วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 13 พ.ค. 2024 22.35 น. บทความนี้มีผู้ชม: 738994 ครั้ง

ผิวแห้งคัน ปัญหาคันยุบยิบที่รักษาให้หายได้


ประกันโรคร้ายแรงคืออะไร? สามารถช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาได้จริงไหม?

ประกันโรคร้ายแรงคืออะไร

ประกันโรคร้ายแรง (Critical illness Health Insurance) คือ ประกันที่จะให้ความคุ้มครองกรณีที่ตรวจพบว่าผู้เอาประกันเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงตามที่ระบุไว้ในนิยามของกรมธรรม์ ด้วยความที่คนเราไม่สามารถล่วงรู้เลยได้ว่าในอนาคตจะมีโอกาสเป็นโรคใดบ้างหรือจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นได้บ้าง การทำประกันนี้ไว้จะสามารถจ่ายเป็นเงินก้อนให้ในกรณีที่ตรวจพบเพื่อให้ผู้เอาประกันสามารถนำเงินไปใช้จ่ายในการรักษาตัวหรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการรักษาตัวได้


ทำไมควรซื้อประกันโรคร้ายแรง และวิธีการเลือกอย่างไร

การซื้อประกันโรคร้ายแรงสามารถช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในรักษาค่าพยาบาลหากป่วยหรือได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือโรคภัยต่าง ๆ การทำประกันจึงเปรียบเสมือนแผนป้องกันชั้นดี เป็นการคุ้มครองความเสี่ยงของสุขภาพร่างกายที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต นอกจากนี้เบี้ยประกันยังสามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย โดยโรคร้ายแรงมักจะเป็นกลุ่มโรคที่ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยที่รุนแรง อันตรายต่อชีวิตที่สามารถส่งผลให้การใช้ชีวิตของผู้ป่วยไม่ปกติในแบบที่เคยเป็น

ซึ่งโรคร้ายแรงมักจะมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง เพราะต้องอาศัยเทคโนโลยี ยาและแพทย์เฉพาะทางในการรักษา การทำประกันโรคร้ายแรงเจอจ่ายจบไว้จึงไม่ใช่เพียงเตรียมความพร้อมในเรื่องของค่ารักษาเท่านั้น แต่ยังถือว่าเป็นการวางแผนทางการเงินให้ไม่กระทบต่ออนาคตอีกด้วย ก่อนตัดสินใจเลือกประกันโรคร้ายแรงที่ไหนดี ควรสำรวจสวัสดิการของตัวเองก่อน ในบางครั้งพบว่าหลายคนมีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของทางบริษัทที่ตัวเองทำงานอยู่ รวมถึงสิทธิประกันสังคมหรือแม้แต่ซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเอาไว้ จึงควรดูว่าสวัสดิการเหล่านี้ได้ครอบคลุมไปถึงในส่วนของความคุ้มครองโรคร้ายแรงด้วยหรือไม่ ครอบคลุมวงเงินในการรักษามากน้อยเพียงใด และระยะเวลาในการคุ้มครองเป็นอย่างไร 


เนื่องจากการรักษาโรคร้ายแรงเป็นการรักษาต่อเนื่องบางครั้งใช้ระยะเวลายาวนานในการรักษา เช่น อาจมองว่าสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของบริษัทที่ทำงาน มีวงเงินสูงซึ่งเป็นสวัสดิการที่ดีให้กับพนักงาน แต่สิทธินี้จะหมดไปหากพ้นสภาพความเป็นพนักงาน หากใช้สิทธิในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บธรรมดาก็ถือได้ว่าครอบคลุม แต่หากรักษาโรคร้ายแรงและต้องหยุดงานเป็นระยะเวลายาวนาน จะมั่นใจได้หรือไม่ว่าบริษัทยังคงให้สถานภาพเป็นพนักงานอยู่ตลอดไปจนกว่าการรักษาจะสิ้นสุด ดังนั้น หากคุณยังมีสุขภาพที่ดี การทำประกันโรคร้ายแรงเปรียบเทียบไว้ก็เป็นการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างหนึ่ง เพราะเราไม่สามารถล่วงรู้เลยได้ว่าในอนาคตจะมีโอกาสเป็นโรคใดบ้าง หรือจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นหรือไม่


ประกันโรคร้ายแรงคุ้มครองอะไรบ้าง และมีผลประโยชน์อย่างไร

ประกันโรคร้ายแรงคุ้มครองอะไรบ้าง

ประกันโรคร้ายแรงแบบเจอจ่ายจบ เป็นตัวเลือกในการช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายเมื่อตรวจพบเจอโรคร้ายแรง โดยบางกรมธรรม์คุ้มครองทุกระยะของการตรวจพบ บางกรมธรรม์คุ้มครองเมื่อตรวจพบระยะลุกลาม ซึ่งจะจ่ายตามความคุ้มครอง จึงควรพิจารณาเรื่องระยะของความคุ้มครองของโรคก่อนตัดสินใจด้วย และเมื่อมีการจ่ายผลประโยชน์ตามความคุ้มครอง ดังนี้


โรคร้ายแรง ภัยร้ายที่อยู่ใกล้กว่าที่คิด อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ ได้

จากสถิติการเสียชีวิตที่จัดทำโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDB) พบว่าในช่วงปี พ.ศ. 2537-2560 อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งและเนื้องอกทุกชนิดของคนไทยเป็นสาเหตุอันดับ 1 โดยในปี พ.ศ. 2537 โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย 48.9 คน ต่อประชากร 100,000 คน และเพิ่มขึ้นเป็น 120.5 คน หรือเกือบ 3 เท่าตัว ในปี พ.ศ. 2560 เช่นเดียวกับกลุ่มโรคร้ายแรงอื่น ๆ ที่อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ

ในปัจจุบันของคนเราในยุคสมัยนี้มักจะใช้ร่างกายเปลืองอย่างมาก โดยเฉพาะในวัยทำงาน เนื่องด้วยภาระต่าง ๆ ที่คนเราต้องรับผิดชอบ ทำให้ต้องทำงานหนักกันมากขึ้น ส่งผลให้ร่างกายรับไม่ไหวจนถึงขั้นเป็นโรคร้ายแรงจนในที่สุด ดังนั้น เรื่องของสุขภาพเป็นสิ่งที่คนเราไม่ควรละเลย แม้ว่าร่างกายภายนอกจะดูปกติแข็งแรงดี แต่ภายในอาจกลับตรงกันข้าม การทำประกันโรคร้ายแรงเจอจ่ายจบในที่นี้ สามารถช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายรักษาได้และยังไม่กระทบต่อกับทางการเงินในอนาคตอีกด้วย


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับประกันโรคร้ายแรง

คำถามที่เกี่ยวกับประกันโรคร้ายแรง

ประกันโรคร้ายแรง เริ่มคุ้มครองตอนไหน

การทำประกันโรคร้ายแรงจะมีระยะเวลาในการเริ่มนับระยะรอคอยตั้งแต่วันที่ทำสัญญา-ชำระเบี้ยประกัน และหากกรณีมีปัญหาสุขภาพ มีโรคประจำตัว ต้องขอประวัติการรักษาหรือขอตรวจสุขภาพก่อนทำสัญญา เมื่อพิจารณาเรียบร้อยแล้ว ทางบริษัทจะยื่นข้อเสนอใหม่ให้ลูกค้า เช่น รับทำประกัน แต่ยกเว้นความคุ้มครองสุขภาพที่เป็นมาก่อนทำประกันหรือขอเพิ่มเบี้ยประกัน โดยจะเริ่มนับระยะรอคอยตั้งแต่วันที่ลูกค้ารับเงื่อนไขบริษัท เป็นต้น

ประกันโรคร้ายแรง รวมถึงมะเร็งไหม?

โดยปกติแล้วการประกันโรคร้าย เราสามารถยึดตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ให้คำนิยามโรคร้ายแรงเอาไว้ 50 โรค เช่น โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) โรคโลหิตจางจากไขกระดูกไม่สร้างเม็ดโลหิต (Aplastic Anemia) โรคมะเร็งระยะลุกลาม (Invasive Cancer) สำหรับประกันโรคร้ายแรงจะให้ความครอบคลุมทั้งโรคระยะเริ่มต้น (Early Stage) และระยะรุนแรง (Last Stage) โดยโรคร้ายแรงที่ประกันครอบคลุมมักแบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ 5 กลุ่มด้วยกัน ดังนี้

 

  1. กลุ่มโรคมะเร็ง ครอบคลุมทั้งมะเร็งในระยะที่ยังไม่ลุกลาม และระยะลุกลาม เช่น มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ ฯลฯ
  2. กลุ่มโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจ ครอบคลุมการผ่าตัดทั้งในระยะเริ่มต้นและระยะรุนแรง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดหัวใจแตก โรคกล้ามเนื้อหัวใจ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ เป็นต้น
  3. กลุ่มโรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง อีกหนึ่งกลุ่มโรคที่เป็นกันเยอะ โดยประกันโรคร้ายแรงจะคุ้มครองครอบคลุมโรคเกี่ยวกับสมองต่าง ๆ เช่น เนื้องอกในสมองชนิดไม่ใช่มะเร็ง โรคพาร์กินสัน โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน เป็นต้น
  4. กลุ่มโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ เช่น โรคโปลิโอ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคอัมพาตครึ่งซีก โรคกล้ามเนื้อเสื่อม ภาวะข้ออักเสบรูมาตอยด์ชนิดรุนแรง รวมถึงการผ่าตัดกระดูกสันหลังคด เป็นต้น
  5. กลุ่มโรคเกี่ยวกับอวัยวะสำคัญ เช่น โรคหอบหืดรุนแรง โรคไตวายเรื้อรัง โรคถุงน้ำในไต โรคปอดระยะสุดท้าย การผ่าตัดตับ การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก เป็นต้น

ประกันโรคร้ายแรง เบี้ยเพิ่มขึ้นทุกปีหรือไม่

การทำประกันโรคร้ายแรงมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้บริการและบริหารจัดการความเสี่ยงในส่วนนี้ มีทั้งแบบที่เบี้ยถูกแต่ให้ความคุ้มครองสูง แบบที่มีเงินสะสมในตัว แบบที่ชำระเบี้ยระยะสั้นแต่ให้ความคุ้มครองได้ระยะยาว เป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณและวิธีการวางแผนของลูกค้าแต่ละท่านแต่ละครอบครัว

ประกันโรคร้ายแรง สามารถลดหย่อนภาษีได้หรือไม่

เบี้ยประกันโรคร้ายแรงสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินของคุณได้อีกทางหนึ่ง และด้วยค่าใช้จ่ายในการรักษาที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคต สวัสดิการสุขภาพหรือประกันของบริษัทที่คุณมีอยู่ บางครั้งอาจไม่ครอบคลุมหรือไม่เพียงพอ การทำประกันสุขภาพจึงทำให้คุณหมดกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่ได้วางแผนไว้ รวมถึงผู้ให้บริการประกันภัยหลายแห่งมีบริการจ่ายตรงให้กับโรงพยาบาล คุณจึงไม่จำเป็นต้องสำรองจ่ายเงินสดไปก่อน


 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที