หากคุณกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับฟันคุดและกำลังพยายามหาข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับปัญหาฟันคุด บทความนี้คือคำตอบสำหรับผู้ที่กำลังประสบปัญหาฟันคุด โดยในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าฟันคุดกันว่าคืออะไร เกิดจากอะไร รวมไปถึงขั้นตอนการรักษาผ่าตัดฟันคุดของแพทย์กัน เพื่อทำให้ผู้ที่ต้องการตัดสินใจผ่าฟันคุดและตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าจะฝ่าตัวปัญหาออกไปหรือเปล่า ถ้าหากท่านพร้อมกันแล้วมาไขข้อสงสัยและอ่านต่อได้เลยครับ
ฟันคุดคือฟันแท้ชุดสุดท้ายที่จะงอกออกมาแบบที่เราไม่ต้องการ เราสามารถเรียกฟันคุดโผล่ออกมาได้ว่า ฟันกรามซี่ที่สาม ฟันคุดจะอยู่ด้านในสุดของปาก มีหลายๆเคสที่ฟันคุดจะงอกออกอย่างเหมาะสมและไม่เคยสร้างปัญหาใดให้กับท่าน แต่บ่อยครั้งที่ฟันคุดติดอยู่ในเหงือกหรือกระดูกขากรรไกรของท่าน
เมื่อฟันคุดงอกออกมาอย่างไม่เหมาะสมอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อ ฟันผุ โรคเหงือก และปัญหาสุขภาพช่องปากอื่นๆ นั่นเป็นเหตุผลที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับฟันหลายท่านแนะนำให้คุณผ่าฟันคุดออกฟันคุดโผล่ออกมาจากเหงือกด้านในของคุณประมาณช่วงอายุ 17 ถึง 25 ปี
อย่างไรก็ตามหากคุณมีฟันคุดที่กระทบเหงือกหรือกระดูกกรามในสุด คุณอาจมองไม่เห็นฟันคุดเมื่อมองเข้าไปในปาก ไม่ใช่ทุกคนที่มีฟันคุด งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าประมาณ 53% ของประชากรมีฟันคุดอย่างน้อยหนึ่งซี่ และบางคนไม่เคยพัฒนาฟันคุดเลย
เมื่อพูดถึงการเกิดฟันคุดเราจำเป็นต้องย้อนอดีตกันสักเล็กน้อย สาเหตุของฟันคุดเกิดจากอาหารดึกดำบรรพ์ของบรรพบุรุษของเราประกอบด้วยพืชดิบจำนวนมาก ถั่วแข็ง และเนื้อสัตว์ที่แข็ง และฟันกรามก็จำเป็นในการบดอาหารเหล่านี้เพื่อการย่อยอาหารที่เหมาะสม ทุกวันนี้ การเตรียมอาหารและเครื่องใช้ในการรับประทานอาหารสมัยใหม่ได้ขจัดความจำเป็นในการมีฟันคุด
เมื่อมนุษย์เรามีการเปลี่ยนแปลงของอาหาร ร่างกายของเราจึงปรับสภาพร่างกายผ่านการเปลี่ยนแปลงทางวิวัฒนาการเล็กๆ เช่น โครงสร้างกรามเราเล็กลง นี่คือสาเหตุที่คนจำนวนมากไม่มีพื้นที่ในปากเพียงพอสำหรับฟันคุด คนสมัยใหม่เราจึงไม่ต้องการฟันคุดอีกต่อไป
การเกิดฟันคุดมีด้วยกันอยู่สามรูปแบบดังนี้
1. ฟันคุดแบบเอียง
ลักษณะของฟันคุดแบบเอียงคือฟันคุดจะไม่ต้องฉากกับพื้นโลกและไม่นอนสักที่เดียว ลักษณะฟันคุดแบบนี้จะเอียงตั้งแต่ 1-90 องศา ฟันคุดแบบนี้พบได้บ่อยที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่มีฟันคุด เป็นฟันคุดประเภทหนึ่งที่ไม่จำเป็นต้องถอนก็ได้หากเจ้าฟันคุดไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการดำเนินชีวิต ถ้าจะให้มั่นใจว่าเจ้าฟันคุดจะไม่เกิดปัญหาภายหลังควรปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด
2. ฟันคุดแบบตรง
ฟันคุดที่มีการฝังอยู่ในตำแหน่งเหงือกแบบพอดี การผ่าฟันคุดจึงไม่ค่อยจำเป็นสักเท่าไหร่ เว้นแต่ว่าเจ้าฟันคุดจะทำให้เกิดการอุดตันของเศษอาหารมากเกินไปจนก่อให้เกิดฟันผุ หรือหากฟันคุดมีการกดทับรากฟันข้างๆ มากเกินไปคุณหมดก็จะแนะนำให้ผ่าฟันคุดออกมา
3. ฟันคุดแนวนอน
เจ้าฟันคุดแบบแนวนอนจะเป็นปัญหาที่สุดในเครือญาติฟันคุด เนื่องจากฟันคุดประเภทนี้จะอยู่เป็นแนวนอนใต้เหงือก และการเอียงที่เป็นแนวนอนนั้นแหละคือปัญหาเนื่องจากจะทำให้ฟันคุดจะเคลื่อนไปด้านข้างและดันฟันที่อยู่ข้างๆ จึงทำให้การฝ่าฟันคุดแบบนี้จึงเป็นประเภทที่เจ็บที่สุด เพื่อป้องกันความเสียหายต่อฟันข้างๆ และช่องปากของท่าน ฟันคุดที่เป็นแนวนอนควรถูกถอนออกให้เร็วที่สุด
การผ่าฟันคุดเจ็บไหมเป็นคำถามยอดฮิต หลายคนอยากผ่าฟันคุดแต่กลัวเจ็บ เราบอกได้เลยว่าก่อนผ่าคุณหมอจะใช้ยาชา และไม่ได้น่ากลัวแบบที่คิด คุณไม่ควรรู้สึกเจ็บปวดใด ๆ เมื่อถอนฟันคุดออก เพราะบริเวณนั้นจะรู้สึกชา อย่างไรก็ดีหากคุณรู้สึกว่าเจ็บระหว่างคุณหมอทำการผ่าฟันคุด คุณควรให้แจ้งทันตแพทย์ของคุณได้ทราบ เพื่อให้คุณหมอสามารถใช้ยาสลบหรือยาชากับคุณให้มากขึ้น
1) การผ่าฟันคุด กรณีที่ฟันคุดฝังอยู่ในกระดูก
ทันตแพทย์ต้องเปิดเหงือก และหาตำแหน่งกระดูก ที่ฟันคุดฝังอยู่ให้เจอ จากนั้นทันตแพทย์จะทำการกรอกระดูก บริเวณที่คลุมฟันคุดอยู่ และทำการตัดแบ่ง ฟันคุด ออกเป็นชิ้นๆ เพื่อให้แผลที่จะนำฟันคุดออกมามีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งจะลดการเจ็บปวดและผลข้างเคียงหลังจากผ่าฟันคุด
2) การผ่าฟันคุด กรณีที่ฟันคุดโผล่มาได้บางส่วน
ทันตแพทย์อาจพิจารณาว่า จะต้องมีการกรอกระดูกร่วมด้วยหรือไม่ เพื่อช่วยนำฟันคุดออกมาซึ่งถ้าไม่มีการกรอกระดูก จะช่วยลดความเจ็บปวด และแผลหลังผ่าตัดจะหายเร็วกว่า แบบที่มีการกรอกระดูกมาก
3) การผ่าฟันคุด หรือ การถอนฟันคุด กรณีที่ฟันคุดขึ้นมาได้เต็มซี่
สำหรับกรณีการ ผ่าตัดฟันคุดกรณีที่ฟันคุดซี่ขึ้นมาได้เต็มที่ ทันตแพทย์จะเลือกใช้วิธีการ ถอนฟันคุด ออกโดยไม่ต้องมีการผ่ากระดูกหรือเปิดเหงือก ซึ่งถ้าเป็นกรณีนี้ความเจ็บปวดจะน้อยพอๆกับ การถอนฟัน และใช้เวลาเพียงไม่นานในการฟื้นตัว ภายหลังจากทำการรักษาด้วยการถอนฟันคุด
อาการหลังกจากจากผ่าฟันคุดคุณจะเริ่มมีอาการเจ็บตามมาเนื่องจากฤทธิ์ของยาชาหรือยาสลบนั้นหมดไป รวมไปถึงอาการเลือดไหล อาปากกว้างไม่ได้ อาการบวมหลังจากการผ่าฟันคุด อาการเหล่านี้จะหายไปเองเมื่อเวลาผ่านไป โดยท่านสามารถทานยาลดปวดตามแพทย์สั่งได้
รวมไปถึงการประคบเย็นบริเวณแก้มก็สามารถบรรเทาอาการบวมหลังจากการผ่าฟันคุดได้เช่นกัน มีข้อห้ามหลังจากการผ่าฟันคุดคือ งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดแปรงฟันหรือใช้น้ำยาบ้วนปาก 24 ชั่วโมง รวมไปถึงงดการสูบบุหรี่ 3 วันหลังการผ่าฟันคุด
ค่าใช้จ่ายของการผ่าฟันคุดจะแตกต่างไฟตามแต่ละคลินิก โดยทั่วไปการผ่าฟันคุด จะมีค่าใช้จ่ายประมาณซี่ละ 3,000 – 5,000 บาท ขึ้นอยู่กับรูปแบบของฟันคุดว่าคุณหมอจัดการได้ยากหรือง่ายแต่ละเคส หรือหาคุณมีฟันคุณแบบขึ้นเต็มซี่จะมีการถอนฟันคุดราคาประมาณซี่ละ 1,000 – 2,000 บาท โดยทั่วไปคุณหมอจะแจ้งราคาของการรักษาก่อนการถอนหรือผ่าฟันคุด โดยท่านสามารถใช้สิทธิประกันสังคมหักลดได้ 900 บาทต่อ
การผ่าฟันคุดท่านสามารถไปพบกันทันตแพทย์ใกล้บ้านของท่านได้เลยตามความสะดวกของแต่ละคนเลย แต่ถ้าอยากในแผลสวยๆและลดอาการบาดเจ็บหลังการผ่าฟันคุด ควรหาคลินิกดีๆอย่าง Smile seasons เพราะเขาเป็นคลินิกที่น่าเชื่อถือด้านทันตกรรมมีหลากหลายสาขาทั่วกรุงเทพและท่านสามารถใช้ประกันสังคมได้อีกด้วย หากท่านสนใจสามารถต่อกับคลินิก Smile seasons ได้ที่เบอร์ 02-114-3274 หรือ INBOX ทางไลน์ได้ที่ @smileseasons.dc ได้เลย
ฟันคุดคือฟันแท้ชุดสุดท้ายที่จะงอกออกมาแบบที่เราไม่ต้องการ โดยทั่วไปฟันคุดเกิดขึ้นตอนอายุประมาณ 17 ถึง 25 ปี ลักษณะของฟันคุดมีอยู่สามประเภทคือ ฟันคุดแบบเอียง ฟันคุดแบบตรง และ ฟันคุดแนวนอน ในระหว่างการผ่าฟันคุดจะไม่รู้สิกเจ็บเพราะมียาชา และหลังจากผ่าฟันคุดจะมีอาการบวม อาการเลือดไหล อาปากกว้างไม่ได้
โดยอาการเหล่านี้จะหายไปเอง การผ่าฟันคุดจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 3,000 – 5,000 บาทต่อซี่ โดยสามารถหักกับประกันสังคมได้ 900 บาทต่อปี หากมีคำถามเกี่ยวฟันคุดหรือต้องการผ่าฟันคุด ปรึกษาได้ที่คลินิก Smile seasons ได้ที่เบอร์ 02-114-3274 หรือทางไลน์ @smileseasons.dc ได้เลย
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที