วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 18 มี.ค. 2024 02.03 น. บทความนี้มีผู้ชม: 671221 ครั้ง

ผิวแห้งคัน ปัญหาคันยุบยิบที่รักษาให้หายได้


ข้ออักเสบรูมาตอยด์ รู้เร็ว รักษาไว เลี่ยงข้อต่อผิดรูป

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ รู้เร็ว รักษาไว เลี่ยงข้อต่อผิดรูป

อาการปวดข้อสามารถพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่ก็ควรสังเกตอาการของตัวเองให้ดี เพราะอาการปวดข้อที่คุณเป็นอยู่ อาจจะเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ก็ได้ ซึ่งโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์หรือโรครูมาตอยด์นั้นถ้าหากปล่อยละเลย ไม่ทำการรักษาอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ก็อาจทำให้ข้อผิดรูปหรือถึงขั้นพิการได้เลยทีเดียว

ดังนั้นเพื่อที่จะไม่ให้เกิดสถานการณ์เลวร้ายแบบนั้นขึ้น ก็จำเป็นต้องหมั่นสังเกตอาการปวดข้อของตัวเองอยู่เสมอ และในบทความนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรครูมาตอยด์กัน ว่ามีอาการอย่างไรบ้าง เกิดจากสาเหตุใด ผู้ใดบ้างที่เสี่ยงโรครูมาตอยด์ รวมไปถึงแนะนำวิธีการรักษา วิธีการป้องกัน และแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรครูมาตอยด์


โรครูมาตอยด์ คืออะไร

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือที่เรามักเรียกกันว่ารูมาตอยด์ คือ โรคข้อต่ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง โดยเป็นการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อซึ่งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างกระดูก และมักจะเกิดการอักเสบขึ้นมากที่ข้อนิ้วมือกับข้อนิ้วเท้าหลาย ๆ ข้อพร้อมกัน 

โดยโรครูมาตอยด์สามารถพบได้มากในผู้ที่มีอายุระหว่าง 20-30 ปี และช่วงอายุ 50-60 ปี นอกจากนี้โรครูมาตอยด์นั้นถ้าหากปล่อยให้ข้อเกิดการอักเสบเป็นระยะเวลานาน ๆ ก็จะทำให้ข้อถูกทำลายและเกิดการผิดรูปของข้อ หรืออาจทำให้เกิดความพิการขึ้นได้อีกด้วย

โรครูมาตอยด์คืออะไร


โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เกิดจากอะไร

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์นั้นยังไม่ค่อยแน่ชัดเท่าไหร่นัก แต่ในปัจจุบันนี้ทางการแพทย์ส่วนใหญ่เชื่อว่าโรครูมาตอยด์นั้นเกิดจากการทำลายตัวเองของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย ซึ่งทำให้เยื่อหุ้มข้อถูกทำลาย และส่งผลให้เกิดอาการบวมและอักเสบขึ้นตามบริเวณข้อต่อนั่นเอง 

ปัจจัยเสี่ยงโรครูมาตอยด์ 

แต่นอกจากสาเหตุจากระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายแล้ว ยังมีอีกหลากหลายปัจจัยด้วยกันที่ทำให้ความเสี่ยงการเกิดโรครูมาตอยด์เพิ่มมากขึ้น ได้แก่


อาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

อาการของโรครูมาตอยด์

อาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มักจะแสดงอาการในช่วงเช้าหลังจากตื่นนอน หรือเมื่อไม่มีการใช้งานบริเวณข้อเป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยอาการปวดแต่ละครั้งมักจะกินเวลานานกว่า 1 ชั่วโมงขึ้นไป 

ซึ่งอาการของโรครูมาตอยด์ในระยะแรกนั้นมักจะเกิดขึ้นที่บริเวณข้อต่อขนาดเล็ก เช่น ข้อนิ้วมือ ข้อนิ้วเท้า ข้อโคนนิ้ว และข้อกลางนิ้ว เป็นต้น โดยจะมีอาการปวด บวมแดง และรู้สึกเจ็บเมื่อสัมผัสบริเวณข้อ นอกจากนี้ยังสัมผัสได้ถึงความร้อนบริเวณข้ออีกด้วย 

แต่โรครูมาตอยด์ในระยะแรกนั้นอาจจะมีการอักเสบที่ข้อเพียงข้อเดียวเท่านั้น ส่วนอาการของโรครูมาตอยด์ในระยะรุนแรงนั้นข้อจะเกิดการอักเสบหลายข้อพร้อมกัน นอกจากนี้ข้อต่อยังอาจถูกทำลายจากระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย และส่งผลให้ข้อผิดรูปหรือเกิดความพิการขึ้นในที่สุด 

แต่ว่าโรครูมาตอยด์นอกจากจะมีอาการหลักคืออาการปวดแล้ว ยังสามารถเกิดอาการร่วมอื่น ๆ ได้อีกด้วย ได้แก่ อาการตาแห้ง เยื่อบุตาขาวอักเสบ ปอดอักเสบ พังผืดที่ปอด หลอดเลือดแดงแข็ง เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เกล็ดเลือดสูง ม้ามโต ต่อมน้ำเหลืองโต เกล็ดเลือดขาวต่ำ หลอดเลือดอักเสบ กระดูกพรุน และปุ่มรูมาตอยด์


ผู้ที่เสี่ยงโรครูมาตอยด์

ถึงแม้ว่าโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่ว่าผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรครูมาตอยด์มากกว่าคนทั่วไปก็มีอยู่เช่นกัน ได้แก่ ผู้ที่เป็นเพศหญิง ผู้ที่เป็นโรคอ้วน ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรครูมาตอยด์ ผู้ที่สูบบุหรี่ และผู้ที่ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีใยหินหรือซิลิกาเป็นประจำ


อาการรูมาตอยด์ที่ควรรีบพบแพทย์

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคที่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานและไม่ยอมเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธีโดยแพทย์ ก็อาจทำให้ข้อเกิดการผิดรูปและพิการได้ ดังนั้นจึงควรสังเกตอาการของตัวเองอยู่เสมอเพื่อที่จะได้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที โดยเมื่อมีอาการรูมาตอยด์ดังต่อไปนี้ควรรีบพบแพทย์ทันที


การวินิจฉัยโรครูมาตอยด์

เนื่องจากลักษณะอาการเบื้องต้นของโรครูมาตอยด์นั้นใกล้เคียงหรือคล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ อีกมาก ไม่ว่าจะเป็นโรคเกาต์ โรคเอสแอลอี หรือโรคข้ออักเสบSNSA จึงทำให้การวินิจฉัยหาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์นั้นจำเป็นต้องทำอย่างละเอียดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

การวินิจฉัยโรครูมาตอยด์

การตรวจดูลักษณะอาการ

สำหรับเบื้องต้นนั้นแพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจดูอาการภายนอกเบื้องต้น ได้แก่ อาการบวมแดง ความร้อนจากการอักเสบของข้อ ความไวของเส้นประสาท และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

การเจาะเลือดตรวจ

สำหรับการวินิจฉัยด้วยการเจาะเลือดตรวจ แพทย์จะทำการเจาะเลือดของผู้ป่วยไปเพื่อตรวจหาค่าโปรตีนในร่างกาย หรือเพื่อตรวจหาสารรูมาตอยด์

การตรวจเอกซเรย์ 

สำหรับการวินิจฉัยโรครูมาตอยด์ด้วยการตรวจเอกซเรย์มักจะใช้ในผู้ที่มีอาการอักเสบในระยะแรก เนื่องจากในระยะแรกนี้ยังจะไม่แสดงอาการออกมาชัดเจนมากนัก โดยจะตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อตรวจสอบการดำเนินของโรครูมาตอยด์


วิธีรักษาโรครูมาตอยด์

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็ยังสามารถที่จะรักษาบรรเทาอาการได้ โดยวิธีในการรักษาโรครูมาตอยด์นั้นมีทั้งแบบใช้ยา แบบไม่ใช้ยา และแบบที่ใช้วิธีการผ่าตัด ซึ่งแต่ละวิธีนั้นมีข้อดีหรือเงื่อนไขอะไรบ้าง เรามาดูพร้อมกันเลย

วิธีรักษาโรครูมาตอยด์

การบำบัดโรครูมาตอยด์แบบไม่ใช้ยา

สำหรับการบำบัดโรครูมาตอยด์แบบไม่ใช้ยานั้นจะเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรครูมาตอยด์ในระยะแรกเท่านั้น โดยจะใช้วิธีการกายภาพบำบัดโดยแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อฟื้นฟูข้อต่อและกล้ามเนื้อบริเวณรอบข้อต่อ รวมถึงช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อ นอกจากนี้ถ้าหากต้องการบรรเทาอาการอักเสบของข้อก็สามารถประคบร้อนหรือแช่น้ำอุ่นได้

การใช้ยารักษาโรครูมาตอยด์

สำหรับยาที่ใช้ในการรักษาบรรเทาโรครูมาตอยด์ในปัจจุบันนี้จะแบ่งออกมาได้เป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ด้วยกัน คือ 

การผ่าตัดรักษาโรครูมาตอยด์

สำหรับการรักษาโรครูมาตอยด์ด้วยการผ่าตัดนั้นจะเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ข้างต้นได้ โดยการผ่าตัดรักษาโรครูมาตอยด์จะมีอยู่ 4 แบบด้วยกัน คือ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม การผ่าตัดเยื่อหุ้มข้อ การผ่าตัดรวมข้อ และการเย็บซ่อมเส้นเอ็นรอบข้อ ซึ่งการรักษารูมาตอยด์ด้วยการผ่าตัดนอกจากจะช่วยรักษาอาการเจ็บปวดได้แล้ว ยังสามารถทำให้ข้อต่อกลับมาเป็นปกติได้อีกด้วย


โรครูมาตอยด์ อันตรายไหม

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์นั้นนอกจากจะมีอันตรายจากตัวของโรคเองแล้ว โรครูมาตอยด์ยังสามารถทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้อีกด้วย 

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากโรครูมาตอยด์


ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์

ถึงแม้ว่าโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะสามารถรักษาบรรเทาได้ด้วยหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยา การกายภาพ หรือแม้แต่การผ่าตัด แต่อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันสำหรับผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ก็คือการเลือกรับประทานอาหารนั้นเอง ดังนั้นในหัวข้อนี้เราจะมาดูกันว่า มีอาหารประเภทใดบ้างที่ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ควรหลีกเลี่ยงถ้าหากไม่อยากให้อาการกำเริบหรือแย่ลง

อาหารที่ผู้ป่วยรูมาตอยด์ควรหลีกเลี่ยง

อาหารที่ผู้ป่วยรูมาตอยด์ควรรับประทาน


การป้องกันโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

เนื่องจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์นั้นยังไม่สามารถหาสาเหตุการเกิดที่แน่ชัดได้ จึงยังไม่สามารถที่จะป้องกันโรครูมาตอยด์ได้อย่างเต็มที่ แต่ก็สามารถป้องกันจากปัจจัยที่มีความเสี่ยงให้เกิดโรคได้ เช่น หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจทำลายข้อต่อ ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินกว่ามาตรฐาน รับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงกระดูกและเนื้อเยื่อ เป็นต้น 

การป้องกันโรครูมาตอยด์


ข้อสรุป

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์นั้นมีลักษณะอาการที่ใกล้เคียงกับโรคข้ออักเสบอื่น ๆ ทำให้บางคนอาจสับสนและปล่อยปละละเลยไป จนมารู้ทีหลังก็อาจสายเกิดไปแล้วก็ได้ ดังนั้นเมื่อเกิดอาการปวดบวมหรือเกิดการอักเสบที่ข้อต่อ ก็ควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย จะได้สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที 

ถึงแม้ว่าโรครูมาตอยด์จะไม่รักษาให้หายขาดได้ แต่อย่างน้อยถ้าหากเข้ารับการรักษาได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ระยะแรก ก็จะทำให้อาการไม่หนักมากเท่าไหร่นัก แล้วยังหลีกเลี่ยงการเกิดข้อผิดรูปหรือพิการได้อีกด้วย


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที