการส่งฟรีไม่มีขั้นต่ำเป็นต้น ซึ่งแต่ละสิทธิพิเศษจะขึ้นอยู่กับค่าธรรมเนียมที่สมาชิกเป็นคนจ่าย

Sephora Beauty Insider

 

 Sephora Insider loyalty bonus
 

Loyalty Program ที่ Sephora เลือกใช้คือ Sephora Beauty Insider  เป็นการใช้สิทธิพิเศษแบบแบ่งระดับ ลูกค้าที่ใช้จ่ายมาก ก็ยิ่งได้รับสิทธิพิเศษมากขึ้น โดยจะแบ่งระดับเป็น Insider (ยอดค่าใช้จ่ายต่ำกว่า $350/ปี นับตั้งแต่การซื้อครั้งแรก), VIB (ใช้จ่าย $350/ปี ขึ้นไป) และ Rouge (ใช้จ่าย $1000/ปี ขึ้นไป) ในไทยเองก็มีเช่นกัน แต่จะต่างที่ชื่อเรียก โดยในไทยจะใช้เป็น White (ยอดค่าใช้จ่ายต่ำกว่า 7500 บาท/ปี จากการซื้อครั้งแรก), Black (ยอดใช้จ่าย 7,500 บาท/ปี), Gold (ยอดใช้จ่าย 37,500 บาท/ปี)

Accor Live Limitless

Accor loyalty id

 

Loyalty Program ที่ Accor เลือกใช้คือ ALL- Accor Live Limitless  เป็นการใช้สิทธิพิเศษแบบไฮบริด เนื่องจากมีค่าธรรมเนียมรายปีให้ลูกค้าเลือกจ่าย เช่นเดียวกันในกรณีที่ลูกค้าที่ใช้จ่ายมาก ก็ยิ่งได้รับสิทธิพิเศษมากขึ้น และสิทธิพิเศษจะได้รับมาในรูปแบบ Voucher และการสะสมคะแนน เพราะ Accor เป็นเครือโรงแรมขนาดใหญ่ จึงจำเป็นต้องมีพาร์ทเนอร์ที่เป็นโรงแรมเล็ก ๆ สมาชิกเข้าพักหรือใช้จ่ายในเครือ Accor สมาชิกก็จะได้รับส่วนลดแต่ก็สามารถสะสมแต้มเพื่ออัพเกรดระกับสมาชิกได้ด้วยเช่นกัน โดยจะแบ่งระดับเป็น Accor - Classic (สะสมแต้มอย่างเดียว), Accor Plus (จ่ายค่าธรรมเนียมรายปี) และจะเพิ่มระดับจากการสะสมคะแนน เริ่มที่ silver, gold, platinum และสุดท้ายที่ diamond

AMEX

American Express loyalty card

Loyalty Program ที่ American Express บัตรเครดิตการ์ดที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ใช้โปรแกรมแบบไฮบริดเช่นกัน เพราะเป็นบัตรเครดิตจึงจำเป็นต้องพึ่งพาพาร์ทเนอร์ ไม่ว่าจะเป้นโรงแรม สายการบิน หรือร้านอาหาร รวมไปถึงแหล่งจับจ่ายใช้สอยต่าง ๆ โดยจะแบ่งเป็น บัตรอเมริกันเอ็กซ์เพรส (ค่าธรรมเนียม 1,765.50 บาท/ปี) บัตรเครดิตอเมริกันเอ็กซ์เพรส (ค่าธรรมเนียม 1,926 บาท/ปี) บัตรทองอเมริกันเอ็กซ์เพรส (ค่าธรรมเนียม 3,210 บาท/ปี) บัตรเครดิตแพลทินัมการบินไทยอเมริกันเอ็กซ์เพรส (ค่าธรรมเนียม 4,280 บาท/ปี) และสุดท้ายบัตรแพลทินัมอเมริกัน เอ็กซ์เพรส (ค่าธรรมเนียม 35,000 บาท/ปี) โดยจะมีเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์แตกต่างกันไปเช่นกัน

สรุป

ทุกวันนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีธุรกิจที่เกิดใหม่เป็นประจำ และการแข่งขันของแต่ละธุรกิจนั้นสูงมากทีเดียว การจะทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการหรือซื้อซ้ำ (Retention) นั้นเป็นเรื่องที่ยาก เพราะฉะนั้นการมี loyalty program ก็เหมือนกับการตอบแทนลูกค้าที่ภักดีด้วยประสบการณ์พิเศษ ทั้งยังเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเราและลูกค้า


รู้แบบนี้แล้ว หากคุณทำธุรกิจและยังไม่มี loyalty program ก็สามารถใช้บริการ Rocket Loyalty Hub ได้ เพราะ Rocket Loyalty Hub มีความทันสมัย ใช้งานง่าย และคุณยังสามารถสร้างของรางวัลและแบ่งระดับของสมาชิกได้ไม่จำกัด ทั้งยังเข้าถึงได้ทุกอุปกรณ์ ลงทะเบียนง่าย เรียกได้ว่าเอื้ออำนวยให้ทั้งลูกค้าและคุณ นอกจากนี้ยังมีทีมให้คำปรึกษาและช่วยเหลือ ตลอดอายุการใช้งานโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีกด้วย

 
 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที