ก่อนที่การรักษาภาวะมีบุตรยากจะมีการพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน ในอดีตวิธีที่ใช้รักษาภาวะมีบุตรยากที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ การทำกิ๊ฟท์ (GIFT)นั่นเอง เชื่อว่าหลาย ๆ คนก็คงจะเคยได้ยินมาบ้างไม่มากก็น้อย
ถึงแม้ในปัจจุบันจะไม่นิยมทำการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการทำกิ๊ฟท์กันแล้วแต่ก็ยังเป็นที่พูดถึงกันอยู่บ้าง ในบทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับการทำกิ๊ฟท์ คืออะไร ช่วยรักษาภาวะมีบุตรยากอย่างไร ต่างจากการทำเด็กหลอดแก้ว ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้รักษาภาวะมีบุตรยากในปัจจุบันอย่างไร
Gamete Intra fallopian Transfer, GIFT หรือเรียกอย่างง่ายกว่าการทำกิ๊ฟท์ คือหนึ่งในวิธีรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการช่วยให้เซลล์ไข่และเชื้ออสุจิได้เจอกันง่ายกว่าการมีเพศสัมพันธ์ทางธรรมชาติ โดยการนำเซลล์ไข่และเชื้ออสุจิกลับเข้าไปที่ท่อนำไข่ แล้วให้เชื้ออสุจิว่ายไปเจาะเซลล์ไข่เพื่อปฏิสนธิเองตามธรรมชาติ
ในทุกกระบวนการจะทำภายในห้องผ่าตัด และจำเป็นต้องมีการเจาะช่องท้องเพื่อสอดเครื่องมือเข้าภายในร่างกาย จึงทำเป็นต้องมีการดมยาสลบและมีการพักฟื้นที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 1 คืน
ผู้ที่มีภาวะมีบุตรยากแต่ยังอยู่ในเงื่อนไขเหล่านี้สามารถรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการทำกิ๊ฟท์ได้ ดังนี้
- ฝ่ายหญิงมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดปกติ แต่ยังมีท่อนำไข่ที่ใช้งานได้อย่างน้อย 1 ข้าง
- ฝ่ายหญิงที่มีปัญหาเรื่องการตกไข่ไม่สม่ำเสมอ ทำให้ไม่สามารถคำนวณเวลาตกไข่ได้ง่าย
- ฝ่ายชายที่มีปัญหาเชื้ออสุจิน้อยหรือเชื้ออสุจิไม่แข็งแรง
- ฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชายที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์
ในอดีตที่การแพทย์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ยังไม่ก้าวหน้าอย่างปัจจุบัน การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการปฏิสนธิและเลี้ยงตัวอ่อนภายนอกร่างกายทำได้ยาก มีโอกาสสำเร็จเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ การทำกิ๊ฟท์ที่ไม่จำเป้นต้องมีการเลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการจึงได้รับความนิยมมาก
แต่ด้วยการพัฒนาวิธีการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย พัฒนาการควบคุมสภาวะและน้ำยาสำหรับเลี้ยงตัวอ่อนให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น จึงทำให้การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการทำกิ๊ฟท์จึงถูกลดความนิยมลง
การทำกิ๊ฟท์เป็นวิธีรักษาภาวะมีบุตรยากที่เพียงช่วยให้เซลล์ไข่และเซลล์อสุจิได้มาเจอกันเพื่อปฏิสนธิง่ายขึ้นโดยการสอดกล้องและอุปกรณ์เข้าที่ช่องท้องฝ่ายหญิง และนำเชื้ออสุจิและเซลล์ไข่มาใส่ไว้ที่ท่อนำไข่ของมดลูก โดยกระบวนการทั้งหมดจะทำภายในร่างกาย ไม่มีการนำเซลล์ไข่หรือตัวอ่อนออกมาเลี้ยงภายนอกร่างกาย
ในส่วนของการทำเด็กหลอดแก้ว IVF หรือการทำอิ๊กซี่ ICSI นั้นแตกต่างจากการทำกิ๊ฟท์หลายส่วน โดยในขั้นตอนการฉีดยากระตุ้นไข่เพื่อให้ได้เซลล์ไข่มีขนาดและปริมาณที่เหมาะสมจะเหมือนกัน และเริ่มต่างในขั้นตอนการชักนำให้เกิดการปฏิสนธิ
สำหรับการทำเด็กหลอดแก้ว IVF หรือการทำอิ๊กซี่ ICSI จะทำการเก็บเซลล์ไข่ผ่านช่องคลอด และจึงนำเชื้ออสุจิมาทำให้เกิดการปฏิสนธิภายในห้องปฏิบัติการและเมื่อได้ตัวอ่อนจึงนำเข้าสู่ผนังโพรงมดลูกผ่านทางช่องคลอดเช่นเดิม ทำให้ไม่มีการต่าตัด เจาะช่องท้องเพื่อส่องกล้องแต่อย่างใด และไม่จำเป็นต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลอีกด้วย
อันดับแรกจะต้องทำการกระตุ้นไข่เพื่อให้มีขนาดและปริมาณที่เหมาะสมมำหรับการทำกิ๊ฟท์ โดยแพทย์อาจให้เป็นยารับประทาน หรือการฉีดยากระตุ้นไข่ขึ้นกับรายบุคคล และนำการนัดเพื่อตรวจระดับฮอร์โมน และทำอัลตราซาวด์เป็นระยะ ๆ เพื่อเช็คว่าเซลล์ไข่นั้นมีขนาดที่เหมาะสมและมีจำนวนมากพอสำหรับการทำกิ๊ฟท์หรือไม่ ในขั้นตอนนี้มักจะใช้เวลาประมาณ 8-10 วัน
เมื่อเซลล์ไข่ถูกกระตุ้นจนได้ขนาดและปริมาณที่ต้องการแล้ว แพทย์จะทำการฉีดยากระตุ้นไข่ตก ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการทำกิ๊ฟท์ต่อไป
หลังฉีดยากระตุ้นไข่ตกไปแล้วประมาณ 36 ชั่วโมง แพทย์จะทำการเจาะช่องท้องเพื่อสอดกล้องและอุปกรณ์เข้าไปในร่างกาย จากนั้นเมื่อส่องกล่องพบรังไข่แล้วแพทย์จะใช้อุปกรณ์เจาะดูดไข่ออกมา
เซลล์ไข่ที่ถูกเก็บมาจากรังไข่และเชื้ออสุจิที่ได้จากฝ่ายชาย จะมารวมกันอยู่ในสายยางของอุปรณ์ที่สอดเข้าไปในร่างกาย จากนั้นนำเซลล์ไข่และเชื้ออสุจินี้มาใส่รวมกันที่ท่อนำไข่ และรอให้เชื้ออสุจิเข้าไปเจาะเซลล์ไข่เพื่อปฏิสนธิเอง
หลังการผ่าตัดแพทย์จะให้ฮอร์โมนเพื่อช่วยให้ตัวอ่อนฝังตัวได้ดีขึ้น และหลังจากการทำกิ๊ฟท์ไปประมาณ 12-14 วันจึงจะสามารถตรวจการตั้งครรภ์ได้
ในอดีตตัวเลือกการรักษาภาวะมีบุตรยากยังมีไม่มาก ด้วยข้อจำกัดหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพถึงวิธีการรักษา การความคุมสภาวะที่ยังไม่เสถียรมากพอ ประสิทธิภาพของน้ำยาสำหรับเลี้ยงตัวอ่อนไม่ดีพอ ทำให้การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการทำกิ๊ฟท์มีโอกาสสำเร็จสูงกว่า 30 เปอร์เซ็นต์
หากเทียบกับการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการชักนำและเลี้ยงตัวอ่อนภายนอกร่างกายที่มีโอกาสสำเร็จเพียงประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
แต่ด้วยการพัฒนาต่าง ๆ ทั้งวิธีการรักษา การควบคุมสภาวะในห้องปฏิบัติการและน้ำยาที่คล้ายคลึงกับสภาวะในร่างกายมากขึ้น จึงทำให้โอกาสสำเร็จสูงขึ้นมากกว่า 40-70 เปอร์เซ็นต์ ทำให้การทำกิ๊ฟท์ไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน รวมถึงหลาย ๆ ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากก็ได้ถอนวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการทำกิ๊ฟท์ไปแล้ว
หลังจากการทำกิฟท์นั้นอาจต้องมีข้อควรระวังที่ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธีอื่น เนื่องจากมีการผ่าตัดและการเจาะช่องท้อง
- จำเป็นต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 1 คืน
- หลังผ่าตัดควรระวังเรื่องบาดแผลผ่าตัด ห้ามโดนน้ำ จนกว่าแพทย์จะอนุญาต
- งดการออกกำลังกายหรือการใช้แรงมาก เสี่ยงต่อการเปิดของบาดแผลผ่าตัด
- รับประทานยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น และต้องเข้าพบแพทย์ตามนั้นทุกครั้ง
- ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดการทำกิ๊ฟท์ เช่น อาการปวดแผล เลือดไหล การติดเชื้อ
- ผลข้างเคียงจากยาสลบ เช่น ปวดหัว คลื่นไส้
- อาจเกิดภาวะรังไข่บวมจากการฉีดยากระตุ้นไข่ และร่างกายตอบสนองต่อยามากเกินไป
- มีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์นอกมดลูก
ค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการทำกิ๊ฟท์จะค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องมีการผ่าตัด ค่าใช้จ่ายจะสิ้นเปลืองที่ค่าห้องผ่าตัด ค่าอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้การผ่าตัด ค่ารักษาพยาบาลตลอดยะระเวลารักษา โดยค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 500,000 บาทขึ้นไป
เมื่อเทียบกับการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการทำเด็กหลอดแล้วหรือทำอิ๊กซี่ ICSI นั้นจะเห็นได้ว่าทั้งมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่า เริ่มต้นเพียงประมาณ 100,000 บาทเท่านั้น นอกจากนี้ยังเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้มากกว่าการทำกิ๊ฟท์อีกด้วย
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที