ฝากไข่ อีกหนึ่งช่องทาง ณ ตอนนี้สภาพเศรษฐกิจที่ลำบากมากยิ่งขึ้นในปัจจุบันและค่านิยมในการมีบุตรเปลี่ยนไป กว่าคุณผู้หญิงทั้งหลายจะพร้อมมีบุตร ก็มีอายุมากขึ้น ร่างกายก็เสื่อมถอยลง ทำให้เวลาในการบุตรนั้นมีข้อจำกัดมากขึ้นดังนั้นวิธีการ ฝากไข่ ก็เป็นอีกวิธีนึงที่สามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์สูงยิ่งขึ้นในอนาคต สำหรับสาว ๆ ยุคใหม่ควรให้ความสนใจ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการฝากไข่ให้มากขึ้น ซึ่งบทความต่อไปนี้จะเป็นตัวช่วยสร้างความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น
การฝากไข่ (Eggs freezing หรือ Oocyte Cryopreservation) คือ การเช่เข็งเซลล์ไข่สภาพสมบูรณ์ด้วยไนโตรเจนเหลวที่มีอุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส เป็นวิธีที่ช่วยรักษาคุณภาพเซลล์ไข่ของคุณผู้หญิงด้วยการแช่แข็งไว้เพื่อนำไปใช้ในอนาคต เมื่อคุณผู้หญิงมีอายุมากขึ้นแต่พร้อมจะมีลูก ก็สามารถนำไข่ที่แช่แข็งมาละลาย และนำไปปฏิสนธิกับอสุจิ ในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว หรือ ICSI เท่านั้นเพราะเปลือกไข่ของไข่ที่แช่แข็งจะหนาและแข็ง
การฝากไข่นั้น ควรฝากอย่างน้อย 10-15 ฟอง และกระบวนการฝากไข่นั้นใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์เท่านั้น และควรตัดสินใจฝากไข่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ หรือตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 35 ปี เพื่อให้ได้ไข่ที่สมบูรณ์
การฝากไข่เป็นการเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สูงยิ่งขึ้น โอกาสการตั้งครรภ์โดยเฉลี่ยเท่ากับ 7% ต่อไข่ 1 ใบ และจำนวนไข่ที่แนะนำให้แช่แข็งขึ้นอยู่กับอายุของผู้หญิง บวกกับคำแนะนำของแพทย์
- สำหรับการตั้งครรภ์ 1 ครั้งของผู้หญิงอายุน้อยกว่า 35 ปี จำนวนไข่จะอยู่ที่ 10-15 ฟอง
- สำหรับการตั้งครรภ์ 1 ครั้งของผู้หญิงอายุ 37 ปี จะประมาณ 20 ฟอง
- สำหรับการตั้งครรภ์ 1 ครั้งของผู้หญิงอายุ 42 ปี จะประมาณ 61 ฟอง
นอกจากนี้ไข่ที่แช่แข็งนั้น สามารถเก็บไว้ได้นานมากกว่า 10 ปี โดยที่ยังคงคุณภาพอยู่ และสามารถนำมาใช้เมื่อคุณผู้หญิงพร้อมแต่ควรจะก่อนที่อายุ 48 ปี หรือ ก่อนหมดประจำเดือน และอัตราการรอดชีวิตของไข่แช่แข็งหลังผ่านกระบวนการการละลายประมาณ 90-95%
นอกเหนือจากเหตุผลข้างต้นแล้ว ก็ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้คุณผู้หญิงควรฝากไข่ ซึ่งก็คือ
- ผู้หญิงอายุน้อยกว่า 35 ปีที่ยังไม่พร้อมมีบุตร
- ผู้ที่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดรังไข่ เนื่องจากมีซีสต์หรือเนื้องอก
- ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับยาเคมีบำบัดหรือฉายแสงที่มีผลทำให้การทำงานของรังไข่ลดลง
- ผู้ที่มีปัญหาด้านพันธุกรรม ชนิดที่ทำให้รังไข่เสื่อการทำงานเร็ว หรือเสี่ยงเข้าวัยหมดประจำเดือนเร็ว
- ในกรณีที่ทำการรักษาภาวะมีบุตรยาก แต่ผู้ชายไม่สามารถหลั่งอสุจิหรือไม่มีตัวอสุจิในวันที่ทำการเจาะเก็บไข่ ก็สามารถแช่แข็งไข่ไว้ก่อนได้
- ความต้องการมีลูกด้วยการทำเด็กหลอดแก้วในอนาคต
เพื่อให้การฝากไข่เป็นไปด้วยความราบรื่น และได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ต้องมีการเตรียมตัวดังนี้
- พบแพทย์ เพื่อให้ซักประวัติสุขภาพ โรคประจำตัว ความสม่ำเสมอของประจำเดือน
- ตรวจเลือดเพื่อเช็คระดับฮอร์โมน
- ตรวจโรคติดเชื้อต่าง ๆ เช่น โรคเอดส์ โรคไวรัสตับอักเสบบี ซิฟิลิส เป็นต้น
- ตรวจโรคที่เกี่ยวกับพันธุกรรม เช่น ธาลัสซีเมีย
- เพิ่มปริมาณตกไข่ โดยการฉีดฮอร์โมนเพื่อเพิ่มปริมาณการตกไข่ให้มากกว่า 1 ใบ เพื่อให้ได้เซลล์ไข่มากขึ้น เป็นการเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการฝากไข่
หลังจากที่ได้ตัดสินใจที่จะฝากไข่เพื่ออนาคตของครอบครัวที่สมบูรณ์แล้ว ก็ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยให้ข้อมูลเกี่ยวสุขภาพโดยละเอียด เพื่อที่แพทย์จะได้ให้คำแนะนำที่เหมาะสมเกี่ยวกับแนวทางการฝากไข่ พร้อมกันนั้นก็ควรต้องนัดแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย ตรวจภายใน ความพร้อมของมดลูก รังไข่ และตรวจเลือดเพื่อเช็คฮอร์โมนสำหรับประเมินการใช้ยากระตุ้นไข่
1. ฉีดยากระตุ้นไข่ : มีการฉีดฮอร์โมนกระตุ้นให้ฟองไข่มีขนาดใหญ่และมีจำนวนที่มากขึ้น โดยเริ่มฉีดกระตุ้นไข่ในวันที่ 2 ของการมีประจำเดือน บริเวณหน้าท้องเวลาเดิม เป็นเวลา 10-12 วัน เมื่อถึงวันที่ 7 หลังจากฉีดฮอร์โมนกระตุ้นไข่ แพทย์จะนัดทำอัลตร้าซาวด์ เพื่อตรวจเช็คการตอบสนองของไข่ที่มีต่อยากระตุ้น และทำการปรับโดสยาตามความเหมาะสม
2. การเก็บไข่ : เมื่อแพทย์พบว่าไข่ได้ขนาดและปริมาณที่เหมาะสม (ขนาด 18-20 mm. และปริมาณเฉลี่ย 10-20 ใบ) แพทย์จะฉีดยาฮอร์โมน hCG เพื่อกระตุ้นให้ไข่ทุกฟองตกลงมา แพทย์จะทำการนัดเก็บไข่ออกมาหลังจากฉีดยากระตุ้นไข่ตกเป็นเวลา 36 ชั่วโมง โดยปกติแพทย์จะใช้วิธีดมยาสลบแล้วจึงเก็บไข่ผ่านช่องคลอด เลยไม่มีแผลผ่าตัด คนไข้จะใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมงพักฟื้นหลังจากดมยาสลบ
3. การแช่แข็งไข่ : เมื่อไข่ถูกเก็บออกมาจากร่างกายแล้วจะถูกส่งต่อให้นักวิทยาศาสตร์เฉพาะทางนำไปคัดแยกคุณภาพและผ่านขั้นตอนพิเศษ จนนำไปแช่แข็งในไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียสด้วยวิธี Vitrification (การแช่แข็งแบบผลึกแก้ว) ซึ่งเป็นวิธีที่มีการพัฒนาขึ้นใหม่ ที่ไม่ทำให้เกิดความเสียหายกับเซลล์ไข่ที่แช่แข็ง
การฝากไข่เป็นวิธีที่ช่วยแก้ไขปัญหาการมีบุตรยากให้กับคุณผู้หญิงได้ดี ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรก็ตาม เช่น อุบัติเหตุหรือโรคร้ายแรงที่ทำให้ไม่สามารถมีบุตรได้ หรือ คุณผู้หญิงที่ต้องการความมั่นคงในครอบครัวก่อนที่จะมีบุตร เลยทำให้มีลูกไม่ทันก็ได้ ดังนั้นการฝากไข่จึงมีข้อดีมาก ๆ คือ
- สามารถรักษาเซลล์ไข่ที่สมบูรณ์ คุณภาพดี ไว้ใช้ในอนาคตได้
- เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ในระยะเวลาที่เหมาะสมของแต่ละคน
- ลดโอกาสการมีลูกเป็นดาวน์ซินโดรมหรือโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากแม่ที่มีอายุมาก
- ฝากไข่ไม่เจ็บตัว ไม่ต้องพักฟื้น
- วางแผนการมีบุตรได้ด้วยตัวเอง
- ลดความเครียดทางสังคม ไม่ต้องกังวลว่าแต่งงานช้าและมีลูกยาก
ทุก ๆ อย่างมีสองด้าน มีข้อดี ก็ต้องมีข้อเสียหรือข้อจำกัด เช่นเดียวกับการฝากไข่ ข้อจำกัด มี
- อาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น ท้องอืด น้ำหนักขึ้น ปวดศีรษะ อารมณ์แปรปรวนได้
- การฝากไข่ มีราคาค่อนข้างสูง
- ไข่ที่นำออกมาแล้วจะไม่สามารถนำกลับเข้าไปใส่ในมดลูดได้อีก
โดยปกติแล้ว ผู้ฝากไข่สามารถกลับไปใช้ชีวิตและทำกิจกรรมได้ตามปกติหลังจากผ่านขั้นตอนการฝากไข่ แต่ควรพึงระวังและปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้เพื่อความปลอดภัย
1. ไม่ควรขับรถเองหรือเดินทางกลับบ้านคนเดียวหลังการเก็บไข่
2. ไม่ควรยกของหนักหรือออกกำลังกายอย่างหักโหม ในช่วงหลังเก็บไข่ 1 สัปดาห์
3. งดมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 1 สัปดาห์
4. หากพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้สูง ปวดท้องอย่างรุนแรง น้ำหนักเพิ่มมากกว่า 1 กิโลกรัม ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง ปัสสาวะลำบาก หรือมีเลือดออกจากช่องคลอดมากผิดปกติ ผู้ฝากไข่ควรไปพบแพทย์ทันที ไม่ควรกินยาเองโดยแพทย์ไม่ได้สั่ง
อาการที่สามารถพบได้หลังผ่านกระบวนการฝากไข่ เช่น
1. อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้เล็กน้อย
2. หากมีอาการปวดท้องเล็กน้อย สามารถแก้ปวดด้วยยาพาราเซตามอล 1-2 เม็ดได้
3. อาจมีอาการปวดหน่วง ๆ ท้องน้อย หรือแน่นท้องได้ในคนไข้บางราย
4. อาการเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย แต่จะหยุดไปเองภายใน 3-4 วัน แต่ถ้ามีเลือดออกมากขึ้น และมีอาการปวดท้องมาก ให้มาพบแพทย์
5. อาการแปรปรวนทางด้านอารมณ์ที่เกิดจากการคาดหวังความสำเร็จในการตั้งครรภ์สูง มีความเครียดสะสมจากการวางแผนตั้งครรภ์
โดยทั่วไป ค่าใช้จ่ายในการฝากไข่จะตกอยู่ประมาณ 80,000 – 150,000 บาท ขึ้นอยู่กับแต่ละสถานพยาบาล นอกจากนั้น ยังมีค่าฝากไข่รายปี ประมาณ 1,500 – 5,000 บาทต่อปี ขึ้นอยู่กับสถานพยาบาลและจำนวนไข่ที่ต้องการเก็บ
นอกเหนือจากการฝากไข่เพื่อคงคุณภาพของไข่และปริมาณไข่ไว้ใช้ในอนาคตนั้น ยังต้องประกอบด้วยสภาพร่างกายของคุณผู้หญิงที่ยังอยู่ในช่วงอายุที่เหมาะสมเช่นกัน ดังนั้นคุณผู้หญิงควรปรึกษากับคุณหมอผู้เชี่ยวชาญทางด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ เกี่ยวกับการวางแผนที่จะมีบุตรในอนาคตเมื่อพร้อม
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที